จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกผลไม้) |
|||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless |
ขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (กรณีที่ได้รับการยกเว้น) |
ออกใบกำกับภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า |
การจัดรายงานภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ผ่านด่านตรวจพืช | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ขออนุญาตส่งออก | |
จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี | จัดทำรายงานภาษี | ||
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
"ผลไม้"
คือสินค้าลือชื่ออีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย ด้วยแผ่นดินทองอันอุดมสมบูรณ์ทำให้เรามีผลไม้หลากชนิดหมุนเวียนมาให้กินกันตลอดทั้งปี จะผลไม้เชื้อสายไทยเชื้อสายเทศ...ไม่เกินความสามารถเกษตรกรไทยไปได้เลย
ผู้ที่คิดจะปลูกผลไม้เพื่อการค้ามีตั้งแต่บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือนิติบุคคลอื่น
ดังนั้น คุณต้อง "ชัดเจน" ตั้งแต่เริ่มต้นว่าคุณจะปลูกผลไม้เพื่อการค้าในฐานะบุคคลธรรมดา หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ กันแน่ เพราะมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับ "ภาษีเงินได้"
การจะปลูกผลไม้อะไรสักชนิด คุณต้องรู้ให้ลึกก่อนว่าภูมิประเทศของแหล่งปลูกเป็นอย่างไร อยู่ในภูมิภาคไหนของไทย ประเภทของดินเป็นอย่างไร มีน้ำเพียงพอหรือเปล่า ฯลฯ จากนั้นจึง "คัดเลือกพันธุ์ผลไม้" ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตัวอย่างเช่น
ก่อนจะปลูกผลไม้ขายคุณต้องมาทำความเข้าใจภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะแบ่งช่วงของภาษีออกเป็น 3 ช่วง คือ
แรกเริ่ม: ขอจด ขอเลข
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่เริ่มประกอบกิจการค้าขายผลไม้
- ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่าย ฯลฯ
- ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยหลักแล้วผู้ที่ขายพืชผลทางการเกษตรที่ไม่แปรรูป เช่น ผลไม้สด ในประเทศ จะ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังสามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
แต่... หากคุณไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำ รายงานเงินสดรับ-จ่าย ในแต่ละปีเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
ระหว่างปี >> เมื่อซื้อ-ขาย-จ่าย-รับ
ระหว่างปีที่ปลูกผลไม้จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตไปจำหน่าย จะมีภาษี 2 ประเภทหลักๆ เข้ามาข้องเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ นั่นคือ
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
รับเมื่อขาย: เมื่อมีผลผลิตคุณจะต้องตั้งราคาขาย โดยอาจคิดจาก "ราคาต้นทุน + กำไรจากน้ำพักน้ำแรง + ภาษีมูลค่าเพิ่ม" เท่ากับว่าผู้ซื้อเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ แต่คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
จ่ายเมื่อซื้อ: เมื่อคุณต้องซื้อวัตถุดิบใดๆ ราคาของที่คุณซื้อก็มักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว และคุณก็จะได้รับใบกำกับภาษีจากผู้ขาย แต่หากคุณซื้อเมล็ดพันธุ์ผลไม้ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ จาก ผู้ขายซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณก็ไม่ต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อเช่นกัน
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ เมื่อคุณ ปลูกผลไม้ ... ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้างและคนงาน ซึ่งเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งเมื่อจ่ายเงิน
เมื่อคุณ ขายผลไม้... ไม่ว่าจะขายให้ใครก็ตาม ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย คุณดำเนินการในฐานะบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ไม่รวมกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์) โดยนอกจากปลูกผลไม้แล้วยังปลูกพืชผลการเกษตรอื่นๆ อีก
หรือ ขายสินค้าพืชไร่ 8 ชนิด ได้แก่ ยางแผ่นหรือยางชนิดอื่น มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน หรือข้าว ให้แก่บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จะต้องถูก หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 0.75
ใช่ว่าเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลจะปลูกแต่ผลไม้อย่างเดียวทั้งปี พื้นที่ว่างก็อาจจัดสรรปลูกพืชอื่นได้ ดังนั้น รายได้ทั้งปีจะสูงมาก การที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 0.75 เมื่อไปขายยางพารา มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน หรือข้าว จะเป็นการทยอยเสียภาษีนั่นเอง ทำให้ไม่ต้องรับภาระหนักเมื่อต้องเสียภาษีทั้งปีตอนสิ้นปี
รวบยอด >> ยื่น 2 ครั้งต่อปี บรรเทาภาระภาษี
ช่วงโค้งสุดท้ายภาษีของชาวไร่ชาวสวนก็คือ การนำรายได้ทั้งปีมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่น 2 ครั้งใน 1 ปี ตามประเภทของผู้ประกอบการ
1. เป็นบุคคลธรรมดา คุณถือเป็นผู้มีรายได้จากการเกษตรหรือจากการทำธุรกิจ จึงต้องนำรายได้หรือยอดขายก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งปี มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 ครั้งต่อปี
ครั้งแรก: กรกฎาคม-กันยายน ของปีที่ได้รับเงิน (แบบ ภ.ง.ด.94) เพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี (เงินได้เดือนมกราคม-มิถุนายน ของปีนั้น)
ครั้งที่ 2: มกราคม-มีนาคม ของปีถัดไป (แบบ ภ.ง.ด. 90) โดยนำรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ทั้งปีมาเพื่อรวมคำนวณภาษีทั้งปีในปีภาษีที่ผ่านมา และหักด้วยภาษีที่ได้ชำระไว้แล้วเมื่อตอนยื่นแบบครั้งแรก (ก.ค.-ก.ย.)
2. เป็นนิติบุคคล รายได้ที่บริษัทได้รับทั้งปีจะต้องนำมาคิดคำนวณภาษี โดยนำ "กำไรสุทธิ" มาคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 โดยยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี 2 ครั้งเช่นกัน
ครั้งแรก: ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
ครั้งที่สอง: เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"
นอกจากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ยังมีภาษีที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากรที่คุณต้องชำระ... หากมีการนำเข้าผลไม้ ส่วนการส่งออกผลไม้จากสวนของตัวเองไปตีตลาดชาติอื่นๆ ไม่ต้องเสียอากรขาออก
ซึ่งหากคุณตั้งใจจะ นำเข้าหรือส่งออก "ผลไม้" แล้วล่ะก็ สิ่งที่คุณต้องดำเนินการคือ
- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีตามกฎหมายต่อไป
- ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร หรือ Paperless (ลงทะเบียนครั้งแรกเท่านั้น) เมื่อลงทะเบียนแล้วจึงดำเนินการใน ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า ตามระเบียบของกรมศุลกากร
ทั้งนี้ สินค้านำเข้าประเภทผลไม้ จะต้อง ผ่านด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตร เสียก่อน เพื่อป้องกันโรค ศัตรูพืช และสารเคมีอันตรายที่อาจปนเปื้อนมากับสินค้าจากต่างประเทศ รวมถึงพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMOs) เข้าสู่ประเทศไทย
ที่สำคัญคือ ถ้าคุณ นำเข้าผลไม้ จากต่างประเทศมาขาย ทั้งๆ ที่เป็นผลไม้ซึ่งปลูกได้เองในประเทศไทยแล้วละก็... คุณต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตราที่สูงถึง กว่า 40% เลยทีเดียว
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
ส่วนการ ส่งออกผลไม้ ไปตีตลาดโลกนั้น ภาระทางภาษีอากรขาออกของคุณคือ 0% แต่ต้องมีใบอนุญาตของด่านตรวจพืชกรมวิชาการเกษตรยื่นแสดงต่อศุลกากรด้วย อย่างไรก็ตาม อย่าลืมศึกษากฎระเบียบของประเทศที่เราจะส่งออกไปด้วยนะ
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมศึกษากฎระเบียบของประเทศที่เราจะส่งออกไปด้วยนะ
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"มะม่วงเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่รสชาติถูกปาก ประโยชน์หลากหลายถูกใจ มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและแป...
"ผ้าฝ้าย" สินค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ทรงอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะเป...
"น้ำพริก" อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้งแต่สมัย กรุง...
"สปา" เป็นธุรกิจบริการประเภทส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิยมมาก เป็นอัน...
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจแต่อยากมีธุรกิจเป็นของ ตนเอง อาจจ...
"ผ้าบาติก" หรือ "ผ้าปาเต๊ะ" เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการ...
ในปัจจุบันธุรกิจร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้รับความนิยม อย่างมากตามกระแสของคนรุ่นใหม่ท...
น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช...
ปัจจุบันเรื่องความสวยความงามกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเพศไหน วัยใดล้ว...
"OTOP" เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และกำลังเติบโตก้าวสู่การส่งออกอย่างเข้...
"เครื่องประดับเงิน" เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป...
หัตถกรรม "จักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" เป็นผลิตภัณฑ์สานไม้ไผ่ล้อมรอบภาชนะเ...
"น้ำมันมะพร้าว" สินค้ายอดฮิตของผู้ประกอบการ ทั้ง OTOP วิสาหกิจชุมชน SM...
ปลากะตัก" สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนว ชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั้นดีอุ...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
มักพบได้ตามแหล่งชุมชุนหรือหมู่บ้านต่างๆ โดยให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมออนไลน์ ต่างๆ โดย...
ของสะสม ของเก่า ของโบราณ จัดว่าเป็นสิ่งของที่มีอายุขัยมายาวนาน ซึ่งมีมูลค่าสูง
ห...
ร้านขายอะไหล่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีจากการเพิ่มจำนวน...
"ผ้าทอเกาะยอ" หรือ "ผ้าเกาะยอ" เป็นผ้าทอพื้นเมืองที่ม...
ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อา...