หัตถกรรม "จักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" เป็นผลิตภัณฑ์สานไม้ไผ่ล้อมรอบภาชนะเซรามิกหรือเครื่องแก้วต่างๆ ผู้ผลิตต้องมีความรู้ในงานหัตถกรรมที่ต้องใช้ฝีมือและความประณีตสูง เพื่อให้ได้ผลงานที่ละเอียด พิถีพิถัน และสวยงาม ผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนี้นอกจากต้องมีใจรักและมีความเชี่ยวชาญในงานฝีมือ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าแล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ "ภาษี" เพื่อให้ธุรกิจจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless | ยื่นจดทะเบียนสรรพสามิต | ลงทะเบียน Paperless | |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | ยื่นขอยกเว้นภาษี | ||
ชำระภาษีสรรพสามิต | แจ้งวันและเวลาทำการผลิต | ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
จัดทำรายงานภาษี | แจ้งราคาขาย ณ โรงงาน | ขอยกเว้นภาษีสรรพสามิต | |
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี | ยื่นแบบรายการและชำระภาษี | ออกใบกำกับภาษี | จัดทำรายงานภาษี |
จัดทำรายงานภาษี (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี | ||
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ / ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ลวดลายที่นิยมนำมาจักสานในงานหุ้มเซรามิกนี้มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีที่มาจากลายผ้าซิ่น ลายผ้าทอ และลายไทยต่างๆ งานจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายลักษณะ เช่น เครื่องประดับตกแต่ง ของใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นของที่ระลึก ของขวัญ ของฝากแก่ญาติสนิทมิตรสหายทั่วไป
ซึ่งก่อนอื่นผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกต้องยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นยื่นแบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
สำหรับกรณีที่คุณขายสินค้า ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หากคุณมีรายรับจากการขายสินค้าเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ทั้งนี้ หากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการจะนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกเครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก ก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน เพียงเท่านี้คุณก็พร้อมเข้าสู่ธุรกิจเครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกแล้ว
เมื่อจดทะเบียนพาณิชย์ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ/หรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คุณต้องยื่นจดทะเบียนภาษีสรรพสามิต จากนั้นแจ้งวันและเวลาทำการผลิต พร้อมแจ้งราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม จัดทำบัญชีและงบเดือนเพื่อแสดงรายการเกี่ยวกับวัตถุดิบ การผลิต การจำหน่ายและยอดคงเหลือสินค้า เมื่อจัดเตรียมเอกสารต่างๆ เรียบร้อยให้ยื่นชำระภาษีสรรพสามิตภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจำหน่ายโดยมีหลักประกัน ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
ทั้งนี้ ความเกี่ยวข้องกับ "ภาษีสรรพสามิต" ของกิจการเครื่องจักสานหุ้มเซรามิก ไม่ได้อยู่ที่ "เครื่องจักสาน" แต่เกิดกับ "เซรามิก" หรือ "เครื่องแก้ว" ที่คุณนำมาใช้ต่างหาก
ผลิตภัณฑ์แก้วและเครื่องแก้ว คือ แก้วที่มีส่วนประกอบของตะกั่ว (แก้วเลดคริสตัล) ใช้ทำเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งตกแต่งทั่วไป รวมถึงเครื่องใช้ที่ต้องการความสวยงาม เช่น ลูกปัด แจกัน นาฬิกา แก้ว เป็นต้น ประเภทของแก้วเลดคริสตัล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คุณนำเครื่องแก้วเหล่านี้ไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้า คุณสามารถขอยกเว้นภาษีสรรพสามิตของเครื่องแก้วดังกล่าวได้ โดยต้อง
ส่วนขั้นตอนทางภาษีหลังจากที่คุณผลิตชิ้นงานเครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิกอออกมาวางจำหน่ายสร้างรายได้แล้ว ภารกิจสำคัญของคุณคือการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) การชำระภาษีเงินได้ และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีกับกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"
ธุรกิจ "เครื่องจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" นั้นถือเป็นงานศิลปะจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นจึงไม่ได้มีการนำเข้าสินค้าประเภทนี้แบบสำเร็จรูป
แต่ก็มีผู้ประกอบการบางรายเช่นกันที่เลือกจะแตกต่าง ขอใช้วัตถุดิบบางอย่างจากต่างประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตัวเอง ซึ่งหากคุณต้องการนำเข้าวัตถุดิบเช่นกัน นอกจากการจดทะเบียนพาณิชย์ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คุณยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนกับหน่วยงานดังต่อไปนี้ เพื่อให้เป็นผู้นำเข้าเครื่องแก้วที่ถูกต้อง
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของผลิตภัณฑ์เครื่องแก้วคิดเป็นอัตราร้อยละ 15 ของราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ในกรณีที่ผู้ประกอบการนำเข้าเครื่องแก้วเข้ามาในประเทศ หลังจากยื่นจดทะเบียนภาษีสรรพสามิตแล้ว สามารถชำระภาษีได้ที่ด่านศุลกากรที่นำเข้า โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมศุลกากรทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพสามิต
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
หัตถกรรมจักสานไม่ไผ่หุ้มเซรามิก | 6914.90.00 | 30% |
ไม้ไผ่ (จะผ่า เลื่อยตามยาว ฟอก ขัด หรือไม่ก็ตาม) | 1401.10.00 | ยกเว้นอากร |
ผลิตภัณฑ์เซรามิก | 6914.10.00 | 30% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่าน ขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ต้องทำการ ลงทะเบียน Paperless กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน
ซึ่งก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่าน ขั้นตอนพิธีการส่งออกสินค้า ของกรมศุลกากร พร้อมทั้ง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และคุณยังอาจยื่นขอยกเว้น คืนภาษี หรือลดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับสินค้าส่งออกประเภทเครื่องแก้วได้ด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...
ปัจจุบันเรื่องความสวยความงามกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเพศไหน วัยใดล้ว...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...
"เส้นก๋วยเตี๋ยว" เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปข้าวเจ้า ซึ่งสามารถนำมาลวกให้...
ร้านขายของชำ หรือร้านโชห่วย มักอยู่ตามตลาดหรือแหล่งชุมชน
โดยร้านขายของชำจะไปซื้อ...
น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช...
ร้านขายดอกไม้” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากดอกไม้สามารถใช้...
ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก “อาหารฮาลาล” ของชา...
ปลากะตัก” สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนว ชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั...
“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้ง...
‘ไข่เค็มไชยา” ของขึ้นชื่อประจำ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยความโดดเ...
ร้านเสริมสวย” เป็นการให้บริการเสริมความงามให้แก่ผู้หญิงและผู้ชาย ประเภทของ บริการ...
“ปลาสลิด” จัดเป็นสัตว์น้ำยอดนิยมที่ถูกนำมาแปรรูป ถนอมความส...
ขนมไทยที่เราคุ้นเคยกันดี นอกจากเป็นของที่มีคุณค่าแล้ว ในเชิงมูลค่า “ขนมไทย”...
กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
เสียภาษี "เรื่องหมู...หมู"
เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 การยังชี...
“ผ้าทอเกาะยอ” หรือ “ผ้าเกาะยอ”...
ปัจจุบันร้านหรือโรงงานผลิตเสื้อยืดสกรีนเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งออกแบบและสกรีนเสื้อขายด้วยต...