ยิ่งหาก จะทำธุรกิจ ไม่ว่าจะส่วนตัว กลุ่มบริษัท กลุ่มสหกรณ์ SMEs หรือ OTOP เป็นอันว่า ชีวิตต้องพัวพัน กับภาษีอย่างแน่นอน ดังนั้น ลองหันมาตั้งหลัก " ทำความเข้าใจ " เรื่องภาษีให้ถ่องแท้ เพื่อการจ่ายภาษีอย่างถูกต้องกันดีกว่า "เพียงจ่ายภาษีให้ครบถ้วนตามหน้าที่...คุณก็คือคนดีที่ช่วยชาติ"
เมื่อตั้งใจว่าจะเป็น "คนไทยที่ดี" แล้ว ก็ต้องมาทำความรู้จัก "หน้าที่" ให้ดีก่อน ... เริ่มเลย ภาษีของประเทศไทยนั้นมีโครงสร้างอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
แค่โครงสร้างภาษี 2 แบบคงสร้างคำถามตัวเบ้อเริ่มแล้วว่าภาษีแต่ละอย่างมันคืออะไรบ้าง เพราะเยอะเหลือเกิน เอาเป็นว่าขออธิบายเฉพาะภาษีที่ได้ยินกันบ่อยๆ โดยแบ่งตามส่วนงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร
จัดเก็บ "ภาษีอากร" ในราชอาณาจักรไทย
สิทธิและหน้าที่ผู้เสียภาษีอากร ภาษีอากรที่กรมสรรพากรจัดเก็บแต่ละประเภท จะกำหนดสถานะผู้มีหน้าที่เสียภาษีและวิธีการเสียภาษีแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้นั้นครอบคลุมผู้มีรายได้ที่เป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลประเภทต่างๆ โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แตกต่างกันไปในการเข้าสู่ระบบการเสียภาษีอากรทุกประเภทของกรมสรรพากร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อใช้ติดต่อเสียภาษี นอกจากนี้ หากเป็นการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย
กรมสรรพากร กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทุกประเภททั้งที่เป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม กิจการร่วมค้า บุคคลต่างด้าว รวมทั้งผู้จ่ายเงินได้ ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้งการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผู้เสียภาษี | เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก | หน่วยงานที่ออกเลข |
---|---|---|
บุคคลธรรมดา | ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก | กรมการปกครอง |
นิติบุคคลไทยและนิติบุคคล ต่างประเทศที่ต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก | กรมพัฒนาธุรกิจการค้า |
|
ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก | กรมสรรพากร |
**ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร คลิก
ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภท ได้แก่
กรณีผู้เสียภาษีถูกประเมินภาษีอากร และไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ (แบบ ภ.ส.6) ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน และหากได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วยังไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใดๆ และต้องชำระภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินให้ครบถ้วน
หากต้องการรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษา โดยยังไม่ต้องชำระภาษีตามที่ถูกประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษี โดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรด้วยหลักทรัพย์ต่างๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมสรรพากร
ผู้เสียภาษีที่มีหน้าที่ยื่นแบบฯ และชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย มิฉะนั้นต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย แต่หากการกระทำความผิดมีเหตุอันควรผ่อนผัน ผู้เสียภาษีอาจมีคำร้องเป็นหนังสือของดหรือลดเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ สำหรับเงินเพิ่มงดหรือลดให้ไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายแล้ว เงินเพิ่มจะลดลงมาเหลือเพียงกึ่งหนึ่ง
กรณีผู้เสียภาษีถูกประเมินภาษีอากร และไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ (แบบ ภ.ส.6) ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน และหากได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วยังไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใดๆ และต้องชำระภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินให้ครบถ้วน
หากต้องการรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษา โดยยังไม่ต้องชำระภาษีตามที่ถูกประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษี โดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรด้วยหลักทรัพย์ต่างๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมสรรพากร
ผู้เสียภาษีที่มีหน้าที่ยื่นแบบฯ และชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย มิฉะนั้นต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย แต่หากการกระทำความผิดมีเหตุอันควรผ่อนผัน ผู้เสียภาษีอาจมีคำร้องเป็นหนังสือของดหรือลดเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ สำหรับเงินเพิ่มงดหรือลดให้ไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายแล้ว เงินเพิ่มจะลดลงมาเหลือเพียงกึ่งหนึ่ง
คือ ภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีจากบุคคลทั่วไป วิสาหกิจชุมชนที่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มเป็นนิติบุคคล คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
โดยปกติภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะจัดเก็บเป็นรายปี ซึ่งเมื่อมีรายได้เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีเงินได้นั้นมีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
เงินได้ที่ต้องเสียภาษีนั้น ในทางกฎหมาย เรียกว่า " เงินได้พึงประเมิน " หมายถึง เงินได้ (รายได้) ของบุคคลใดๆ หรือ หน่วยภาษีใด ที่เกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
เงินได้ที่ต้องเสียภาษีนั้น ในทางกฎหมาย เรียกว่า " เงินได้พึงประเมิน " หมายถึง เงินได้ (รายได้) ของบุคคลใดๆ หรือ หน่วยภาษีใด ที่เกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
ดังนั้น ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้
ทั้งนี้ สามารถดูประเภทเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีได้ที่ คลิก
สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการให้เช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ การรับเหมา ธุรกิจการพาณิชย์ กฎหมายได้กำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ
และเงินได้พึงประเมินบางกรณีกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการหักลดหย่อนรายการต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มขึ้นหลังจากได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ก่อนนำเงินได้ที่เหลือ ซึ่งเรียกว่า เงินได้สุทธิ ไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย
ดูรายการที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ที่ คลิก
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งที่จดและไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
ใคร? ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะคิดจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ร้อยละ 20 และภาษีร้อยละ 10 จากกำไรสุทธิเฉพาะกรณีที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน 2535
ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยการคำนวณจากฐานภาษีแบบอื่นอีก คือ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล คลิก
ดูวิธีคำนวณภาษีเงินได้ คลิก
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชำระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ทั้งนี้ เจ้าของธุรกิจต้องออกใบกำกับภาษีซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญ ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้า บริการ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ
กรณีนำเข้าสินค้า ต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้า อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ ได้แก่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
|
สินค้าสรรพสามิต
|
---|---|
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ.2527 |
|
พระราชบัญญัติสุราพ.ศ.2493 |
|
พระราชบัญญัติยาสูบพ.ศ.2509 |
|
พระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ.2486 |
|
จดทะเบียนสรรพสามิต
1. การจดทะเบียนสรรพสามิตโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/พื้นที่สาขาที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
1. แบบ ภษ.01-04 2. สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ตั้งโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ 3. แผนที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ 4. หลักฐานการแสดงกรรมสิทธิ์ของสถานที่ที่ขอจดทะเบียนสรรพสามิตหรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ 5. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) 6. สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)กรณีผู้ยื่นเป็นนิติบุคคล 7. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ 8. สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษึอากรและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ |
ยื่นแบบ ภษ.01-04 ภายใน 30 วัน ก่อนเริ่มผลิตสินค้าหรือบริการ โดยยื่นคำขอ 2 ชุด พร้อมเอกสารประกอบ |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | 20 นาทีนับแต่ได้รับเอกสารที่ครบถ้วน |
- ดูเอกสารคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต แบบ ภษ.01-04 คลิก
2. การขอใบแทนใบทะเบียนสรรพสามิต
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่ใบทะเบียนสรรพสามิตชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
1. แบบ ภษ. 01-05 จำนวน 4 ฉบับ 2. หนังสือแจ้งความใบทะเบียนสรรพสามิตหายหรือใบทะเบียนสรรพสามิตที่ชำรุดในสาระสำคัญ 3. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ 4. สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน) 5. บัญชีรายละเอียดวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบัญชีรายการค้างชำระภาษี |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ | ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | 20 นาทีนับแต่ได้รับเอกสารที่ครบถ้วน |
- ดูเอกสารคำขอรับใบแทนใบทะเบียนสรรพสามิต แบบ ภษ.01-05 คลิก
3. การย้ายโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
1. แบบ ภษ. 01-05 จำนวน 4 ฉบับ 2. ใบทะเบียนสรรพสามิต 3. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ 4. สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน) 5. บัญชีรายละเอียดวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบัญชีรายการค้างชำระภาษี 6. ใบทะเบียนสรรพสามิตที่ชำรุดในสาระสำคัญ |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ |
1. ก่อนวันย้ายไม่น้อยกว่า 15 วัน ยื่นแบบ ภษ.01-04 เพื่อขอจดทะเบียนใหม่ภายใน 30 วันก่อนวันเริ่มผลิตสินค้าหรือบริการ และเมื่อได้รับใบทะเบียนสรรพสามิตฉบับใหม่แล้ว ให้คืนใบทะเบียนสรรพสามิต 2. นัดผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเพื่อทำการตรวจเลิกกิจการ |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | 1 วันนับแต่วันที่ไปตรวจโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ |
4. การโอนกิจการโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
1. แบบ ภษ. 01-05 2. ใบทะเบียนสรรพสามิต 3. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ 4. สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน) 5.บัญชีรายละเอียดวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบัญชีรายการค้างชำระภาษี |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ | ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้ผู้รับโอนยื่นจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 7 วันนับแต่วันที่รับโอนกิจการ และให้คืนใบทะเบียนสรรพสามิตแก่เจ้าพนักงาน ณ สถานที่ที่ได้แจ้งโอนกิจการภายใน15วันนับแต่วันหยุดกิจการ |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | 1 วันทำการ (ไม่รวมเวลาที่ผู้รับโอนกิจการยื่นจดทะเบียนใหม่) |
5. การเลิกกิจการโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
1.แบบ ภษ. 01-05 จำนวน 4 ฉบับ 2.ใบทะเบียนสรรพสามิต 3.หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ 4.สำเนาหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ไม่เกิน 6 เดือน) 5.บัญชีรายละเอียดวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป และบัญชีรายการค้างชำระภาษี |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ | ก่อนวันเลิกกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้คืนใบทะเบียนสรรพสามิต แก่เจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ที่ได้แจ้งเลิกกิจการนั้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่หยุดประกอบกิจการ |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบสินค้าและภาษีค้างชำระ |
1. การขออนุญาตซื้อเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่จดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีกับกรมสรรพสามิต(ภษ.01-18) |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
แบบคำขออนุญาต - แบบ ภษ.01-23 จำนวน 2 ฉบับและ ภษ.01-24 - กรณีชำระเป็นเงินสด - วางประกันด้วยหนังสือค้ำประกันของธนาคาร |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ |
1. เจ้าพนักงานสรรพสามิตรับคำขออนุญาตซื้อเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน ภษ.01-23 และ ภษ.01-24 พร้อมสำเนาเอกสารประกอบ 2. เจ้าหน้าที่ตรวจแบบ ภษ.01-23 และ ภษ.01-24 และเอกสารแนบ 3. เจ้าพนักงานสรรพสามิตติดต่อให้ผู้ขอซื้อชำระภาษีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน 4. เจ้าพนักงานสรรพสามิตทำบันทึกพร้อมแนบ ภษ.01-23 ภษ.01-24 ให้สรรพสามิตพื้นที่ลงนาม |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | ยังไม่มีการกำหนด |
2. การขออนุญาตนำเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนเข้ามาในราชอาณาจักร
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนำเข้าเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่ตนจดทะเบียนไว้กับกรมสรรพสามิตแล้ว |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ |
3. ยื่นต่อ | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ครั้งละ 500 บาท |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
แบบคำขออนุญาต - แบบ ภษ.01-22 จำนวน 3 ฉบับ เอกสารประกอบ 1.สำเนาใบกำกับสินค้า 2.สำเนาใบสั่งซื้อ 3.สำเนาใบรายการบรรจุสินค้า 4.สำเนาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน ภษ.01-18 จากผู้นำเข้า |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ |
1. เจ้าหน้าที่รับคำขออนุญาตนำเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนเข้ามาในราชอาณาจักร ตาม ภษ.01-22 จำนวน 3 ฉบับ พร้อมสำเนาเอกสารประกอบ และรับรองสำเนาเอกสารด้วย 2. เจ้าหน้าที่ตรวจแบบ ภษ.01-22 และเอกสารแนบ 3. เจ้าหน้าที่ติดต่อให้ผู้นำเข้ามาชำระค่าธรรมเนียมนำเข้าและค่าภาษีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี 4. เจ้าหน้าที่ทำบันทึกพร้อมแนบ ภษ.01-22 ให้สรรพสามิตพื้นที่ลงนามในหนังสืออนุญาตและในแบบ ภษ.01-22 |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | 45 นาที |
3. การขออนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน (แก้ไขตามคู่มือของกรมสรรพสามิตเมื่อ 20 ส.ค. 2553)
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ที่ประสงค์จะขอตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม |
- ใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ฉบับละ 20,000 บาท - ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าทัณฑ์บนรายปี ฉบับละ 2,000 บาท (เว้นปีที่ออกใบอนุญาตปีแรกไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปี) |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
แบบคำขออนุญาต - แบบ ภษ.01-08 จำนวน 2 ฉบับ เอกสารประกอบ 1. หลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองสถานที่ หรืออาคารที่ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน ของผู้ยื่นแบบคำขออนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน 3. สำเนาหนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล 4. สำเนารับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ (ในกรณีที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) พร้อมทั้งสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับ (ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด) 5. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ 6. แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ระยะทางเส้นทางคมนาคมระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาหรือกรมสรรพสามิต 7. แผนผังแสดงสถานที่ตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน พร้อมทั้งบริเวณและสถานที่ซึ่งเป็นอาณาเขตติดต่อกับคลังสินค้าทัณฑ์บน 8. แบบแปลนแผนผังแสดงบริเวณภายในคลังสินค้าทัณฑ์บน สถานที่เก็บสินค้า ช่องทางที่สินค้าจะเข้าหรือออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน 9. รายการสินค้าที่จะนำเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ |
|
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | 20 วันทำการ |
1. การแจ้งราคาขายสินค้า/บริการ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527
รายการ
|
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน
|
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการ |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรรพสามิตพื้นที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานบริการตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ |
1. แบบ ภษ.01-44 ,แบบ ภษ.01-44ก 2. แบบโครงสร้างต้นทุนการผลิต/บริการ 3. หลักฐานเอกสารประกอบ เช่น ใบกำกับภาษีซื้อ ใบขนสินค้าขาเข้า ใบสำคัญจ่าย เป็นต้น ซึ่งเป็นที่มาของโครงสร้างต้นทุนการผลิต/บริการ 4. รายละเอียดวิธีคำนวณค่าใช่จ่ายในการผลิต/บริการแต่ละรายการ 5. รูปแบบสินค้า/บริการ |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ |
1.ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ยื่นแบบ ภษ.01-44 พร้อมเอกสารตามรายการที่ 5 ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการจำหน่ายหรือเปลี่ยนแปลงราคา 2.เจ้าหน้าที่พิจารณาโครงสร้างราคาขาย 3.หากพบข้อผิดพลาด แจ้งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมทบทวนแก้ไข 4.เสนอสรรพสามิตพื้นที่ทราบ |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา |
1. การขยายเวลาชำระภาษี
2. หลักเกณฑ์และวงเงินประกันค่าภาษี
ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษี พร้อมกับการชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน โดยมีหลักประกัน ดังนี้
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายใดประสงค์จะยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับการชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกัน ให้ปฏิบัติ ดังนี้
3. สินค้าที่เสียภาษีโดยใช้แสตมป์สรรพสามิต หรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ได้แก่
4. การคำนวณภาษี
กรณีอัตราภาษีตามปริมาณ
ภาษีสรรพสามิต = ปริมาณสินค้า x อัตราภาษีสรรพสามิต
กรณีอัตราภาษีตามมูลค่า
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต
กรณีระบุอัตราภาษีทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า ให้คำนวณค่าภาษีสรรพสามิตจากทั้ง 2 อัตราก่อน และให้ใช้อัตราที่คิดเป็นเงินสูงกว่า ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.พิกัดภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 โดยรายรับของสถานบริการ ได้แก่
กรณีสินค้านำเข้า
มูลค่า = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดใน พ.ร.บ. (แต่ไม่รวมถึง VAT) + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
ดังนั้น
ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่าดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต
หรือ
ภาษีสรรพสามิต = {(C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT) x อัตราภาษีสรรพสามิต) หารด้วย (1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)}
5. การชำระภาษีสถานบริการ
รายการ |
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน |
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรรพสามิตพื้นที่หรือพื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานบริการนั้นตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | เจ้าพนักงานสรรพสามิต |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ | แบบรายการชำระภาษีสรรพสามิต ภษ. 01-12ก. พร้อมรายละเอียดสินค้า |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | เจ้าพนักงานสรรพสามิต |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ | 1.ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (ภษ. 01-12ก) พร้อมรายละเอียดของการบริการ งบเดือนแสดงรายการรายรับของสถานบริการ(ภษ.01-42ก) พร้อมด้วยเงินค่าภาษีที่ต้องชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้น 2.การชำระภาษีสามารถชำระด้วย -เงินสด -แคชเชียร์เช็ค -บัตรภาษี -เช็คประเภท ง. (เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินผลประโยชน์เป็นผู้สั่งจ่ายและใช้ชำระโดยตรง กรณีนี้ต้องขออนุมัติกรมสรรพสามิตก่อน) 3.เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและจำนวนเงินภาษีที่นำมาชำระ 4.รับชำระภาษีและออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระภาษี |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | 10 นาที/1 แบบรายการ |
1. การยกเว้นหรือคืนภาษีสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร
รายการ |
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน |
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | 1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตมีสิทธิขอยกเว้นหรือคืนภาษีได้ 2. ผู้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือ นำเข้าไปในเขตปลอดอากรและได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นให้ดำเนินการขอยกเว้นหรือ คืนภาษีมีสิทธิขอยกเว้นหรือคืนภาษีได้ 3. นิติบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบ อุตสาหกรรมเป็นทอดแรกเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรโดยไม่ได้รับ มอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมให้ใช้วิธีการคืนภาษี 4. บุคคลอื่นที่มิได้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเป็นทอดแรก ให้ใช้วิธีการคืนภาษี |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมนั้นตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | - สรรพสามิตพื้นที่ โดยส่งทางโทรสาร นำส่งเอง หรือ - ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ | 1. แบบ ภษ.01-28 2. คู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกฉบับมุมน้ำเงิน 3. เอกสารการสั่งซื้อสินค้า 4. ใบแสดงรายการและราคาสินค้า 5. สำเนาหลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชำระราคาสินค้า 6. กรณีขอคืนภาษีจะต้องมีหลักฐานแสดงการเสียภาษีมาด้วยได้แก่ แบบรายการภาษีสรรพสามิต (ภษ.01-12) และใบเสร็จรับเงินค่าภาษีสรรพสามิต |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | 1. สรรพสามิตพื้นที่ในกรณี - น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันไม่เกิน 100 ล้านบาท - รถยนต์ไม่เกิน 50 ล้านบาท - สินค้าอื่นๆ ไม่เกิน 10 ล้านบาทและบริการไม่เกิน 1 ล้านบาท 2. ผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตภาคกรณีเกินอำนาจสรรพสามิตพื้นที่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ | 1. ผู้ส่งออกยื่นแบบ ภษ.01-28 จำนวน 2 ชุด พร้อมเอกสารประกอบก่อนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม คลังสินค้าทัณฑ์บน หรือสถานที่เก็บสินค้า 2. เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับ พร้อมส่งคืนแบบ ภษ. 01-28 ให้ผู้ส่งออก 1 ชุด 3. ผู้ส่งออกนำแบบ ภษ.01-28 กำกับไปกับสินค้าที่จะส่งออกไปทำพิธีการทางศุลกากร (เจ้าพนักงานศุลกากรตรวจสอบสินค้าและลงนามรับรองการส่งออก) 4. เมื่อส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรแล้วผู้ส่งออกทำหนังสือ ขอคืนหรือยกเว้นภาษี พร้อมแบบ ภษ.01-28 ที่ผ่านพิธีการศุลกากรเรียบร้อยแล้วพร้อมเอกสารที่ เกี่ยวข้องคืนสำนักงานสรรพสามิตที่แห่งท้องที่ที่ขอส่งออกภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร หรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร 5. เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบเอกสารแล้วทำหนังสือเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติยกเว้นหรือคืนภาษีแล้วแจ้งให้ผู้ส่งออกทราบ |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | เอกสารครบถ้วนตามข้อ5 2 ชั่วโมง ต่อ 1 คำขอ |
2. การขอยกเว้นสำหรับสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยจะนำไปเก็บพักไว้ที่สถานที่เก็บสินค้า
รายการ |
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน |
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | 1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 2. ผู้ซื้อหรือได้รับสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรม |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ | แบบคำขอ ภษ.01-28/1 |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ | 1. ผู้ประกอบการยื่นแบบคำขอยกเว้นภาษี ภษ. 01-28/1 จำนวน 3 ฉบับพร้อมเอกสาร ด้วยตนเอง หรือโทรสาร หรือ Internet ต่อสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เพื่อลงรับพร้อมคืนแบบ ภษ.01-28/1 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม/ผู้ส่งออก 2 ชุด เพื่อ กำกับไปกับสินค้าที่จะนำไปเก็บไว้ที่สถานที่เก็บสินค้าเพื่อรอการส่งออก 2. สรรพสามิตพื้นที่สั่งให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตไปดำเนินการตรวจสอบสินค้าที่จะออกจากโรงอุตสาหกรรม 3. เจ้าพนักงานสรรพสามิตผู้รับผิดชอบไปดำเนินการตรวจนับสินค้าที่โรงอุตสาหกรรมและลงนามในแบบคำขอข้อ 7 4. ส่งแบบคำขอไปยังสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่สถานที่เก็บสินค้าตั้งอยู่ (ซึ่งได้รับอนุมัติให้เป็นสถานที่ที่เก็บสินค้าจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตแล้ว) 5. ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ส่งออกแจ้งให้สรรพสามิตพื้นที่ที่สถานที่เก็บสินค้านั้นตั้งอยู่ทราบเพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตมาตรวจสอบสินค้า 6. สรรพสามิตพื้นที่ที่สถานที่เก็บสินค้าตั้งอยู่สั่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตให้ไปตรวจสอบนับสินค้าที่สถานที่เก็บสินค้า และลงนามในแบบคำขอ ข้อ 8 7.ผู้ส่งออกส่งแบบ ภษ. 01-28/1 ไปยังสำนักสรรพสามิตพื้นที่ที่ได้ยื่นคำขอไว้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบคำขอดังกล่าวแล้วคืนให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ส่งออก |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | 30 นาที |
3. การลดหย่อนภาษีสรรพสามิต
รายการ |
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามกฎหมายปัจจุบัน |
---|---|
1. ผู้มีสิทธิ์ยื่น | ผู้ประกอบอุตสาหกรรม |
2. สถานที่ยื่น | สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ |
3. ยื่นต่อ | สรรพสามิตพื้นที่ |
4. อัตราค่าธรรมเนียม | ไม่มีอัตราค่าธรรมเนียม |
5. แบบคำขอ+เอกสารประกอบ | 1. หนังสือแจ้งความประสงค์ขอลดหย่อนภาษี 2. แบบ ภษ.01-29 3. แบบ ภษ.01-30 4. โครงสร้างต้นทุน 5. สูตรการผลิต 6. ใบกำกับภาษีซื้อ 7. บัญชีรับจ่ายสินค้าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต 8. แบบแจ้งราคาขาย |
6. ผู้มีอำนาจอนุมัติ/อนุญาต | สรรพสามิตพื้นที่ |
7. ขั้นตอนการดำเนินการ | 1.ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอลดหย่อนภาษีพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นท 2.พิจารณาตรวจสอบ วิเคราะห์ฯ อนุมัติและแจ้งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมทราบ |
8. ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา | ขึ้นอยู่กับเอกสารประกอบการพิจารณา ประมาณ 1 ชั่วโมงถึง 5 วัน เว้นแต่หน่วยงานของกรมฯ ไม่มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ต้องใช้หน่วยงานภายนอกอาจใช้เวลามากกว่า 1 เดือน |
ข้อมูลกรมสรรพสามิตเพิ่มเติม
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีนำเข้าเรียกว่า "อากรขาเข้า" และในกรณีส่งออกเรียกว่า "อากรขาออก" โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ำหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่จะต้อง "ชำระอากรขาออก" เพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ นอกนั้นอัตราอากรเป็น 0% ทั้งหมด ส่วน "อากรขาเข้า" จัดเก็บตามพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรได้นำระบบฮาร์โมไนซ์มาใช้ในการจัดหมวดหมู่ของสินค้า โดยแบ่งย่อยเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย คือแบ่งเป็น 21 หมวด 91 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน ซึ่งการระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์จะกำหนดเป็นเลข 10 หลัก โดยที่ 7 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ส่วนเลข 3 หลักหลัง เป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ
ดังนั้น เมื่อจะนำสินค้าใดเข้าหรือส่งสินค้าใดออก คุณต้องตรวจสอบให้ถูกต้องชัดเจนก่อนว่าสินค้านั้นๆ จัดอยู่ในพิกัดใด อัตราอากรเท่าใด เพื่อที่จะนำไปคิดคำนวณภาษีอากรที่คุณต้องจ่ายนั่นเอง อีกทั้งคุณต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอนตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกให้ครบถ้วน ดังนี้
ผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออกจะต้องไปแสดงตนขอลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกผู้ผ่านพิธีการศุลกากร สียก่อน ซึ่งจะเป็นการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ เพราะระบบจะจดจำว่าคุณได้ขอเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกแล้ว หลังจากนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด ขอเพียงมีคอมพิวเตอร์ก็สามารถขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกสินค้าได้
ตัวแทนออกของ (customs broker) คือ นิติบุคคลที่ทำหน้าที่ในการเป็นผู้ติดต่อกับกรมศุลกากรแทนผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออก หรือเป็นนายหน้าในการจัดการผ่านพิธีการศุลกากรนั่นเอง
การจะนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ ก็ตาม ผู้นำเข้าส่งออก (หรือตัวแทนออกของ) จะต้องทำพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกด้วย ซึ่งช่องทางสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ได้แก่ ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และทางไปรษณีย์
ทั้งนี้ การจัดเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า มีดังนี้
เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะการนำเข้า
(1) แบบ กศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภทที่กรมศุลกากรไม่ได้กำหนดให้ใช้ใบขนสินค้าประเภทอื่น
(2) แบบ กศก. 102 ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษ พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทางอากาศยานหรือพิธีการอื่นที่กรมศุลกากรกำหนด สำหรับของที่นำเข้าในลักษณะเฉพาะ เช่น การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต เป็นต้น
(3) แบบ กศก. 103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าก่อนปฏิบัติพิธีการครบถ้วนตามที่กรมศุลกากรกำหนด
(4) แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าชั่วคราวประเภทต่างๆ ตามที่ระบุในอนุสัญญา
(5) แบบ JDA (Joint Development Area) ใบขนสินค้าสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
(6) แบบใบแนบ 9 ใบขนสินค้าถ่ายลำ ใช้สำหรับพิธีการสินค้าถ่ายลำ
(7) แบบที่ 448 ใบขนสินค้าผ่านแดน ใช้สำหรับพิธีการสินค้าผ่านแดน
(8) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำรถยนต์และจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
(9) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับเรือสำราญและกีฬาที่นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเรือสำราญและกีฬาเข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน Service Counter โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นข้อมูลใบขนสินค้าโดยอัตโนมัติ และให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนส่งเฉพาะข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าที่ส่งเข้ามา เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้นำของเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร ราคา เป็นต้น ถ้าพบว่าข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ส่งมาไม่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทนเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง
3. เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าที่ส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมกับตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาเข้าในขั้นตอนการตรวจสอบพิธีการเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ แล้วแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า ใบขนสินค้าขาเข้าที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์จะสั่งการตรวจ หลังจากนั้น ผู้นำเข้าหรือตัวแทนสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระค่าภาษีอากรและรับการตรวจปล่อยสินค้าได้ ใบขนสินค้าขาเข้าที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำของเข้า
4. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าตามวรรคแรกในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้
4.1 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM
4.2 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM
4.3 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST
ในการส่งออกสินค้า ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกกำหนดไว้ให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการนำเข้า
เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้ส่งออกต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการส่งออก ดังนี้
1. แบบ กศก.101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้
2. แบบ กศก.103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการขอส่งสินค้าออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออกในลักษณะที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ.2544
3. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งของออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา
4. ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์และจักรยานยนต์ชั่วคราว
ใบขนสินค้าขาออกที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้ส่งออกหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่ผ่านพิธีการ
ใบขนสินค้าขาออกที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าขาออกประเภทนี้ ผู้ส่งออกสามารถชำระค่าอากร (ถ้ามี) และดำเนินการนำสินค้าไปตรวจปล่อยเพื่อส่งออกได้เลยโดยไม่ต้องไปพบเจ้าหน้าที่ประเมินอากร