นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียนของผู้ประกอบ
โรงงานสุรากลั่นชุมชน
| |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายสุราเกินกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท) | |||
ขออนุญาตนำเข้าสุรา
| ขออนุญาตก่อสร้างโรงงาน | ขอใบอนุญาตขายสุรา | ขออนุญาตส่งสุราออกนอกราชอาณาจักร |
ต้องนำเข้าทางด่านศุลกากรที่อธิบดีกำหนด | ขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุรา | ขอใบอนุญาตขนสุรา | ขออนุญาตขนสุรา |
ลงทะเบียน Paperless | การแจ้งราคาขาย ณ โรงงาน | การวางจำหน่าย | ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | การปิดและขีดฆ่าแสตมป์ | ออกใบกำกับภาษี | ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
ปิดและขีดฆ่าแสตมป์ | จัดทำรายงานภาษี | จัดทำรายงานภาษี | |
จัดทำรายงานภาษีซื้อ | ยื่นแบบภาษีเงินได้ | ยื่นแบบภาษีเงินได้ | |
ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ในปี 2555 ที่ผ่านมา สุรา (กลั่น) ที่จำหน่ายในประเทศไทยมียอดขายสูงถึง 583.56 ล้านลิตร และมียอดการนำเข้าสุรามาจำหน่ายในประเทศที่ 28.5 ล้านลิตร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังสามารถผลิตสุราเพื่อส่งออกไปทำตลาดในต่างประเทศได้อย่างดีอีกด้วย
ภาษีสุราในประเทศไทยนั้นมี "กฎหมายหลัก" ที่กำกับคือ " พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 " ซึ่งครอบคลุมสุราทุกประเภทในราชอาณาจักร ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้นำเข้าสุรา ผู้ผลิตสุรา ผู้จำหน่ายสุรา หรือผู้ส่งออกสุรา คุณต้องทำความรู้จักและเข้าใจ พ.ร.บ.สุรา ให้ถ่องแท้
โดยเบื้องต้นนี้ เราจะมาทำความเข้าใจภาษีสุราในแง่ของ "สุรากลั่น" ซึ่งในทางกฎหมาย หมายถึง สุราที่ได้กลั่นแล้ว รวมถึงสุรากลั่นที่ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรี โดยปัจจุบันมีการแบ่งสุรากลั่นออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งมี อัตราภาษี แตกต่างกัน
ผู้ประกอบธุรกิจสุราและมีหน้าที่ต้องเสียภาษีสุรานั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา และ ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร
ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรากลั่นชุมชน: : ผู้ที่ตั้งโรงงานผลิตสุราในประเทศ
ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าสุราจากต่างประเทศ
และไม่ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มไหน เป็นผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้ส่งออก สิ่งที่จะเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกิจเกี่ยวกับสุราคือ คุณจะต้อง ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทในปีภาษีนั้น) กับกรมสรรพากรก่อน
ผู้ประกอบการที่นำเข้าสุราจากต่างประเทศ ความรับผิดในการเสียภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อขนสุราผ่านด่านศุลกากรดังนั้นคุณต้องยื่นใบอนุญาตนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรพร้อมขอซื้อแสตมป์สุรา (เสียภาษี) ณ ด่านศุลกากรที่ได้รับใบอนุญาตนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อนำไปติดที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนขนผ่านด่านศุลกากร
คุณจะต้อง...- ขออนุญาตนำสุราเข้าในราชอาณาจักร | กรมสรรพสามิต |
- ขออนุมัติใช้ฉลากบรรจุสุรา | |
- ขออนุญาตนำแสตมป์ไปติดภาชนะ ณ โรงงานสุราในต่างประเทศ | |
- ขออนุญาตซื้อแสตมป์ไปปิด ณ ด่านศุลกากร | |
- ขอใบอนุญาตขนสุรา |
- ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร (Paperless) | กรมศุลกากร |
- ทำพิธีการนำเข้าทางศุลกากร |
จากนั้นยื่นชำระภาษี ณ กรมศุลกากร พร้อมชำระอากรขาเข้า โดยนำหลักฐานประกอบมายื่นที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบ ทั้งนี้ ต้องกรอกแบบแจ้งขอปิดแสตมป์สุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ปฏิบัติพิธีการตรวจปล่อยสินค้าตั้งอยู่จะดำเนินการจ่ายแสตมป์ให้ผู้นำเข้านำแสตมป์ไปปิดสุราที่นำเข้าภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ต่อไป
เอกสารประกอบการยื่นชำระภาษีนำเข้าสุรา
รายการสุรากลั่น | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
แชมเปญจ์ | 2204.10.00 | 54% |
บรั่นดี | 2208.20.50 | 60% |
วิสกี้ | 2208.30.10 | 60% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
ภาษีสุราของ "ผู้ผลิตสุรา"ผู้ผลิตสุราในประเทศนั้น ความรับผิดในการเสียภาษีสุราจะเกิดขึ้นก่อนขนสุราออกจากโรงงานสุรา ซึ่งหมายความว่า คุณต้องยื่นขอชำระภาษีและรับแสตมป์สุราไปปิดที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ ก่อนขนสุราออกจากโรงงาน โดยคุณสามารถยื่นชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือที่สาขาตั้งอยู่ ซึ่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตจะจ่ายแสตมป์ให้เพื่อนำไปปิดภาชนะบรรจุสุราต่อไป
"ผู้ผลิตสุรากลั่น"
กรณีได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ กลุ่มบุคคล กลุ่มบุคคลธรรมดาผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน กลุ่มนิติบุคคล กลุ่มเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร
จะต้องผลิตสุรากลั่น(ชุมชน)โดย...
ก่อนที่คุณจะนำสุราที่ผลิตได้ออกวางจำหน่ายคุณต้องทำการแจ้งราคาขาย ณ โรงงาน ต่อสรรพสามิตพื้นที่ คือ
และต้องจัดทำบัญชีและงบเดือนแสดงการผลิตและการรับซื้อวัตถุดิบทุกเดือนต่อกรมสรรพสามิตภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไปด้วย
ผู้ประกอบการสุรากลั่นทั้งผู้ผลิตและผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับคืนค่าภาษีสุราและยกเว้นไม่เรียกเก็บภาษีสุรา ดังนี้
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
เมื่อคุณก้าวมาถึงจุดนี้ ก็ได้เวลาที่จะจัดส่งจำหน่ายสุราที่ปิดแสตมป์อย่างถูกต้องออกจำหน่ายทั่วประเทศ โดยในขั้นตอนนี้มีภาษีที่เกี่ยวข้องคือ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประจำปีภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"
หลังจากทำธุรกิจสุราในประเทศจนประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการมักเริ่มมองหาลู่ทางในการส่งออกสุราไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันนี้นับเป็นความโชคดีของผู้ประกอบธุรกิจสุรา เพราะผู้ส่งสุราออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิได้รับคืนค่าภาษีสุราสำหรับสุราที่ส่งออกไป โดยปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง นอกจากนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรายังอาจ ขอยกเว้นภาษีสุราสำหรับสินค้าที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การส่งออกสุรายังมีขั้นตอนที่ผู้ส่งออกมือใหม่ควรทราบ คือผู้ผลิตสุราในประเทศ เพื่อส่งออกสุราไปยังต่างประเทศ จะต้อง...
ขออนุมัติเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่หน่วยปฏิบัติพิธีการตรวจปล่อยสินค้าตั้งอยู่ให้นำสุราเข้ามา พร้อมเอกสารสำคัญ ได้แก่
เมื่อได้รับอนุมัติเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตแล้วจึงส่งสุราออกได้และเมื่อได้ส่งสุราออกไปแล้ว คุณต้องนำหนังสือรับรองการส่งออก พร้อมด้วยใบขนสินค้าขาออกซึ่งได้รับการลงชื่อรับรองจากเจ้าพนักงานศุลกากรแล้ว (ถ้ามี) ส่งให้เจ้าพนักงานสรรพสามิต ที่ออกใบอนุญาต ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งสุราออกไป
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
เมื่อคุณนำเข้า หรือผลิต หรือจำหน่าย หรือส่งออกสุราไปต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ปิดท้ายดังต่อไปนี้...
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"ร้านถ่ายเอกสาร” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้สถานศึกษา หรือใกล...
ธุรกิจบริการทำความสะอาดรถจะมีการให้บริการในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ล้างรถ ดูดฝุ่น ขัดสี เ...
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
ปัจจุบันผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสนใจเข้าไปใช้บริการธุรกิจเสริมความงามกันอย่างมาก ทั้งน...
“ผ้าไหม” มรดกแห่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน ถือ...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
คือธุรกิจที่บริการด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่อาคารสถานที่และทรัพย์สินของ ลูกค้าหรือผู...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
“น้ำมันเหลือง” ยาแผนโบราณจากพืชสมุนไพรคุณภาพเยี่ยม สรรพคุณ...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
ร้านขายอะไหล่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีจากการเพิ่มจำนวน...
“ปลาสลิด” จัดเป็นสัตว์น้ำยอดนิยมที่ถูกนำมาแปรรูป ถนอมความส...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ลำไยอบแห้ง” เป็นหนึ่งในบรรดาของฝากยอดฮ...
“ปลากระป๋อง” อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องที่รับประทานง่ายและหาซ...
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เที...