เครื่องเขียนและเครื่องใช้ในสำนักงานเป็นสิ่งที่นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน
และบุคคลทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ปากกา, ดินสอ,
ยางลบ, ไม้บรรทัด, น้ำยาลบคำผิด (ลิควิดเปเปอร์),
อุปกรณ์วาดภาพ, กระดาษ, สมุด, แฟ้ม, เครื่องคิดเลข เป็นต้น
ทั้งนี้เราอาจจะทำเป็นสมุดรายงานหรือ สมุดบัญชีด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือเปิดให้ดาวน์โหลดได้ใน เว็บไซต์ต่าง ๆ ตัวอย่างของโปรแกรมที่ได้รับ นิยม ได้แก่ อีซี่ พีโอเอส (Easy POS) เอ็กซ์ เพรส พีโอเอส (Express POS) เป็นต้น
ทำเล
ควรอยู่ใกล้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็น นักเรียน นักศึกษา หรือคนทำงาน
สินค้า
เราสามารถซื้อของมาขายจากผู้ผลิต โดยตรง หรือผ่านผู้ค้าส่ง หรือศึกษาภัณฑ์ ก็ได้เช่นกัน
การวางระบบร้าน
การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจะช่วย ให้เราสามารถแข่งขันกับร้านคู่แข่งโดยเฉพาะ ร้านสะดวกซื้อได้ เราควรมีระบบคลังสินค้า และระบบบัญชีที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ ระบบคลังสินค้าที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าเราจำเป็น ต้องสั่งซื้อสินค้าเมื่อใดและในปริมาณเท่าใด ส่วนระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าร้านได้ กำไรหรือขาดทุนเท่าใดบ้าง
ทั้งนี้เราอาจจะทำเป็นสมุดรายงานหรือ สมุดบัญชีด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือเปิดให้ดาวน์โหลดได้ใน เว็บไซต์ต่าง ๆ ตัวอย่างของโปรแกรมที่ได้รับ นิยม ได้แก่ อีซี่ พีโอเอส (Easy POS) เอ็กซ์ เพรส พีโอเอส (Express POS) เป็นต้น
เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านจำหน่าย ขายเครื่องเขียนเครื่องใช้สำนักงาน เราจะต้อง เกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้
การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
> เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้
> ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย
ภาษีศุลกากร
หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
> เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
> ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย
การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ
การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ
เราสามารถจำหน่ายในประเทศและ จำหน่ายเพื่อการส่งออกซึ่งมีรายละเอียด เกี่ยวกับภาษี ดังนี้
การจำหน่ายในประเทศ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
> ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
> ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เราจะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรม- สรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
> ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
> ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
> เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้าทุกครั้ง
> เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่าย ต่างประเทศ
นอกจากที่เราจะเสียภาษีจากเงินรายได้ ที่จำหน่ายสินค้าภายในประเทศแล้ว หากเรา ต้องการจะจำหน่ายเพื่อการส่งออก เราก็ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนของ ขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออกตามที่ กฎหมายกำหนด
• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
คนไทยมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟกันมาช้านาน ตั้งแต่ในยุคอดีตที่เป็นกาแฟชงในถุง ...
สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น” ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากสถานีวิทยุชุมชน เนื่องจากสื่อ โทรทัศน์ส...
ธุรกิจบริการทำความสะอาดรถจะมีการให้บริการในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ล้างรถ ดูดฝุ่น ขัดสี เ...
“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้ง...
ส่วนใหญ่คนนิยมเปิดร้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขนาดเล็กเพราะใช้เงินลงทุนน้อย และมักจำหน...
ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก “อาหารฮาลาล” ของชา...
เครื่องทองโบราณ เป็นงานฝีมือที่ใช้วัตถุดิบทองคำเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99...
ธุรกิจ “รถรับจ้าง” คือ ธุรกิจที่ให้บริการรถเช่าเหมาคัน (มักเป็นรถตู้หรือรถก...
‘ไวน์ผลไม้” กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจ...
ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิ...
“ เครื่องปรับอากาศ ” เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน ที่พักอา...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
“ปลาสลิด” จัดเป็นสัตว์น้ำยอดนิยมที่ถูกนำมาแปรรูป ถนอมความส...
"อัญมณี" ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าด้วยคุณสมบัติหลัก 3 ประ...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...