คลินิกภาษีร้านขายเครื่องเขียน และเครื่องใช้ในสำนักงาน

เครื่องเขียนและเครื่องใช้ในสำนักงานเป็นสิ่งที่นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน
และบุคคลทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ปากกา, ดินสอ,
ยางลบ, ไม้บรรทัด, น้ำยาลบคำผิด (ลิควิดเปเปอร์),
อุปกรณ์วาดภาพ, กระดาษ, สมุด, แฟ้ม, เครื่องคิดเลข เป็นต้น

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยหลักในการเปิดร้าน

ทั้งนี้เราอาจจะทำเป็นสมุดรายงานหรือ สมุดบัญชีด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือเปิดให้ดาวน์โหลดได้ใน เว็บไซต์ต่าง ๆ ตัวอย่างของโปรแกรมที่ได้รับ นิยม ได้แก่ อีซี่ พีโอเอส (Easy POS) เอ็กซ์ เพรส พีโอเอส (Express POS) เป็นต้น

  • ทำเล
    ควรอยู่ใกล้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็น นักเรียน นักศึกษา หรือคนทำงาน

  • สินค้า
    เราสามารถซื้อของมาขายจากผู้ผลิต โดยตรง หรือผ่านผู้ค้าส่ง หรือศึกษาภัณฑ์ ก็ได้เช่นกัน

  • การวางระบบร้าน
    การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจะช่วย ให้เราสามารถแข่งขันกับร้านคู่แข่งโดยเฉพาะ ร้านสะดวกซื้อได้ เราควรมีระบบคลังสินค้า และระบบบัญชีที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ ระบบคลังสินค้าที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าเราจำเป็น ต้องสั่งซื้อสินค้าเมื่อใดและในปริมาณเท่าใด ส่วนระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าร้านได้ กำไรหรือขาดทุนเท่าใดบ้าง

    ทั้งนี้เราอาจจะทำเป็นสมุดรายงานหรือ สมุดบัญชีด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือเปิดให้ดาวน์โหลดได้ใน เว็บไซต์ต่าง ๆ ตัวอย่างของโปรแกรมที่ได้รับ นิยม ได้แก่ อีซี่ พีโอเอส (Easy POS) เอ็กซ์ เพรส พีโอเอส (Express POS) เป็นต้น

เริ่มธุรกิจร้านขายเครื่องเขียนหรือเครื่องใช้สำนักงาน

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

เตรียมตัวก่อนเปิดร้าน

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านจำหน่าย ขายเครื่องเขียนเครื่องใช้สำนักงาน เราจะต้อง เกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การขายเครื่องเขียนหรือเครื่องใช้สำนักงาน

เราสามารถจำหน่ายในประเทศและ จำหน่ายเพื่อการส่งออกซึ่งมีรายละเอียด เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล เราจะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรม- สรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้าทุกครั้ง
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

    การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่าย ต่างประเทศ
    นอกจากที่เราจะเสียภาษีจากเงินรายได้ ที่จำหน่ายสินค้าภายในประเทศแล้ว หากเรา ต้องการจะจำหน่ายเพื่อการส่งออก เราก็ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนของ ขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออกตามที่ กฎหมายกำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ