คลินิกภาษีร้านขายยา

ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ธุรกิจร้านขายยาจึงถือว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะยามีความ จำเป็นในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำหรับคนที่ต้องการมีธุรกิจ เป็นของตัวเองที่จะสามารถสร้างรายได้มากมายในธุรกิจด้านนี้ แต่การแข่งขันกับร้านขายยาแบรนด์ดังๆ ก็มีเช่นกัน จึงจำเป็น ต้องทำร้านขายยาของเราให้ได้มาตรฐาน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านขายยา

  • กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
    กฎระเบียบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ร้านขายยา ได้แก่ กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดเกี่ยวกับ สถานที่อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรม ชุมชนในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตาม กฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2557

    กฎระเบียบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ร้านขายยา ได้แก่ กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดเกี่ยวกับ สถานที่อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรม ชุมชนในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตาม กฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2557
  • ทำเลที่ตั้ง
    ทำเลที่ตั้งที่เหมาะกับร้านขายยา คือ แหล่งชุมชนต่างๆ เช่น หมู่บ้าน ย่านธุรกิจ การค้า ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น แต่ร้านขายยา จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร ตาม กฎกระทรวง เรื่อง การขออนุญาตและการ ออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556

  • เวชภัณฑ์ยา
    พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้แบ่ง ประเภทยาเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
    > ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่ได้รับ การพิจารณาแล้วว่าปลอดภัย โอกาสเป็น อันตรายต่อสุขภาพมีน้อย ให้วางจำหน่ายได้ ทั่วไป
    > ยาอันตราย เป็นยาที่ต้องขายเฉพาะ ในร้านขายยาแผนปัจจุบันภายใต้การควบคุม ของเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
    > ยาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่จ่ายได้เมื่อ มีการนำใบสั่งยาซึ่งสั่งโดยผู้ประกอบวิชาชีพ แพทย์มาซื้อ ยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีความเป็น พิษภัยสูงหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อ สุขภาพได้ง่าย

  • ใบอนุญาตขายยา
    ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนขอรับใบ อนุญาตขายยาซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
    1) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน
    2) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน เฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือ ยาควบคุมพิเศษ
    3) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะ ยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์
    4) ใบอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน (ร้านขายยาแผนปัจจุบันส่วนใหญ่จะจด ทะเบียนใบอนุญาตขายยาประเภทที่ 1 หรือ 2)

  • บุคลากร(เภสัชกร)
    ร้านขายยาต้องมีเภสัชกรชั้นหนึ่งประจำ ร้าน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวงฯ เช่น ควบคุมการทำบัญชียา ให้ถูกต้อง (พร้อมลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย) ควบคุมการส่งรายงานการขายยาให้ถูกต้อง (พร้อมลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย) เขียนวิธีการ ใช้ยาและคำเตือนในการใช้ยาในฉลากยาหรือ บรรจุภัณฑ์ยา ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การใช้ยาเป็นต้น

  • ระบบการบริหารจัดการร้าน
    การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจะช่วย ให้เราสามารถแข่งขันกับร้านคู่แข่ง ได้ เราควร มีระบบคลังสินค้าและระบบบัญชีที่เหมาะสม กับขนาดธุรกิจ ระบบคลังสินค้าที่ดีจะช่วยให้ เรารู้ว่าเราจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าเมื่อใด และ ในปริมาณเท่าใด ส่วนระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้ เรารู้ว่าร้านได้กำไรหรือขาดทุนเท่าใด

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจทำเป็นสมุดราย งานหรือสมุดบัญชีด้วยมือ หรือใช้โปรแกรม สำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือเปิดให้ดาวน์- โหลดได้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ตัวอย่างของโปรแกรม ที่ได้รับนิยม ได้แก่ อีซี่ พีโอเอส(Easy POS) เอ็กซ์เพรส พีโอเอส(Express POS) เป็นต้น

เริ่มธุรกิจร้านขายยา

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจร้านขายยา เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบ ของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดย การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

การเตรียมเปิดร้านขายยา

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายยา เราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษีจากการเตรียม ธุรกิจร้านขายยาดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เริ่มขายยาได้เงินแล้วต้องทำอย่างไร

เมื่อเริ่มประกอบธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบ- การสามารถจำหน่ายยาได้ ก็จะต้องรู้เรื่องราว เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่ายครั้งแรก มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถาน ประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษี ที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออก จากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ