คลินิกภาษีร้านขายวัสดุก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อพีวีซี, สี และเคมีภัณฑ์, กระเบื้องปูพื้น-ผนัง, ฝ้าผนัง-เพดาน เป็นต้นลูกค้าหลักของร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง คือ ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งรายใหญ่และรายย่อยซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อเป็นประจำครั้งละมากๆ(ซื้อส่ง)

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้าง

  • ทำเลที่ตั้งและตัวร้าน
    ควรมีสถานที่กว้างขวางเพราะจะต้องมี ทั้งส่วนที่มีหลังคาสำหรับวัสดุประเภทสี ท่อ พีวีซี และส่วนเปิดโล่งสำหรับวัสดุพวกหิน ทราย และต้องมีพื้นที่จอดรถสำหรับส่งของ และลูกค้าด้วย ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างไม่ จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทำให้ช่วย ประหยัดเงินทุนและค่าใช้จ่าย (ค่าไฟฟ้า) ได้ แต่ควรจัดวางสินค้าแยกเป็นหมวดหมู่อย่าง เป็นระเบียบ และรักษาความสะอาดของร้าน ให้ดีด้วย

  • สินค้า
    สินค้าวัสดุก่อสร้างมียี่ห้อและรูปแบบ หลากหลาย เช่น สินค้าปูนซีเมนต์สามารถ แยกย่อยได้หลายประเภทตามความต้องการ ในการใช้งานที่แตกต่างกัน หากร้านของเรามี วัสดุก่อสร้างให้เลือกน้อย ลูกค้าก็อาจตัดสินใจ ไปเข้าร้านอื่นที่ใหญ่กว่า มีตัวเลือกมากกว่า แต่ถ้าต้องการทำร้านขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้อง ใช้เงินลงทุนสูงตามไปด้วย

  • เงินลงทุนเริ่มแรก
    ธุรกิจนี้ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกสูง ทั้ง จากต้นทุนค่าซื้อสินค้าที่มียี่ห้อและรูปแบบ เป็นจำนวนมาก ค่าเครื่องไม้เครื่องมือ และ ค่ารถส่งของ นอกจากนี้ในช่วงเริ่มต้นกิจการ เรามักต้องซื้อสินค้าเป็นเงินสด ทำให้เงินลงทุน จะจมลงไปในตอนแรก ในขณะที่ยังไม่แน่ใจ ว่ากิจการจะไปได้ด้วยดีหรือไม่ ดังนั้น เงินที่ใช้ ลงทุนควรเป็นเงินส่วนตัวของเจ้าของที่ไม่ได้ มีความจำเป็นต้องใช้ในเรื่องอื่น ๆ (หรือที่เรียก ว่า “เงินเย็น” นั่นเอง)

  • การบริการ
    ร้านขายวัสดุก่อสร้างควรมีบริการขนส่ง สินค้าให้ลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะแข่งขัน กับร้านอื่นได้

  • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับลูกค้า
    เนื่องจากกลุ่มผู้รับเหมาจะเป็นลูกค้า ประจำที่ซื้อสินค้าสม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้ประกอบ ควรมีความซื่อสัตย์และรักษาความสัมพันธ์ กับลูกค้าให้ดี

  • ความรู้เกี่ยวกับสินค้า
    เราควรมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง ประเภทต่างๆ พอสมควร เพื่อให้ลูกค้ามีความ มั่นใจในร้านมากขึ้น ถึงแม้ว่าลูกค้าหลักซึ่งเป็น ผู้รับเหมาก่อสร้างจะมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุ ก่อสร้างเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม

  • ระบบการบริหารจัดการร้าน
    ผู้ประกอบการควรมีระบบคลังสินค้าและ ระบบบัญชีที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ ระบบ คลังสินค้าที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าเราจำเป็นต้อง สั่งซื้อสินค้าเมื่อใด และในปริมาณเท่าใด ส่วน ระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าร้านได้กำไร หรือขาดทุนเท่าใด

ทั้งนี้ เราอาจจะทำเป็นสมุดรายงานหรือ สมุดบัญชีด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือเปิดให้ดาวน์โหลดได้ ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ตัวอย่างของโปรแกรมที่ได้ รับนิยม ได้แก่ อีซี่ พีโอเอส(Easy POS) เอ็กซ์เพรส พีโอเอส(Express POS) เป็นต้น

เมื่อเริ่มธุรกิจ

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มี เงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

การเตรียมเปิดร้าน

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายวัสดุ ก่อสร้าง เราต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษี ดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ ในการเปิดร้าน

> เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้
> ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละ ประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เริ่มจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง

เราก็ต้องเริ่มเรียนรู้เรื่องการเสียภาษี ด้วยเช่นกัน

เราสามารถจำหน่ายวัสดุก่อสร้างทั้งใน ประเทศและจำหน่ายเพื่อการส่งออกซึ่งมีราย ละเอียดเกี่ยวกับภาษี ดังนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราจะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อ กรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้าทุกครั้ง
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

    การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่าย ต่างประเทศ
    นอกจากที่เราจะเสียภาษีจากเงินรายได้ ที่จำหน่ายสินค้าภายในประเทศแล้ว หากเรา ต้องการจะจำหน่ายเพื่อการส่งออก เราก็ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขน ของขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้ เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออก ตามที่กฎหมายกำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ