คลินิกภาษีร้านขายโทรศัพท์และอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่

ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จะขายอุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเช่น ที่ชาร์จแบตเตอรี่, หูฟัง, เคส เป็นต้นรวมถึงบริการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้าน

  • ทำเล
    มักตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือ ศูนย์การค้าต่างๆ และมักจะอยู่รวมกันกับร้าน อื่นๆ ในโซนแยกต่างหาก ทำให้ลูกค้าเดินเข้า ร้านได้ง่าย แต่ก็ทำให้การแข่งขันค่อนข้าง รุนแรงเช่นกัน นอกจากนี้ธุรกิจนี้มักจะอยู่ใน รูปแบบของล็อคแบ่งเช่า เนื่องจากไม่จำเป็น ต้องใช้สถานที่มากนัก มีเพียงแค่ตู้โชว์สินค้า 2-3 ตู้ก็พอ

  • สินค้า
    เราสามารถซื้อสินค้าได้จากผู้ผลิตหรือ แหล่งค้าส่งอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อนำ มาจำหน่ายต่อได้ แต่อย่างไรก็ตาม ควรระมัด ระวังว่าสินค้าต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่อง หมายการค้า เนื่องจากอาจจะถูกจับได้

ก่อนจะเริ่มเปิดร้าน
เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจร้านจำหน่าย ขายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์โทรศัพท์ เคลื่อนที่ เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

การเตรียมธุรกิจร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่

ในขั้นตอนการเตรียมเปิดร้าน เราต้อง เกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลัก ฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษี เงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เ ริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การขายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่

เราสามารถจำหน่ายในประเทศและ จำหน่ายเพื่อการส่งออกซึ่งมีรายละเอียด เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    เราต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเ วลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่ายต่างประเทศ

นอกเหนือจากภาษีเงินได้ เช่นการ จำหน่ายภายในประเทศแล้ว หากเราต้องการ จำหน่ายสินค้าประเภทนี้เพื่อการส่งออก เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และ ยื่นใบขนของขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากร ขาออกตามที่กฏหมายกำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ