คลินิกภาษีร้านขายดอกไม้

ร้านขายดอกไม้” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากดอกไม้สามารถใช้ได้หลายโอกาส เช่น รับปริญญา, แต่งงาน, เปิดร้านใหม่, วันครบรอบแต่งงาน, งานศพ หรือการแสดงความห่วงใย (เช่นการเยี่ยมที่โรงพยาบาล) ธุรกิจร้านขายดอกไม้ส่วนใหญ่จึงเป็นลักษณะออกแบบและจัดดอกไม้ในรูปแบบต่าง ๆเช่น จัดช่อดอกไม้, กระเช้า, จัดแจกัน, พวงหรีด หรือตกแต่งสถานที่ในงานต่างๆ ด้วย การทำธุรกิจร้านจัดดอกไม้ให้ประสบความสำเร็จต้องมีความชำนาญมีศิลปะในการสร้างสรรค์งานดอกไม้ รวมทั้งมีความตั้งใจในการทำธุรกิจนี้อย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูง หากเราไม่มีความรู้ในการจัดดอกไม้ก็ทำให้เป็นจุดด้อยที่จะแข่งขันกับร้านอื่นไม่ได้ จึงควรไปเข้าอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ให้ครบถ้วน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านขายดอกไม้

  • ทำเลที่ตั้ง
    ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน เช่น ศูนย์- การค้า อาคารสำนักงาน หรือวัดวาอาราม เป็นต้น

  • วัตถุดิบ
    (ดอกไม้) และวัสดุในการจัดดอกไม้ สามารถซื้อจากร้านขายส่ง เช่น บริเวณปากคลองตลาดในกรุงเทพฯ หรือซื้อจาก สวนผู้ปลูกดอกไม้เองโดยตรง ซึ่งราคาจะ แตกต่างไปตามประเภทหรือชนิดของดอกไม้ ใบตอง หรือใบไม้อื่นที่ใช้ประดับ สำหรับวัสดุ ในการจัดดอกไม้ เช่น ลวด, กรรไกร, โฟม, กระเช้า ก็สามารถซื้อได้จากร้านขายส่ง เช่นกัน

  • การบริการส่งสินค้า
    ถือเป็นบริการที่สำคัญของธุรกิจนี้ เราควรมีบริการส่งสินค้าให้กับลูกค้า โดยอาจ ใช้แรงงานของคนในร้านหรือใช้บริการของ คนขับรถจักรยานยนต์สาธารณะในบริเวณ ใกล้เคียงกับร้านก็ได้

เริ่มธุรกิจร้านขายดอกไม้กันดีกว่า

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษี ได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

การเตรียมเปิดร้านขายดอกไม้

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขาย ดอกไม้ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละ ประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มขายดอกไม้ และมีรายได้เราต้องเสียภาษีกันอย่างไร

หลังจากที่เราซื้อดอกไม้มาแล้ว เรา สามารถจำหน่ายในประเทศและจำหน่ายเพื่อ การส่งออกได้ ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ภาษี ดังนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    เราต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเ วลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

    การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่าย ต่างประเทศ
    นอกเหนือจากภาษีเงินได้ เช่นการ จำหน่ายภายในประเทศแล้ว หากเราต้องการ จำหน่ายสินค้าประเภทนี้เพื่อการส่งออก เรา จะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และ ยื่นใบขนของขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากร ขาออกตามที่กฎหมายกำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ