คลินิกภาษีร้านขายอะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์/รถจักรยาน

ร้านขายอะไหล่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีจากการเพิ่มจำนวนของรถยนต์และจักรยานยนต์ และจักรยานเนื่องจากอุปกรณ์ภายในรถย่อมเสื่อมสภาพไปตามการใช้งานด้วยเช่นกัน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้าน

  • ทำเลที่ตั้ง
    ควรอยู่ริมถนน เพื่อให้ผู้คนที่ขับรถผ่าน ไปมาสังเกตเห็นได้ง่าย

  • เงินลงทุนเริ่มแรก
    ธุรกิจนี้ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกสูงมาก เนื่องจากเราต้องซื้อสินค้าอะไหล่เข้ามาเก็บไว้ เพื่อรอจำหน่ายให้กับลูกค้า และในช่วงเริ่มต้น กิจการมักจะต้องซื้อสินค้าส่วนใหญ่เป็นเงินสด ในขณะที่ยังไม่แน่ใจว่ากิจการจะไปได้ด้วยดี หรือไม่ ดังนั้นเงินที่ใช้ลงทุนควรเป็นเงินส่วน ตัวของเจ้าของที่ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ใน เรื่องอื่น ๆ (หรือที่เรียกว่า “เงินเย็น” นั่นเอง)

  • สินค้า
    เป็นสิ่งสำคัญมากในธุรกิจประเภทนี้ เนื่องจากอะไหล่รถมีหลากหลายประเภทตาม ยี่ห้อรถ ประเภทรถ และรุ่นของรถ หากร้าน ของเรามีอะไหล่ให้เลือกน้อย ลูกค้าก็อาจ ตัดสินใจไปเข้าร้านอื่นที่ใหญ่กว่า แต่ถ้า ต้องการทำร้านขายอะไหล่ขนาดใหญ่ ก็จำเป็น ต้องใช้เงินลงทุนสูงตามไปด้วย

    ดังนั้นในระยะแรก อาจจะเน้นแค่ ขายสินค้าอะไหล่ขั้นพื้นฐาน (เช่น แบตเตอรี่ น้ำมันเครื่อง) เพราะสามารถขายออกได้ง่าย เพื่อให้ได้เงินทุนกลับคืนมาไว้ แล้วค่อยๆ เพิ่ม สินค้าอะไหล่ให้หลากหลายและครอบคลุม ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

  • ความรู้เกี่ยวกับอะไหล่
    เจ้าของกิจการควรศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับรถยนต์ตลอดจนอุปกรณ์อะไหล่ ที่ใช้กับรถรุ่นต่างๆ เนื่องจากอะไหล่มีมากมาย หลายชนิด และชื่อรุ่นของรถก็มีหลากหลาย เช่นกัน เมื่อมีลูกค้าสอบถามผลิตภัณฑ์อะไหล่ เจ้าของก็ควรสามารถให้คำแนะนำที่เป็น ประโยชน์กับลูกค้าได้ เพราะลูกค้าบางคน ก็ไม่มีความรู้ในเรื่องเครื่องยนต์เลย

การเริ่มธุรกิจเปิดร้านขายอะไหล่รถยนต์จักรยานยนต์ / จักรยาน

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

เตรียมเปิดร้าน

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจขายอะไหล่ รถยนต์ จักรยานยนต์ หรือจักรยาน เราจะต้อง เกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตาม ประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การขายอะไหล่รถยนต์ / จักรยานยนต์ / จักรยาน

เราสามารถจำหน่ายในประเทศ และ จำหน่ายเพื่อการส่งออก โดยมีรายละเอียด เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    เราต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเ วลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่ายต่างประเทศ

นอกเหนือจากภาษีเงินได้ เช่นการ จำหน่ายภายในประเทศแล้ว หากเราต้องการ จำหน่ายสินค้าประเภทนี้เพื่อการส่งออก เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และ ยื่นใบขนของขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากร ขาออกตามที่กฎหมายกำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่าและ ได้รับการชดเชยภาษีกรณีที่ส่งออกสินค้า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ