คลินิกภาษีร้านเบเกอรี่

ขนมเบเกอรี่” เป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทุกวัย ถ้าผู้ที่สนใจ ในธุรกิจร้านเบเกอรี่แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำขนม ก็สามารถที่จะเปิด ร้านได้โดยการไปสั่งซื้อขนมมาจากร้านเบเกอรี่ต่างๆ ที่เป็นที่นิยม โดยคำนึงถึงรสชาติและ ความสดใหม่เป็นสำคัญ นอกจากนี้อาจเน้นไปที่เบเกอรี่ที่มีไขมันต่ำหรือแคลอรี่น้อยเพื่อ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการทำขนม ด้วยตัวเองสามารถเปิดร้านขายขนมในสูตรของตนเองได้โดยต้องลงทุนอุปกรณ์และเครื่องมือ สำหรับทำขนมต่างๆเช่น เตาอบ, เครื่องตีแป้งหรือไข่, ถาด, แม่พิมพ์ ฯลฯ รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ต่างๆ เช่น แป้ง, น้ำตาล, นม, ไข่ ฯลฯ ซึ่งบางครั้งต้นทุน ในการทำขนมด้วยตนเองอาจจะสูงกว่าไปสั่งซื้อมาขายด้วยซ้ำ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านเบเกอรี่แสนอร่อย

  • ทำเล
    การตั้งในที่ใกล้ชุมชนจะเปิดโอกาสใน การขายมากขึ้น เช่น สถานที่ขนส่งต่างๆ หรือ สถานที่ทำงาน สถาบันการศึกษา หรือสถานที่ ท่องเที่ยว เป็นต้น

  • ขนม
    ควรให้ความสำคัญกับรสชาติ คุณภาพที่เหมาะสม และความหลากหลายของเบเกอรี่

  • การให้บริการอื่น
    เราอาจจัดให้มีบริการอื่นๆ เช่น ฟรี อินเทอร์เน็ต ขายเครื่องดื่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กาแฟ ชา น้ำปั่น หรือมีมุมให้นั่งอ่านหนังสือ เป็นต้น

เริ่มต้นเปิดร้านเบเกอรี่

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูป แบบของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

เตรียมตัวเปิดร้าน

ในขั้นตอนการเตรียมเปิดร้านเบเกอรี่ เราอาจเกี่ยวข้องกับภาษี ดังต่อไปนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เริ่มขายเบเกอรี่

เมื่อเริ่มเปิดร้านเบเกอรี่ มีการขายและ เริ่มมีรายได้แล้ว ก็ต้องมีการเสียภาษีเกิดขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเ วลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ