คลินิกภาษีผ้าฝ้าย

"ผ้าฝ้าย" สินค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ทรงอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะเป็นธุรกิจสร้างรายได้ติดอันดับต้นๆ ของประเทศ จากข้อมูลในปี 2555 การผลิตผ้าฝ้ายของประเทศไทยมีการผลิตผ้าพิมพ์ฝ้ายอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่าการส่งออกสูงถึง 1,344 ล้านบาท
(ข้อมูลจากด่านศุลกากรแม่สอด)

ไม่เพียงได้รักษาคุณค่าผ้าฝ้ายไทย แต่ยังสร้างรายได้ให้เราอย่างงามอีกด้วย ซึ่งเมื่อมีรายได้ดี การเสียภาษีก็ถือเป็นหน้าที่สำคัญ ที่ทุกท่านไม่ควรมองผ่าน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless จัดทำรายงานภาษี ออกใบกำกับภาษี ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ยื่นแบบฯ และเสียภาษี จัดทำรายงานภาษี ขั้นตอนพิธีการส่งออก
จัดทำรายงานภาษี   ยื่นแบบฯ และเสียภาษี จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี     ยื่นแบบฯ และเสียภาษี

นอกจากมูลค่าการส่งออกที่เป็นเม็ดเงินมหาศาลแล้ว ธุรกิจผ้าฝ้ายมีการจ้างงานสูง ก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ประชากร ทั้งที่เป็นแรงงานมีฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ อีกทั้งยังมีความเกี่ยวโยงไปในธุรกิจอื่น นับตั้งแต่วัตถุดิบฝ้าย ไหม ไปจนถึงการทอผ้าผืน และการตัดเย็บเสื้อผ้าส้าเร็จรูป ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างงานสร้างรายได้กระจายอยู่ตามโรงงานกว่า 4,500 แห่งทั่วประเทศ

เป็น "ผู้นำเข้า" ผ้าฝ้าย

ผ้าฝ้ายถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถต่อยอดไปสู่งานหัตถกรรมต่างๆ ได้มากมาย และเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการความหลากหลาย การนำเข้าผ้าฝ้ายจึงเป็นอีกทางเลือกที่จะคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้เกิดความแปลกใหม่ทางการตลาดช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น ผ้าลวดลายแปลกใหม่สไตล์ผ้าฝ้ายญี่ปุ่นอันมีเสน่ห์ เป็นต้น

ทักทอความรู้

ก่อนนำเข้า-ก่อนมีรายได้...ต้องเข้าใจภาษี

  • ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมใดๆ ก็ตามซึ่งขายสินค้าที่ผลิตได้คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใด เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้ มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป...ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • ผู้ที่ "มีรายได้" ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรทุกปี
  • ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้า "เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี" ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

และก่อนจะทำการนำเข้าฝ้าย ผ้าฝ้าย หรือวัตถุดิบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผ้าฝ้าย คุณจะต้องทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก (ลงทะเบียนครั้งแรกครั้งเดียว) ในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยติดต่อขอลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ ตัวแทนออกของ (Customs Broker) ดำเนินการแทนได้ที่ ฝ่ายทะเบียน ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร กรมศุลกากร หรือ... ฝ่ายบริหารงานทั่วไปของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลากร

ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบแบบคำขอลงทะเบียน และเอกสารหลักฐานประกอบ จากนั้นหัวหน้าฝ่ายทะเบียนหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปจะทำการอนุมัติเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูลในระบบทะเบียนต่อไป และเมื่อมีการนำเข้าสินค้าคุณจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ด้วย

เรื่องนี้ต้องขยาย

เมื่อนำเข้าสินค้าต้องมีการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า โดยเลือกนำเข้าผ้าฝ้ายจากช่องทางใดช่องทางหนึ่ง คือ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก และทางไปรษณีย์ ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้บริการขององค์กรต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย คลังสินค้าการบินไทย คลังสินค้าบางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส (BFS) ท่าเรือแหลมฉบัง แต่ไม่ว่าจะ "นำเข้า" แล้ว "ขายไป" หรือจะนำมาเพิ่มมูลค่าอย่างอื่นก็ล้วนต้องเสียภาษี เพราะเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ดีนั่นเอง

รายการผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ไม่ได้ฟอก 5209.19.00 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม
ฟอกแล้ว 5209.29.00 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม
ย้อมสี 5209.39.00 5% หรือ 3.75 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

เป็น "ผู้ผลิต" ผ้าฝ้าย

การผลิตผ้าฝ้าย คือ การทอผ้าจากฝ้ายโดยการฟอกสีหรือใช้สีธรรมชาติ ลักษณะเป็นผ้าสีพื้นหรือผ้าลายพิมพ์

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักเริ่มจากความเชี่ยวชาญในการผลิตใช้เองในครัวเรือน แล้วต่อยอดการผลิตไปในเชิงพาณิชย์ที่รายได้งาม เพราะผ้าชนิดนี้เป็นที่นิยมมาก ด้วยคุณลักษณะของใยฝ้ายซึ่งเป็นเส้นเล็กๆ มีช่องระหว่างเส้นใย ทำให้ผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย ระบายความร้อนได้ดี เมื่อเปียกจะตากแห้งได้เร็ว จึงเหมาะกับสภาพอากาศในฤดูร้อน

ในตลาดปัจจุบันจึงมีผู้ผลิตทั้งรายย่อย รายใหญ่ ซึ่งต้องดำเนินการ จดทะเบียนพาณิชย์ และ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ตามขนาดธุรกิจของตนก่อนดำเนินการผลิต และหากคุณคาดการณ์ว่าธุรกิจผ้าฝ้ายนี้จะทำรายได้เป็นกอบเป็นกำเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณก็ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วย หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการผลิตผ้าฝ้ายได้ และเมื่อทำการผลิตแล้วคุณก็ต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

"ส่งออก" ผ้าฝ้าย...ให้ก้าวไกลในตลาดโลก

- หากคุณเป็นผู้ประกอบการผลิต และ/หรือนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อทำธุรกิจอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ผ่าน ขั้นตอนทางภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร และ ผ่านพิธีการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออก กับกรมศุลกากรมาแล้ว ดังนั้น... ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย

- แต่หากคุณไม่เคยนำเข้าสินค้าใดๆ ไม่ได้เป็นผู้ผลิต คุณต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร แล ะลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก (แบบ Paperless) กับกรมศุลกากรให้เรียบร้อยก่อน

- ส่วนผู้ผลิตที่ต้องการส่งออกสินค้า... เมื่อคุณผลิตสินค้าเสร็จต้องออกแบบดีไซน์หีบห่อให้สวยงาม โชว์เส้นสายของผ้าฝ้ายให้เห็นลวดลายความงาม แล้วก็มาถึงขั้นตอนที่จะต้องการขยับขยายธุรกิจ นั่นก็คือ การส่งออก

ซึ่งก่อนทำการส่งออกจะต้องผ่าน ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออกสินค้า ของกรมศุลกากรตาม คู่มือพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ (e–Export) พร้อม จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ทั้งนี้ เพื่อให้ธุรกิจและการขนย้ายสินค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่น

และในยุค AEC นอกจาก การท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ คลังสินค้าการบินไทย คลังสินค้าบางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส (BFS) ยังมี ขนส่งทางบกตามด่านที่ศุลกากรกำหนด เช่น ด่านศุลกากรนครพนม เพิ่มอีกทางเลือกด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

วางจำหน่าย...มีรายได้จากกิจการ

เมื่อ "ผ้าฝ้าย" ของคุณวางจำหน่ายในตลาด หรือมีการส่งออกต่างประเทศ คุณก็จะมีรายได้จากธุรกิจ ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ดังนี้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายผ้าฝ้ายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตผ้าฝ้าย ไม่ว่าจะการปลูก การทอ การขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อหรือนำเข้าเมล็ดพันธุ์ หรือฝ้าย หรือผ้าฝ้าย รวมทั้งการซื้อวัตถุดิบอื่น เช่น สีย้อม น้ำยาฟอก และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผ้าฝ้ายของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือ คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ