คลินิกภาษีร้านค้าสัตว์เลี้ยง

สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, แมว, ปลา, นก, หนู เป็นต้น แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่สุนัข เพราะนอกจาก จะเลี้ยงเป็นเพื่อนแล้วยังสามารถช่วยเฝ้าบ้านได้อีกด้วย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยสำคัญของร้านขายสัตว์เลี้ยง

  • พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ บางครั้งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หรือซื้อจากฟาร์มในเมืองไทย เพื่อให้ได้ พ่อพันธุ์/แม่พันธุ์ที่ดี

  • การดูแลสัตว์เลี้ยง เราอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์เลี้ยง ค่าอาหาร ค่ารักษา (ในกรณีที่สัตว์ เจ็บป่วย) ด้วย

  • ธุรกิจต่อยอด เราสามารถต่อยอดออกไปใน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง เช่น จำหน่าย อาหารสัตว์, เสื้อผ้า, ของใช้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง หรืออาจเปิดศูนย์ฝึกสัตว์เลี้ยง ศูนย์ออก- กำลังกายให้สัตว์ หรือรับเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

การเริ่มต้นเปิดร้านขายสัตว์เลี้ยง

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจร้านขายสัตว์เลี้ยง เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบ ของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดย การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย แต่หากต้องมีการเคลื่อนย้ายสัตว์ทั้งใน ประเทศเอง หรือนำเข้าจากต่างประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศจำเป็นต้อง ขออนุญาตจากกรมปศุสัตว์ด้วย

การเตรียมเปิดร้าน

ในการเตรียมเปิดร้านขายสัตว์เลี้ยง เราต้องรู้เรื่องของภาษีที่เราต้องชำระตาม หน้าที่ ดังต่อไปนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ ในการประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มขายสัตว์เลี้ยงแล์วต้องทำอย่างไรต่อ

เมื่อเริ่มเปิดร้านแล้ว เราสามารถจำหน่าย สัตว์เลี้ยงได้ ก็ย่อมมีรายละเอียดเกี่ยวกับภาษี ดังนี้

การจำหน่าย
การจำหน่ายของธุรกิจร้านค้าสัตว์เลี้ยง จำเป็นต้องแยกสินค้าและบริการออกเป็นกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้

การจำหน่ายสัตว์เลี้ยงและอาหารสัตว์เลี้ยง

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    เราต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่ > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับ ตั้งแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    การจำหน่ายสัตว์เลี้ยงและอาหาร สัตว์เลี้ยงได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เราจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้

    การจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
    มีรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่นเดียว กับการจำหน่ายสัตว์เลี้ยงและอาหารสัตว์เลี้ยง แต่การจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงต้อง เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบ กำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อด้วย

    การให้บริการอื่น
    การให้บริการอื่นของกิจการขาย สัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ออกกำลังกาย รับเลี้ยงสัตว์ ประกันชีวิต และทำศพ ต่างก็มี รายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเช่นเดียวกับการ จำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ