คลินิกภาษีร้านขายเครื่องประดับ

เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่องประดับมากขึ้นเช่นกัน โดยเครื่องประดับจะมีตั้งแต่ แหวน, สร้อย, กำไล, ต่างหู, เข็มกลัด, ที่ติดผม ฯลฯ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ไม่กี่บาทไปจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้และการออกแบบ และที่กำลังได้รับความนิยมคือ สร้อยหินสีประเภทต่างๆ เช่น ไหมทอง, ไหมเงิน, ทับทิม เป็นต้น

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านขายเครื่องประดับ

วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องประดับ
วัสดุที่ใช้ทำเครื่องประดับมีมากมาย หลายประเภท เช่น เพชร, พลอย, ไข่มุก, หินสี, คริสตัล, เงิน, ทอง เป็นต้น โดยเราต้อง มีความรู้ในวัสดุนั้นๆ โดยเฉพาะ อย่างเพชร และพลอยต่างๆ สามารถที่จะเข้ารับการอบรม ได้หลายแห่ง เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนา อัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นต้น

การออกแบบและการผลิต
เราอาจจะออกแบบให้เครื่องประดับ มีความเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่น โดยอาจเป็นลักษณะว่าจ้างช่างทำเป็นแต่ละงานไป หรือ จ้างโรงงานผลิตเครื่องประดับที่รับทำงานตาม คำสั่งซื้อ แต่ถ้าเราต้องการที่จะเปิดโรงงาน ผลิตเอง ควรพิจารณาเรื่องเงินทุนในเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงเงินเดือนของช่างฝีมือ ด้วย

ต้นทุนในการจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์
เราสามารถสร้างเว็บไซต์โฆษณา เครื่องประดับต่างๆ ของเราได้ หรือเข้าร่วม งานแสดงสินค้าเครื่องประดับ เป็นต้น

เริ่มต้นธุรกิจร้านขายเครื่องประดับ

เริ่มต้นธุรกิจร้านขายเครื่องประดับ เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบ ของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

การเตรียมเปิดร้านขายเครื่องประดับ

เราจะต้องเกี่ยวข้องกับ “ภาษี” ดังต่อ ไปนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ เราจะถูกเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยผู้ ขายออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราจะต้องจัดเก็บ ไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้ รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละ ประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มขายเครื่องประดับได้ เริ่มมีรายได้ ก็ต้องไม่ลืมเรื่องการเสียภาษีเช่นกัน

เราสามารถจำหน่ายเครื่องประดับ ทั้งในประเทศและจำหน่ายเพื่อการส่งออก ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับภาษี ดังนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราจะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อ กรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษี ให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้าทุกครั้ง
    > ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดทำรายงาน สินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่น แบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

    การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่าย ต่างประเทศ
    นอกจากที่เราจะเสียภาษีจากเงินรายได้ ที่จำหน่ายสินค้าภายในประเทศแล้ว หากเรา ต้องการจะจำหน่ายเพื่อการส่งออก เราก็ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขน ของขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้ เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออก ตามที่กฎหมายกำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ