คลินิกภาษีร้านค้าส่งเสื้อผ้า

ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่นก็คือการขายเสื้อผ้า ทีละจำนวนมาก โดยขายให้กับผู้อื่น ให้เค้านำไปขายต่ออีกทีหนึ่งนั่นเอง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยเริ่มต้นธุรกิจ

  • ทำเลที่ตั้ง
    ส่วนใหญ่มักจะตั้งรวมกับร้านอื่นๆ ใน แหล่งค้าขายเสื้อผ้า เช่น โบ๊เบ๊ ประตูน้ำ หรือ สำเพ็ง

  • การกำหนดราคา
    ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะลูกค้าย่อม ต้องการซื้อเสื้อผ้าที่ราคาถูก ซึ่งร้านค้าก็มักจะ ลดราคาสินค้าลงเมื่อลูกค้าซื้อจำนวนที่มากขึ้น กระตุ้นให้เกิดยอดซื้อในจำนวนมาก เพื่อที่จะ ชดเชยอัตรากำไรต่อหน่วยที่ต่ำลง และหาก เราเป็นคนที่ทำธุรกิจนี้ เราสามารถซื้อเสื้อผ้าจากโรงงานมาขายได้เลยโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้า คนกลางเพื่อให้ได้ต้นทุนเสื้อผ้าที่ถูกลงเช่นกัน

  • สินค้า
    หากสินค้าของเรามีรูปแบบหรือดีไซน์ ที่แตกต่างจากสินค้าอื่น ก็จะสามารถกำหนด ราคาขายส่งได้สูงขึ้น

อยากเริ่มขาย ทำอย่างไรกันดี

เมื่อเราต้องการเริ่มกิจการร้านค้าส่ง เสื้อผ้า เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการ และสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่มีเงิน- ได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

ในขั้นตอนการเตรียมกิจการร้านค้าส่งเสื้อผ้าเราก็ต้องศึกษาเรื่องภาษี ด้วยเช่นกัน

เมื่อเราซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ในการประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละ ประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มขายก็ได้เงิน

หลังจากที่เราซื้อเสื้อผ้ามาแล้ว เรา สามารถนำมาจำหน่ายทั้งภายในประเทศและ จำหน่ายเพื่อการส่งออกซึ่งจะมีรายละเอียด เกี่ยวกับภาษีในการจำหน่าย ดังต่อไปนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคค
    เราจะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อ กรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้ แก่ผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้าทุกครั้ง
    > ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดทำรายงาน สินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่น แบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

    การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่าย ต่างประเทศ
    นอกจากที่เราจะเสียภาษีจากเงินรายได้ ที่จำหน่ายสินค้าภายในประเทศแล้ว หากเรา ต้องการจะจำหน่ายเพื่อการส่งออก เราก็ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขน- ของขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้ เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออก ตามที่กฎหมายกำหนด

สิทธิประโยชน์น่ารู้ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ