คลินิกภาษีร้านอาหาร

ธุรกิจร้านอาหาร” มีอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ จำเป็นต้องบริโภคทุกวัน ประเภทของอาหารก็มีหลากหลาย ซึ่งเราควรเลือกอาหาร ที่ถนัด, มีทักษะ หรือสนใจ ในการประกอบอาหาร เช่น อาหารไทย, อาหารอีสาน, อาหารญี่ปุ่น, อาหารจีน, อาหารอิตาเลี่ยน ฯลฯ หรืออาจจะเป็นธุรกิจ ขนาดเล็กที่ขายอาหารแค่เฉพาะอย่าง เช่นขายก๋วยเตี๋ยว, ขายข้าวขาหมู, ขายอาหารตามสั่ง, ขายข้าวราดแกง เป็นต้น

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ซึ่งรูปแบบของธุรกิจร้านอาหารก็มีอยู่หลากหลาย ตั้งแต่ ขนาดเล็ก (เช่น รถเข็นหรือ แผงลอยขายอาหาร ร้านอาหารตามอาคารพาณิชย์) ขนาดกลาง (เช่น ห้องอาหาร สวนอาหาร) ไปจนถึงขนาดใหญ่ (เช่น ภัตตาคาร ร้านอาหารที่มีสาขาต่าง ๆ) โดยหากสนใจเราอาจจะเริ่ม จากธุรกิจขนาดเล็กก่อน เพราะใช้เงินลงทุนไม่สูงและมีความเสี่ยงต่ำ แถมยังสามารถขยับขยาย เพิ่มเติมได้ในอนาคต

ถ้าเราต้องการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เช่น สุรา เบียร์) ในร้านอาหารด้วย เราสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ “ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์”

หรือถ้าสนใจจะทำธุรกิจร้านอาหารแต่ไม่มีความรู้หรือความชำนาญในการทำอาหาร มากนัก เราก็สามารถทำธุรกิจประเภทนี้ได้เช่นกันโดยการลงทุนแบบธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ “ธุรกิจแฟรนไชส์” เช่นกัน

  • รสชาติและคุณภาพของอาหาร
    ต้องอร่อย และมีคุณภาพเหมาะสม กับราคา

  • ความสะอาด
    นอกจากอาหารควรจะมีรสชาติดีแล้ว ยังต้องสะอาดและถูกสุขอนามัยด้วย ถึงจะ สามารถประกอบธุรกิจได้ในระยะยาวผู้ประ- กอบอาหาร (พ่อครัว/แม่ครัว) ควรสวมหมวก เพื่อป้องกันเส้นผมร่วงหล่น และควรสวมผ้า ปิดปากเพื่อป้องกันการไอหรือจามระหว่าง ทำอาหาร รวมถึงอุปกรณ์ทุกชิ้นควรสะอาด มีตู้หรือผ้าคลุมวัตถุดิบหรืออาหารเพื่อป้องกัน ฝุ่นหรือแมลง

  • ทำเลที่ตั้ง
    ควรอยู่ในแหล่งชุมชน มีผู้คนผ่านไปมา จำนวนมาก นอกจากนี้เราไม่ควรเลือกขาย อาหารประเภทเดียวกับที่มีผู้อื่นขายอยู่แล้ว ในบริเวณใกล้เคียงกัน เพราะผู้บริโภคมักยึด ติดกับร้านประจำ

  • ที่จอดรถ
    ควรมีที่จอดรถไว้บริการ เพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกให้ลูกค้า

  •  ราคา
    ควรมีความเหมาะสมกับคุณภาพของ วัตถุดิบและอาหาร นั่นคือ ไม่ได้หมายความว่า ราคาอาหารควรจะต้องถูกเสมอไป แต่ผู้บริโภค ยินดีจ่ายเงินที่รู้สึกว่าคุ้มค่ากับคุณภาพของ อาหาร ซึ่งความคุ้มค่าจะแตกต่างกันในแต่ละ คน และในแต่ละกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้นเราควร พิจารณากำหนดราคาให้สอดคล้องกับกลุ่ม เป้าหมายด้วย

    นอกจากนี้ เราอาจกำหนดราคาขายแบบ บุฟเฟ่ต์ เพราะจุดเด่นของบุฟเฟ่ต์ คือสามารถ ดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นได้ดี ถึงแม้ว่าลูกค้าจะสามารถทานอาหารภายในร้าน ได้อย่างไม่จำกัด จนอาจทำให้กำไรต่อลูกค้า 1 รายค่อนข้างต่ำ แต่ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ก็สามารถทำกำไรโดยรวมให้กับผู้ประกอบการ ได้เป็นอย่างดีจากจำนวนลูกค้าที่มาก นอกจากนี้ ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์มักเป็นแบบที่ให้ลูกค้าบริการ ตัวเอง คือ ตักอาหารเอง เพื่อช่วยลดต้นทุน ค่าแรงพนักงานของร้านอาหารได้

เริ่มเปิดร้านความอร่อย

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจร้านอาหาร เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบ ของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

ช่วงเตรียมเปิดร้าน

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านอาหาร เราอาจเกี่ยวข้องกับภาษีจากการเตรียม ธุรกิจร้านอาหารดังนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ เราจะถูกเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยผู้ ขายออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราจะต้องจัดเก็บ ไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้ รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เรามีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เริ่มเปิดร้านขายอาหาร

เมื่อเริ่มประกอบธุรกิจแล้ว เราสามารถ จำหน่ายอาหารได้ ก็จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ภาษี ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    เราต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2

  •  ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรม- สรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือ ทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขาย และยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ