ในปัจจุบันธุรกิจร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้รับความนิยม อย่างมากตามกระแสของคนรุ่นใหม่ที่หันมาดูแลสุขภาพ มากขึ้นดังนั้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักจึงได้แก่ นักศึกษา หรือคนทำงานในวัยหนุ่มสาว และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่นิยม จำหน่ายก็มีหลากหลายให้เลือก เช่น น้ำผลไม้ปั่น น้ำสมุนไพร น้ำผักผลไม้แบบแยกกาก เป็นต้น
ทำเลที่ตั้ง
เราไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากนัก และ ทำเลควรใกล้แหล่งสถานศึกษาหรืออาคาร สำนักงานตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ราคา
กำไรของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจะ ค่อนข้างสูง เนื่องจากวัตถุดิบหลัก (ผัก ผลไม้) มีต้นทุนต่ำ แต่สามารถตั้งราคาเครื่องดื่มได้สูง หากเราสามารถแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึง คุณประโยชน์ของส่วนประกอบในเครื่องดื่มได้
เมื่อต้องการเริ่มต้นเปิดธุรกิจร้านเครื่อง- ดื่มเพื่อสุขภาพ เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจ ได้ตามรูปแบบของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ ระบบภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสีย ภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มี เงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย
ในขั้นตอนการเตรียมเปิดร้านเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพ เราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษีดังนี้
การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
> เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ เราจะถูกเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยผู้ ขายออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราจะต้องจัดเก็บ ไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้ รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ ทั้งนี้เฉพาะ กรณีการซื้อผักและผลไม้ได้รับการยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่ม
> ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย
ภาษีศุลกากร
หากมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราต้องยื่น ใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
> เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
> ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า
การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ
การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
> ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
> ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
> ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับ ตั้งแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
> ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
> เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้า
> เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า
มะม่วงเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่รสชาติถูกปาก ประโยชน์หลากหลายถูกใจ มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและแป...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
ร้านเสริมสวย” เป็นการให้บริการเสริมความงามให้แก่ผู้หญิงและผู้ชาย ประเภทของ บริการ...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดงเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น และว...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
เสียภาษี "เรื่องหมู...หมู"
เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 การยังชี...
"ดอกไม้ประดิษฐ์" งานฝีมือจากสมองและสองมือของคนไทย กลายเป็นอา...
ธุรกิจ “รถรับจ้าง” คือ ธุรกิจที่ให้บริการรถเช่าเหมาคัน (มักเป็นรถตู้หรือรถก...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
"อัญมณี" ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าด้วยคุณสมบัติหลัก 3 ประ...
"ปลากะตัก" สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนวชายฝั่งอันดามัน...
“น้ำพริก” อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้ง...
ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
“สปา” เป็นธุรกิจบริการประเภทส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิย...
เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ ...