คลินิกภาษีสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดง

ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดงเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น และวัยทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการเที่ยวสังสรรค์ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านจำนวนและขนาดของธุรกิจ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการประกอบธุรกิจ

• รสชาติของอาหาร
แม้ว่าสถานบันเทิงจะเน้นที่การแสดง สำหรับลูกค้า แต่ก็ควรให้ความใส่ใจกับรสชาติ ของอาหารด้วยเช่นกัน

• ราคา
ส่วนใหญ่สถานบันเทิงมักกำหนดราคา อาหารและเครื่องดื่มไว้สูงกว่าปกติ เนื่องจาก ต้องบวกต้นทุนค่าบริการหรือค่าการแสดง ต่างๆ เข้าไปในราคาอาหารและเครื่องดื่มด้วย

• กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เราจะต้องขออนุญาตตั้งสถานบริการ ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น กฎหมายอาคารสถานที่ กฎหมายควบคุม สถานที่สะสมอาหาร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายควบคุมพื้นที่จัดตั้งสถานบริการ เป็นต้น

การเริ่มเปิดธุรกิจสถานบันเทิง

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

นอกจากนี้ในการเริ่มธุรกิจนี้ เราต้อง ขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากกรมสรรพสามิตและขออนุญาตเปิด สถานบริการอีกด้วย

การเตรียมตัวเปิดธุรกิจสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดง

เราอาจจะเกี่ยวข้องกับภาษีดังนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ เราจะถูกเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยผู้ ขายออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราจะต้องจัดเก็บ ไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้ รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เรามีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มประกอบธุรกิจและเริ่มมีรายได้จากการจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม

เมื่อเริ่มประกอบธุรกิจและเริ่มมีรายได้ แล้ว ก็ย่อมมีรายละเอียดเกี่ยวกับภาษี ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรม สรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮล์ เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและ ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งนี้หากเรามี รายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เราต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ