คลินิกภาษีสถานบันเทิงที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ)

ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ธุรกิจที่ให้บริการร้องเพลงคาราโอเกะเพียงอย่างเดียว (เช่น ร้านคาราโอเกะตามห้างสรรพสินค้า) และธุรกิจร้านอาหาร ที่มีเครื่องร้องเพลงคาราโอเกะไว้บริการลูกค้าขณะรับประทานอาหารไปด้วย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านคาราโอเกะ

• ราคา
เรามักกำหนดราคาอาหารและเครื่องดื่ม ไว้สูงกว่าปกติ เนื่องจากต้องบวกต้นทุนค่า บริการหรือค่าการแสดงต่าง ๆ เข้าไปในราคา อาหารและเครื่องดื่มด้วย

• กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
หากสนใจจะจัดตั้งธุรกิจสถานบันเทิงที่ มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) เราจะต้อง ขอใบอนุญาตประกอบกิจการร้านคาราโอเกะ ถ้าหากลักษณะกิจการเข้าเงื่อนไขที่ต้องขอใบ อนุญาต นอกจากนี้ยังต้องลงทุนซื้อเครื่องและ อุปกรณ์ร้องเพลงคาราโอเกะ เช่น เครื่องเลือก เพลง ไมโครโฟน โทรทัศน์ และจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ให้กับบริษัทเพลงต่างๆ ด้วย

การเริ่มธุรกิจสถานบันเทิงที่มี บริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ)

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษี ได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

นอกจากนี้ในการเริ่มธุรกิจนี้ เราต้อง ขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากกรมสรรพสามิต (ในกรณีขายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์) และขออนุญาตเปิดสถานบริการ อีกด้วย

การเตรียมธุรกิจ

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจสถานบันเทิง ที่มีบริการให้ร้องเพลง (คาราโอเกะ) เราอาจ เกี่ยวข้องกับภาษีดังนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียนหรือไม่ เราจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่า เพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยผู้ขายจะ ออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเราต้องจัดเก็บไว้เพื่อ ใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละ เดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายใน การคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เรามีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่ม เติมตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การจัดหาเพลงคาราโอเกะ
ในกรณีที่เราเป็นบริษัท จำกัด หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล เรามีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย จากเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงเมื่อจ่ายค่า ลิขสิทธิ์เพลงด้วย

การจำหน่ายและให้บริการคาราโอเกะ

เมื่อเริ่มประกอบธุรกิจแล้ว และเราเริ่ม มีรายได้เข้ามา เราก็ต้องศึกษาเรื่องการจ่าย ภาษีด้วยเช่นกัน

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับ ตั้งแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้า
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ