คลินิกภาษีผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

เสียภาษี "เรื่องหมู...หมู"

เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 การยังชีพของมนุษย์ "ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์" จึงเป็นธุรกิจที่รุ่งเรืองตลอดกาล โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้ว พร้อมทานได้เลย เพียงแค่ทำให้สุกก่อนทาน หรือนำไปต่อยอดประกอบเป็นอาหารอื่นๆ ได้ ทั้งยังสามารถเก็บไว้ได้นานอีกด้วย เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอก ฯลฯ

ซึ่งผู้ประกอบการที่คิดหารายได้จากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรุปเหล่านี้ต้องศึกษาเรื่อง "ภาษี" ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างถูกกฎหมายก่อประโยชน์ถึงการเจริญเติบโตของกิจการ และผลกำไรในอนาคตอีกด้วย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

* ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
* ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
* จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน ออกใบกำกับภาษี ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ขออนุญาตสถานที่ผลิต จัดทำรายงานภาษี ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขออนุญาตสถานที่ผลิต ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ ยื่นแบบฯ และเสียภาษีี จัดทำรายงานภาษี
ขอรับรองจากปศุสัตว์ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน   ยื่นแบบฯ และเสียภาษี
ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ จัดทำรายงานภาษี    
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบฯ และเสียภาษี    
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี      

บอกเล่าก่อนเข้าเรื่อง

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ถือเป็นกิจการถนอมอาหารประเภทหนึ่ง ที่ใช้วัตถุดิบ (เนื้อสัตว์) ตามแต่ละท้องถิ่นมาแปรรูป เช่น แหนม หมูยอ ไส้กรอก หมูส้ม และกุนเชียง เป็นต้น โดยกรรมวิธีการผลิตจากเดิมมักจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก แต่ปัจจุบันได้มีการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาทดแทน เพื่อการผลิตที่ได้มาตรฐาน อร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

เรื่องนี้ต้องขยาย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ "ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์"

ผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี
แหนม เนื้อหมูล้วน >> บด+ผสมเครื่องปรุง >> บรรจุถุง
หมูยอ เนื้อหมูล้วน >> บด+ผสมเครื่องปรุง >> อัดเป็นแท่ง >> นำไปต้ม
ไส้กรอกและหมูส้ม เนื้อหมูและสามชั้น >> ผสมเครื่องปรุง >> ใส่เครื่องอัด >> บรรจุถุง
กุนเชียง ตัดแต่งเนื้อหมู >> บด >> ผสมเครื่องปรุง >> บรรจุในไส้ >> พัก 7 วัน

ก้าวสู่การเป็น "ผู้ผลิต"

เมื่อคิดจะประกอบอาชีพใดๆ ที่จะสร้างรายได้คุณต้อง การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากรก่อน และหากรายได้ของคุณมาจากการค้าขายหรือบริการคุณต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยยื่นจดตามหน่วยงานที่กรมสรรพากรกำหนด

เรื่องน่ารู้คู่ภาษี

แหนม หมูยอ ไส้กรอก และกุนเชียง หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน คือผลิตภัณฑ์อันเกิดจาก "เนื้อสัตว์" ซึ่งหากเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูปใดๆ แล้ว ในทางกฎหมายไม่ว่าจะมีรายได้จากยอดขาย "เนื้อสัตว์" เกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ก็ตาม คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโดยอัติโนมัติ (เฉพาะกรณีเป็นเนื้อสัตว์จำหน่ายในประเทศเท่านั้น)

แต่เมื่อ "เนื้อสัตว์" ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ข้างต้น คุณจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ในกรณีมีรายได้ถึงเกณฑ์จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจริง) ซึ่งหากรายได้จากการขายสินค้าของคุณไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณก็สามารถเลือกที่จะจดหรือไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ โดยที่...

  • ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อแสดงตนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร
  • ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่คุณต้องทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายในแต่ละปี เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรต่อไป
  • เป็นผู้ประกอบการนำเข้าวัตถุดิบ หรือส่งออกผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ไปจำหน่ายต่างประเทศ ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่ว่าจะมีรายได้จากยอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ก็ตาม)

ทั้งนี้ หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ "จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม" ไม่ว่าเนื่องจากกรณีใดๆ คุณต้อง

  • จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้นำเข้า)
  • จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และ/หรือเป็นผู้ส่งออก)

จากนั้นจึง ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน แจ้งกำหนดแรงม้า และเครื่องจักรรวม กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จากนั้นต้อง ขออนุญาตสถานที่ผลิต โดยตรวจสอบว่าสถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครฯ เป็นต้น ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือโรงเรือน ผู้ประกอบการต้อง เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ด้วย

ทั้งยังต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยตามหลักการที่ว่า ‘ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าอะไร อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม หากคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้อง จดทะเบียนพาณิชย์

เรื่องนี้ต้องขยาย

เคล็ดลับ… กับภาษีอากร

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายได้เดือนมกราคม–มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายได้เดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

ผู้ประกอบการที่จะทะเบียนเป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือน (ครึ่งรอบ) ของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องมีแบบฟอร์ม รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ของกรมสรรพากร เพื่อจัดทำรายงานและเก็บรักษาหลักฐานเพื่อใช้ในการยื่นเสียภาษี (ตามมาตรา 87, 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร)

เมื่อเอกสารพร้อมก็สามารถดำเนินการผลิตเพื่อจำหน่ายได้ แต่เนื่องจาก "อาหาร" เป็นสิ่งที่จะเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น คุณภาพและความปลอดจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง คุณจึงต้อง ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบความสะอาดและคุณภาพของ "ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว" ของคุณตาม พระราชบัญญัติอาหาร ด้วย

เรื่องนี้ต้องขยาย

การนำเข้า "เครื่องจักร/วัตถุดิบ" มาผลิตแล้วขายในประเทศการนำเข้า อัตราภาษี 7%
"เครื่องจักร/วัตถุดิบ" มาผลิตแล้วส่งออก อัตราภาษี 0%
ซื้อ "เครื่องจักร/วัตถุดิบ" ในประเทศ มาผลิตแล้วขายในประเทศ อัตราภาษี 7%
ซื้อ "เครื่องจักร/วัตถุดิบ" ในประเทศ มาผลิตแล้วส่งออก อัตราภาษี 0%

รู้ลึกเรื่อง "นำเข้า"

เมื่อ จดทะเบียนพาณิชย์ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้ว คุณจะต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกตามคู่มือระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (ลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น) และ ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า ผ่านระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามช่องทางการนำเข้า ได้แก่ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก และทางไปรษณีย์ พร้อมทั้งศึกษาเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับ เนื้อสัตว์ และ เครื่องจักร เพื่อจดตัวเลข 8 หลักมาใช้ในการประเมินราคาการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย

นอกจากนี้ คุณจะต้องมีใบอนุญาตและหนังสือรับรองจาก "กรมปศุสัตว์" เพราะผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เป็นสินค้าที่ควบคุมการนำเข้า ขออนุญาตสถานที่ผลิต หน่วยงานราชการท้องถิ่นใดที่รับผิดชอบ และ ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อเอกสารได้รับการอนุญาตจากทุกหน่วยงานอย่างสมบูรณ์ ระบบจะทำการปล่อยสินค้าอัตโนมัติ คุณสามารถติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อออกและนำของออกอารักขาศุลกากรได้จากหน่วยงานที่ศุลกากรกำหนดไว้

ซึ่งคุณจะต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นเสียภาษีในเวลาต่อมาด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

พร้อม "ส่งออก"

สิ่งแรกที่ต้องทำในขั้นตอนการส่งออกหลังจดทะเบียนพาณิชย์ มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คือ ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกตามคู่มือระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (เฉพาะครั้งแรกของการส่งออกหรือนำเข้าเท่านั้น) และส่งข้อมูลเพื่อจัดทำ ใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน

ผู้ส่งออกต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก ว่าส่งออกไปช่องทางไหน ทางเรือ ทางรถยนต์ ทางอากาศ หรือทางไปรษณีย์ และควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น

ธุรกิจผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์นั้นจะได้รับการยกเว้นอากรในใบขนส่งสินค้าขาออกโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในเรื่องการบรรจุสินค้า คุณจะต้องปรึกษา หรือ ติดต่อ ตัวแทนออกของ ดูแลให้ ซึ่งสถานที่ในการบรรจุจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรด้วย และการเป็นผู้ส่งออกนั้นคุณต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

กิจกรรมภาษีประจำปี...เมื่อมีรายได้

ยอดขายหรือรายได้ที่คุณได้รับจากการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศนั้น ทำให้คุณจะต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ของคุณ ได้แก่ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการผลิตสินค้า การบรรจุ การขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ/นำเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลผลิตของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"

คนไทยที่ดีต้องจ่ายภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ