คลินิกภาษีสถานเสริมความงาม

ปัจจุบันผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสนใจเข้าไปใช้บริการธุรกิจเสริมความงามกันอย่างมาก ทั้งนวดหน้า นวดตัว รักษาสิว ดูแลผิวพรรณ ไปจนถึงการทำศัลยกรรมตกแต่งเนื่องจาก สามารถเปลยี่ นแปลงบคุ ลกิ ภาพใหด้ ดู ี ทงั้ รปู รา่ ง หนา้ ตา ผวิ พรรณเพอื่ ชว่ ยสรา้ งความมนั่ ใจให้ เพิ่มขึ้น

ดังนั้นการเข้าสถานเสริมความงามจึงกลายเป็นกิจกรรมสำคัญของคน ในยุคปัจจุบัน ธุรกิจเสริมความงามจึงเปิดให้บริการตามแหล่งชุมชน อาคารสำนักงาน รวมทั้งตามศูนย์การค้าต่างๆเป็นจำนวนมากมาย เหมือนดอกเห็ด ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านการเสริมความงาม เปิดดำเนินการด้วยตนเองและที่เปิดดำเนินการโดยการซื้อแฟรนไชส์

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการประกอบธุรกิจ

• ทำเลที่ตั้ง
อาจเปิดตามแหล่งชุมชน อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม หรือศูนย์การค้าต่างๆ โดยการเปิดสถานประกอบการจะต้องดำเนิน การขอใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากกระทรวง สาธารณสุข โดยคลินิกที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพ- มหานคร สามารถยื่นขอเปิดคลินิกได้ที่สำนัก สถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะกระทรวงสาธารณสุข คลินิกที่มีตั้งส่วนภูมิภาค ให้ยื่นขอเปิดคลินิกที่สาธารณสุขจังหวัด

• เครื่องมือหรืออุปกรณ์
วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้บริการในสถาน เสริมความงามส่วนใหญ่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ที่ต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งจะต้องมีใบ รับรองการนำเข้าจาก อย. ก่อน จึงจะนำมา ใช้บริการได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้การใช้ เครื่องมือแพทย์กับผู้รับบริการเสริมความงาม ดังกล่าว เข้าข่ายประกอบโรคศิลปะหรือ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งต้องใช้โดย ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เท่านั้น

• พนักงาน
หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ บริการในสถานเสริมความงามที่จัดเป็น เครื่องมือแพทย์ เราต้องมีแพทย์ประจำอยู่ ตลอดการเปิดทำการ บุคลากรที่ให้บริการ เสริมความงามต้องมีทักษะเฉพาะ การฝึก อบรมต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้เกิดความชำนาญ และการให้บริการที่ดี

• เครื่องสำอางหรือสมุนไพร
ประเทศไทยมีความหลากหลายทางด้าน สมุนไพรไทยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ การให้บริการด้านความงามได้ แต่เครื่องสำอางที่เราใช้ต้องผ่านการอนุมัติจากสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจาก อาจมีส่วนผสมสารห้ามใช้ให้แก่ลูกค้า นอก- จากนี้เครื่องสำอางต้องแสดงฉลากที่ถูกต้อง เช่น มีฉลากภาษาไทยแสดงชื่อ ที่ตั้งผู้ผลิต แสดงวัน เดือน ปี ที่ผลิต เป็นต้น หากไม่แสดง มีโทษจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือหากพบ การขายเครื่องสำอางที่โอ้อวดสรรพคุณเกิน จริง ที่เจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระ สำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางจะมีโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นกัน

• ยา
การจ่ายยาในคลินิกหรือสถานเสริม ความงามต้องระมัดระวังไม่ให้ผิดกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยต้องศึกษา ระบบบัญชีรายชื่อยาที่เกี่ยวข้องด้วย

การเริ่มธุรกิจ

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจเสริมความงาม เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบ ของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดย การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

นอกจากนี้เรายังต้องขออนุญาตเปิด สถานประกอบการและจดทะเบียนขายยาต่อ กระทรวงสาธารณสุข และในกรณีที่นำเข้า เครื่องมือทางการแพทย์ก็ต้องขออนุญาตจาก กระทรวงสาธารณสุขเช่นกัน

การเตรียมตัวที่จะเปิดธุรกิจร้านสถานเสริมความงาม

เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียนหรือไม่ เราจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยผู้ขายจะ ออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเราต้องจัดเก็บไว้เพื่อ ใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละ เดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายใน การคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและ วัตถุดิบด้วย

  • • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เรามีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละ ประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเราเปิดการให้บริการเสริมความงามและการจำหน่ายสินค้า เราต้องศึกษาเรื่องภาษีเช่นกัน

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    เราต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดย ยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์- เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ