คลินิกภาษีร้านนวดแผนโบราณ

ธุรกิจร้านนวดแผนโบราณเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อเท่านั้น ไม่ครอบคลุม การนวดเพื่อบำบัดวินิจฉัยโรค หรือฟื้นฟูสมรรถภาพต่างๆ เนื่องจากการนวดเพื่อ บำบัดวินิจฉัยโรค หรือฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ทำการนวด ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต “สาขาการแพทย์แผนไทย หรือเวชกรรมโบราณ” แล้วเท่านั้น

การนวดแผนไทยถือเป็นศาสตร์และศิลป์ช่วยในเรื่องสุขภาพ ของคนไทย เช่น นวดฝ่าเท้า นวดจับเส้น นวดประคบ นวดไมเกรน นวดน้ำมัน ฯลฯ ส่วนมากเป็นการนวดเพื่อผ่อนคลาย และนวดคลายเส้นเพื่อบำบัดอาการ ปวดเมื่อยเฉพาะจุด เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และช่วยผ่อนคลายได้ดีเนื่องจากอาการปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านนวด

• สถานประกอบการและทำเลที่ตั้ง
ลูกค้าที่ใช้บริการมักอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ ปานกลางถึงสูง ดังนั้น ความต้องการของตลาด จึงขึ้นกับทำเลที่ตั้งเป็นหลัก นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจเกี่ยวกับขนาด ของสถานประกอบการ การตกแต่ง และการ จัดสถานที่ภายในด้วย

• บุคลากรผู้ให้บริการนวด
ต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในงานบริการ มีความ อดทนสูง และมีสุขภาพพละกำลังมือที่แข็งแรง มีความรู้ความเข้าใจศาสตร์แห่งการนวด

• วัสดุประกอบการนวด
น้ำมันนวดเป็นสิ่งหนึ่งที่ธุรกิจร้านนวด มีให้บริการ นอกจากนี้ กิจการอาจมีสมุนไพร อื่น หรืออุปกรณ์การประคบหรือช่วยนวดได้

• อุปกรณ์อื่น
เก้าอี้หรือเตียงที่ใช้สำหรับการนวด หมอน ผ้าปู ผ้าขนหนู เป็นต้น

• กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ถึงแม้ว่าธุรกิจร้านนวดเพื่อผ่อนคลายนี้ ไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณะสุขแต่ผู้ประกอบการพึงระวังการนวดของ พนักงานต้องไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือ เป็นอันตรายต่อลูกค้าทั้งร่างกายและจิตใจ มิฉะนั้นจะมีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 295

การเริ่มธุรกิจร้านนวดแผนโบราณ

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

การเตรียมธุรกิจเปิดร้าน

เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มเปิดให้บริการ มีลูกค้า และมีรายได้

ในการให้บริการนวดแผนโบราณ และ การจ่ายหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการนวด แผนโบราณ เช่น น้ำยานวด เป็นต้น เราอาจ ต้องมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
  • ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
  • ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
  • ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  • ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ ผู้รับบริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
  • เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้า
  • เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ