คลินิกภาษีธุรกิจแพทย์ทางเลือก

คำว่า “แพทย์ทางเลือก” ตามความหมายที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของสำนักการแพทย์ ทางเลือก คือ “การแพทย์ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์อื่นๆ ที่เหลือถือเป็นการแพทย์ทางเลือกทั้งหมด” **เราสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจแพทย์ทางเลื

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการประกอบธุรกิจ

การขออนุมัติจัดตั้งคลินิกแพทย์ทางเลือก
เราต้องดำเนินการขออนุมัติจัดตั้งสถาน พยาบาลจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้อง พิจารณาว่าจะจัดตั้งคลินิกแบบรับผู้ป่วยค้างคืน หรือไม่ อีกทั้งเข้าข่ายคลินิกประเภทใด เช่น คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกแพทย์แผนไทย- ประยุกต์ คลินิกกายภาพบำบัด หรือสหคลินิก เป็นต้น โดยสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซด์ของสำนักสถานพยาบาลและ การประกอบโรคศิลปะ

สถานประกอบการ
การเปิดสถานประกอบการจะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากกระทรวง สาธารณสุข คลินิกที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพ มหานครสามารถยื่นขอเปิดคลินิกได้ที่สำนัก สถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุขคลินิก คลินิกที่ตั้งอยู่ใน ส่วนภูมิภาคให้ยื่นขอเปิดคลินิกที่สาธารณสุข จังหวัด

บุคลากร
บุคลากรที่ให้บริการต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์นั้นๆ โดยจะต้อง มีการขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็น ประกอบโรคศิลปะสาขานั้นๆ ด้วย

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ผู้ประกอบการจะต้องทำการศึกษา และปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินงานสถาน พยาบาล พ.ศ. 2545 กฎกระทรวงว่าด้วยการ ประกอบกิจการสถานพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 กฎกระทรวงว่าด้วยชนิด และ จำนวนเครื่องมือเครื่องใช้ ยาเวชภัณฑ์ หรือ ยานพาหนะที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล พ.ศ. 2545 เป็นต้น

การเริ่มธุรกิจแพทย์ทางเลือก

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

นอกจากนี้ เราต้องขออนุญาตเปิดสถาน ประกอบการและจดทะเบียนขายยาต่อ กระทรวงสาธารณสุข และในกรณีที่นำเข้า เครื่องมือทางการแพทย์ก็ต้องขออนุญาตจาก กระทรวงสาธารณสุขเช่นกัน

การเตรียมตัวเปิดธุรกิจแพทย์ทางเลือก

ในขั้นตอนการเตรียมตัวเปิดธุรกิจ ด้านนี้ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย และ ผู้ขายต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เรามีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มให้บริการแพทย์ทางเลือกและเริ่มจำหน่ายสินค้า

เราอาจต้องมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลา บัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ ผู้รับบริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้า > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ