คลินิกภาษีร้านซัก อบ รีด

ปัจจุบันนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างต้องช่วยกัน ทำงานและต้องรีบออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัดกว่าจะ กลับถึงบ้านก็มึด จนไม่มีเวลาพักผ่อน การหาแม่บ้านมาช่วยความสะอาด จนถึงการซักรีดผ้าจึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงนักศึกษา ที่อยู่ตามหอพักที่มีการพักเพียงไม่กี่ปี จึงนิยมการใช้บริการร้าน ซัก อบ รีด หรือเครื่องซักผ้าแบบหยอดเหรียญ

ดังนั้นจึงทำให้ธุรกิจ ซัก อบ รีด จึงเจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วในทุกๆ ปี ตามอัตราการเติบโตของประชากรในเมืองใหญ่ โดยมีทั้งการเปิดร้าน ซักอบรีดทั่วไป บริการเครื่องซักผ้าแบบหยอดเหรียญ ไปจนถึงธุรกิจแบบแฟรนไชส์ ซึ่งต้อง ใช้เงินทุนค่อนข้างสูง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านซัก อบ รีด

ทำเลที่ตั้ง
มีความสำคัญมากต่อธุรกิจนี้ ไม่ว่าจะ เป็นแบบครบวงจรหรือบริการเครื่องซักผ้า ยอดเหรียญ ควรจะอยู่ในทำเลที่มีผู้คนอาศัย อยู่จำนวนมากเช่น หอพัก อพาร์ทเมนท์ หรือ คอนโดมิเนียม แต่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ของค่าเช่าที่ต้องจ่ายกับรายได้ที่เราคาดว่า จะได้รับด้วย

คุณภาพของการบริการ
ควรเน้นเรื่องการบริการที่ทำให้ลูกค้า พึงพอใจ ได้ผ้าที่สะอาดและรักษาคุณภาพ ของเสื้อผ้า ไม่พังเสียหาย โอกาสที่ลูกค้าจะ บอกต่อกับบ้านอื่นๆ ในละแวกเดียวกันจะมี สูง ทำให้เรามีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

การเริ่มต้นก่อนเปิดร้าน

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มี เงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

ขั้นตอนการเตรียมเปิดร้าน

ในขั้นตอนการเตรียมเปิดร้านเบเกอรี่ เราอาจเกี่ยวข้องกับภาษี ดังต่อไปนี้

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร(Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตาม แต่ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มเปิดร้านซัก อบ รีด และจำหน่ายสินค้าจนมีรายได้เราก็ต้องใส่ใจ เสียภาษีด้วยเช่นกัน

ในการเปิดร้านซัก อบ รีด และการขาย สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการซัก อบ รีด เราจะ ต้องมีภาระภาษีดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นแบบชำระภาษี ปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลจะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรม- สรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือ ทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ