คลินิกภาษีธุรกิจบริการทำความสะอาดรถ

ธุรกิจบริการทำความสะอาดรถจะมีการให้บริการในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ล้างรถ ดูดฝุ่น ขัดสี เคลือบสี ซักเบาะ ซักพรม ล้างห้องเครื่อง เคลือบแ ว็กซ์ (Wax) ฯลฯ ซึ่งราคาค่าบริการก็มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะงานขนาดรถและทำเลที่ตั้งของ ร้าน

โดยธุรกิจประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากปริมาณรถทุกชนิดมีเพิ่มขึ้น ทุกปี แต่จะใช้เงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูงเพราะต้องลงทุนทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับ ล้างรถ (เช่น เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง, ปั๊มลม,เครื่องฉีดโฟม, เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น) และค่า ก่อสร้าง โครงสร้าง และสถานที่ ในขณะที่อัตรากำไรค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีคู่แข่งเป็นจำนวนมากทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาได้สูง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยสำคัญของการเปิดร้านล้างรถ

ทำเลที่ตั้ง
มีส่วนสำคัญอย่างมาก ส่วนใหญ่มักตั้ง อยู่ในปั๊มน้ำมัน ริมถนนสายหลัก หรือตามที่ จอดรถของห้างสรรพสินค้า

แรงงาน
ปัญหาที่เรามักจะพบในการทำธุรกิจนี้ ก็คือ ขาดคนงาน ทำให้นิยมจ้างแรงงานต่าง ด้าวเพื่อประหยัดค่าแรง แต่ปัญหาที่ตามมาคือ แรงงานมักจะลาออกบ่อย งานบริการ อาจไม่เรียบร้อย และอาจมีปัญหาเรื่องความ ซื่อสัตย์ได้

เริ่มต้นเปิดร้านกันดีกว่า

เมื่อต้องการเริ่มเปิดร้านทำความสะอาด รถหรือร้านล้างรถ เราสามารถจดทะเบียน ธุรกิจได้ตามรูปแบบของกิจการและสามารถ เข้าสู่ระบบภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณี ที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียนด้วย

เตรียมตัวเปิดร้าน

ในขั้นตอนการเตรียมเปิดร้านล้างรถ เราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังต่อไปนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียก เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จาก ผู้ขายโดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเรา ต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่อง- มือในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอก ประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้า ขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มเปิดร้านและมีรายได้ เราต้องทำอย่างไรกับ “ภาษี” ?

ในการเปิดให้บริการทำความสะอาดรถ และการขายสินค้าที่เกี่ยวข้องเช่น น้ำยาล้างรถ น้ำยาเคลือบรถ เป็นต้น เราก็อาจต้องมีหน้าที่ เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ