คลินิกภาษีธุรกิจนำเที่ยว

ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ โดยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่พัก อาหาร พาหนะ มัคคุเทศก์ การเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวฯลฯ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

 

  • ต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีทางธุรกิจกับ สายการบิน + โรงแรม
    เพื่อสามารถนำเสนอบริการที่ครบวงจร ตรงตามความต้องการของลูกค้า และยังช่วย ให้มีต้นทุนค่าบริการ (เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าโรงแรม) ในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราทั่วไปใน ท้องตลาดได้อีกด้วย

  • คุณภาพในการบริการ
    ผู้นำเที่ยวและมัคคุเทศก์ควรมีใจรัก ในงานบริการ อดทน และแก้ไขปัญหาเฉพาะ- หน้าได้ดี รักการเดินทาง สามารถสื่อสาร ภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สามอื่น ๆ (เช่นภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น) ได้ มีความรู้เกี่ยวกับ สถานที่นำเที่ยวรวมทั้งความรู้ด้านประวัติ- ศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จารีตประเพณี วัฒนธรรม และควรรู้ข้อมูลเส้นทางท่องเที่ยว สถานที่ ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม ฯลฯ ที่จะช่วยให้ การบริการเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น

  • กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
    เนื่องจากธุรกิจนี้ มีส่วนสำคัญต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว ไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงมีกฎหมายเพื่อ ควบคุมธุรกิจนำเที่ยว โดยผู้ประกอบธุรกิจ นำเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจะต้อง จดทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ณ สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ด้วย

เริ่มต้นธุรกิจนำเที่ยวอย่างไรกันดี

เมื่อต้องการเริ่มทำธุรกิจนี้เราสามารถ จดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบของกิจการ และสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดยการขอมี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

ทั้งนี้เรายังต้องขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากสำนักทะเบียน ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ด้วย

การเตรียมตัวก่อนเปิดธุรกิจนำเที่ยว

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจนำเที่ยว เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบกิจการ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่า เพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการ รับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อ

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์ และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจเข้ามาจาก นอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การเริ่มเปิดบริการและเริ่มมีรายได้จากการนำเที่ยว

ในการให้บริการนำเที่ยว เราก็ต้องมี หน้าที่เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชนทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ