คลินิกภาษีธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์

ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น รายการโทรทัศน์ ละครสั้นหรือภาพยนตร์สั้น สปอตโฆษณามิวสิควีดีโอ สื่อพรีเซนเตชั่น (Presentation) ขององค์กรหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น โดยธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ เป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างมากในช่วง 5 – 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเทคโนโลยีด้านการผลิตสื่อ ที่ทันสมัยและการใช้งานที่ง่ายมากขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่ายโดยเฉพาะสื่อทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงช่องโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้น อย่างมากจากระบบโทรทัศน์ดิจิตอล (TV digital) ทำให้ลูกค้านิยม หันมาผลิตเนื้อหา (Contents) เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงสื่อต่างๆ ในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นนั่นเอง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดโปรดักชั่นเฮาส์

  • อัตราค่าบริการ
    รายได้ของธุรกิจประเภทนี้ ก็คือ รายได้ จากการรับจ้างผลิตสื่อที่ได้รับการว่าจ้างจาก สถานีโทรทัศน์หรือบริษัทโดยทั่วไป โดยเรา สามารถจะกำหนดอัตราค่าบริการที่แตกต่าง กันไปตามความยากง่ายของชิ้นงานไว้คร่าวๆ แต่อาจเพิ่มหรือลดอัตราค่าบริการดังกล่าวได้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองระหว่างกิจการกับ ลูกค้า

  • ทีมงาน
    สามารถเริ่มต้นได้จากธุรกิจขนาดเล็กที่ มีทีมงานเพียงไม่กี่คน ซึ่งประกอบด้วยการ ผลิตสื่อ (ถ่ายทำ ตัดต่อ บันทึกเสียง) ด้าน ครีเอทีฟ (คิดสร้างสรรค์รูปแบบและเนื้อหา ของสื่อ) และด้านบัญชีและธุรการ โดยเราอาจ เลือกให้บริการผลิตสื่อเพียงไม่กี่ประเภทตาม ความถนัดก่อนแล้วจึงขยายบริการให้ครอบ- คลุมงานผลิตสื่ออื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ครบ วงจรในภายหลังได้

การเริ่มต้นธุรกิจรับจ้างผลิตสื่อ

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบ ของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

การเตรียมตัวเปืดโปรดักชั่นเฮ้าส์

ในขั้นตอนการเตรียมตัวเปิดธุรกิจ ประเภทนี้ เราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเรา ต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ- การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มเปิดให้บริการโปรดักชั่นเฮ้าส์

เมื่อเราเปิดบริการและมีรายได้ เราก็ต้อง สนใจในเรื่องของการจ่ายภาษีเพื่อนำไปพัฒนา ประเทศดังต่อไปนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ