คลินิกภาษีธุรกิจพัฒนาแอพพลิเคชั่น

ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์มักจะเป็นคนที่ทำงานอยู่กับบริษัทขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันที่ผู้คนต่างใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หรือที่เรียกว่า “สมาร์ทโฟน” ทำให้วงการนักพัฒนาโปรแกรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นั่นคือ ในปัจจุบันทุกคนสามารถ พัฒนาและจำหน่ายแอพพลิเคชั่นของตนได้ตัวอย่างประเภทของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้แก่ เกมส์ เพลง กีฬา ข่าว พยากรณ์อากาศ ฯลฯ โดยจุดเด่นของงานพัฒนาแอพพลิเคชั่น คือเป็

โดยจุดเด่นของงานพัฒนาแอพพลิเคชั่น คือเป็นงานที่ใช้เงินลงทุนต่ำ เพราะใช้เพียงคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวก็สามารถทำงานได้แล้ว แต่ต้องขายความคิดสร้างสรรค์หรือขายไอเดียในการพัฒนา แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ให้เป็นที่น่าสนใจ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการทำธุรกิจพัฒนาแอพพลิเคชั่น

นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นจำเป็นต้องมี ความรู้ ความชำนาญในวิทยาการคอมพิวเตอร์ และควรมีความรู้หรือทักษะด้านอื่นๆ ที่จะ ช่วยเสริมให้แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขายได้ดีด้วยเช่น ความรู้ด้านธุรกิจและการตลาด การ มีความคิดสร้างสรรค์นอกจากนี้นักพัฒนา แอพพลิเคชั่นมักทำงานกันเป็นทีมเพื่อแบ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบกันตามความถนัดได้

การลงทะเบียนนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นกับ ผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน
ระบบปฏิบัติการ (Operating system) หลักๆ ที่รองรับสมาร์ทโฟนมี 3 ระบบ ได้แก่ ระบบไอโอเอส (iOS) สำหรับสมาร์ทโฟนยี่ห้อ แอปเปิ้ล ระบบแอนดรอยด์ (Andriod) สำหรับสมาร์ทโฟนยี่ห้อซัมซุงหรือโซนี่ และ ระบบวินโดว์โฟน (Windows Phone) สำหรับ สมาร์ทโฟนยี่ห้อโนเกีย ซึ่งนักพัฒนาแอพพลิ- เคชั่นจำเป็นต้องทราบว่าเรากำลังจะพัฒนา แอพพลิเคชั่นสำหรับระบบปฏิบัติการอะไร เนื่องจากภาษาที่ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่น และเงื่อนไขต่างๆ ของแต่ละระบบจะแตกต่าง กัน เช่น ระบบไอโอเอส (iOS) นิยมใช้ภาษา ออปเจคทีฟ-ซี (Objective-C) และท่านจะต้อง ลงทะเบียนผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นในระบบ ไอโอเอส (iOS Development program) และเสียค่าลงทะเบียน 99 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,000 บาท) ต่อปี แต่ไม่มีค่าใช้จ่าย ในการวางแอพพลิเคชั่นขายในแอพสโตร์ (App Store) ในขณะที่ระบบแอนดรอยด์นิยมใช้ภาษาจาว่า (Java) และเสียค่าธรรมเนียม 25 ดอลลาร์สหรัฐ (จ่ายครั้งเดียว) จึงจะวาง แอพพลิเคชั่นขายในกูเกิ้ลเพลย์สโตร์ (Google Play Store) ได้

ส่วนแบ่งรายได้
รายได้ของนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นอิสระ จะขึ้นอยู่กับว่าแอพพลิเคชั่นที่เราพัฒนานั้น เป็นแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้คนทั่วไปดาวน์โหลด ได้ฟรีหรือเป็นแอพพลิเคชั่นที่ไว้จำหน่าย โดย ถ้าเป็นแอพพลิเคชั่นที่วางจำหน่ายตามปกติ (Paid application) ก็จะมีรายได้ส่วนแบ่ง จากยอดขายหรือยอดดาวน์โหลด (เช่น ถ้าเป็น แอพพลิเคชั่นในระบบไอโอเอสหรือระบบแอนดรอยด์ ผู้พัฒนาจะได้รับส่วนแบ่ง 70% ของ ยอดดาวน์โหลด) แต่ถ้าเป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นฟรี (Free application) ก็ยังสามารถ มีรายได้เช่นกัน ทั้งจากส่วนแบ่งค่าโฆษณาและ จากรายได้เสริมจากการใช้แอพพลิเคชั่น (เช่น ส่วนแบ่งค่าดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ (sticker) ในแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) หรือการขายไอเท็มในแอพพลิเคชั่นประเภทเกมส์ต่างๆ)

การเริ่มต้นธุรกิจนี้

ความรู้ทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจพัฒนาแอพพลิเคชั่น เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบ ของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดย การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

การเตรียมตัวเปิดธุรกิจพัฒนาแอพพลิแคชั่น

ในขั้นตอนการเตรียมตัวเปิดธุรกิจนี้ เรา จะต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเราเปิดให้บริการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและมีรายได้

เมื่อเรามีรายได้จากธุรกิจนี้ เราก็ต้องมี หน้าที่เกี่ยวข้องกับภาษีดังต่อไปนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้อง ที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ