คลินิกภาษีร้านให้บริการอินเทอร์เน็ต

มักพบได้ตามแหล่งชุมชุนหรือหมู่บ้านต่างๆ โดยให้บริการอินเทอร์เน็ตและเกมออนไลน์ ต่างๆ โดยคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง แต่ธุรกิจประเภทนี้มักทำกำไรได้น้อย เนื่องจากมีคู่แข่งจำนวนมาก และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน นักศึกษา ทำให้คิดค่าบริการได้ไม่สูงมากนัก

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้านอินเทอร์เน็ต

  • ทำเล
    ต้องหาสถานที่ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็น อาคารพาณิชย์ขนาด 1 - 2 คูหาตามแหล่ง ชุมชนหรือใกล้สถานศึกษา

  • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอม พิวเตอร์
    เราต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (หน่วยประมวลผล หน้าจอ หูฟัง เมาส์) และ ค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมที่ลงในคอมพิวเตอร์ โต๊ะ คอมพิวเตอร์ และเก้าอี้ เพื่อนำมาใช้ในร้าน

  • กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
    จะต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ร้านวีดิทัศน์ และต้องควบคุมไม่ให้เยาวชนเข้าใช้บริการร้านนอกเวลาที่กฎหมายอนุญาต ดังนี้
    > เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สามารถเข้าใช้ บริการได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 20.00 น. ใน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ในวันหยุดราชการหรือในระหว่าง ปิดภาคเรียน
    > เด็กอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 18 ปี สามารถเข้าใช้บริการได้ตั้งแต่เวลา 14.00 - 22.00 น. ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 22.00 น. ในวันหยุด ราชการหรือในระหว่างปิดภาคเรียน

เริ่มต้นก่อนเปิดร้าน

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูป- แบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษี ได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เราจะต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

การเตรียมเปิดร้านอินเทอร์เน็ต

ในขั้นตอนการเตรียมเปิดร้าน เราก็จะ ต้องเริ่มต้นเกี่ยวข้องกับภาษี ดังต่อไปนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มเปิดร้านและมีรายได้เราก็ต้องให้ความ “ใส่ใจ” เรื่อง “ภาษี” ด้วยเช่นกัน

โดยในการเปิดร้านอินเทอร์เน็ต เราจะ ต้องมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขต ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทาง อินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ