คลินิกภาษีบริการรักษาความปลอดภัย

คือธุรกิจที่บริการด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่อาคารสถานที่และทรัพย์สินของ ลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง อาทิเช่น หน่วยงานรัฐบาล, บริษัทเอกชน, ห้างสรรพสินค้า, อาคาร สำนักงาน, ธนาคาร, สถาบันการศึกษา, โรงพยาบาล, สนามบิน, คอนโดมิเนียม, หมู่บ้าน ฯลฯ โดยบริษัทรักษาความปลอดภัยจะจัดส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. ไปให้ บริการยังสถานที่ของผู้ว่าจ้างตามเงื่อนไขและขอบเขตการให้บริการตามที่ตกลงกันไว้ระหว่าง บริษัทกับผู้ว่าจ้าง

แนวโน้มของการจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยมีความเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างเห็น ได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาคือจากเดิมที่แต่ละองค์กรมักจะเป็นผู้จัดหาและจ้างเจ้าหน้าที่ รปภ. เอง แต่ในปัจจุบันองค์กรจะไปว่าจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยให้จัดหาพนักงานให้แทน เพื่อ ช่วยลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการเกี่ยวกับพนักงาน ดังนั้นธุรกิจบริษัทรักษาความปลอดภัยจึงมีแนวโน้มเติบโต อย่างต่อเนื่อง และธุรกิจนี้ยังเป็นธุรกิจที่ง่ายไม่ซับซ้อน ใช้เงินลงทุนต่ำ (เพราะไม่ต้องมีสถานประกอบการที่กว้างขวาง และไม่ต้องมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ราคาแพง)

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการประกอบธุรกิจนี้

การคัดเลือกพนักงาน
เราควรให้ความสำคัญกับการคัดเลือก คนมาเป็นเจ้าหน้าที่ รปภ. ของบริษัท เพื่อ ให้ได้พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ ไม่มีประวัติ อาชญากรรม และมีจิตใจรักงานบริการ โดย อาจจะใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้สมัครก่อนรับเข้า ทำงาน หรือตรวจสอบประวัติของผู้สมัครให้ ละเอียด โดยอาจตรวจสอบจากฐานข้อมูล อาชญากรของตำรวจได้

อัตราค่าบริการ
จะกำหนดเป็นค่าบริการต่อเดือนซึ่ง ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและระดับการให้บริการ ของเจ้าหน้าที่ รปภ. ซึ่งแตกต่างกันตามความ ต้องการของลูกค้า เช่น ลูกค้าโรงแรมห้าดาว จะต้องการเจ้าหน้าที่ รปภ. ที่มีคุณสมบัติ หรือบุคลิกภาพที่ดี และสามารถสื่อสารภาษา อังกฤษได้บ้าง ดังนั้นเราควรกำหนดกลุ่ม ลูกค้าให้ชัดเจนว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าระดับบน ระดับกลาง หรือระดับล่าง เพื่อการบริการ ที่ตรงกลุ่มมากขึ้น

เมื่อเริ่มต้นธุรกิจบริการรักษาความปลอดภัย

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

ในขั้นตอนของการเตรียมเปิดธุรกิจบริการรักษาความปลอดภัย

เราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังต่อไปนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประ- เทศเรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่ง มีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเปิดธุรกิจบริการรักษาความปลอดภัย และเริ่มมีรายได

เราก็จะต้องมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษี ดังต่อไปนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้อง ที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลา บัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ