คลินิกภาษีรถรับจ้าง

ธุรกิจ “รถรับจ้าง” คือ ธุรกิจที่ให้บริการรถเช่าเหมาคัน (มักเป็นรถตู้หรือรถกระบะ) พร้อมคนขับแก่ลูกค้า เพื่อบริการนำเที่ยว หรือเพื่อขนย้ายสิ่งของเช่น เช่ารถตู้จาก กรุงเทพฯ ไปไหว้พระตามวัดที่จังหวัดอยุธยา เช่ารถกระบะรับจ้างขนของย้ายบ้าน ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ลูกค้าต้องการก็คือ “ความปลอดภัย” ในการให้บริการนั่นเอง

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการประกอบธุรกิจรถรับจ้าง

  • สภาพรถ
    รถรับจ้างโดยเฉพาะรถตู้ควรมีสภาพ ที่ปลอดภัยมีการตรวจเช็คสภาพรถก่อนให้ บริการอยู่เสมอ

  • คนขับรถ
    ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ ขับรถด้วย ความปลอดภัย ใช้ความเร็วที่เหมาะสมปฏิบัติตามกฎจราจร และให้บริการอย่าง- สุภาพ นอกจากนี้ คนขับรถควรเป็นผู้ที่รู้จัก เส้นทางเป็นอย่างดี โดยเฉพาะหากต้องขับรถขึ้นลงเขา

  • ราคา
    มักเป็นราคาเหมาต่อวันตามระยะทาง ที่ลูกค้าว่าจ้าง ทั้งนี้ราคาดังกล่าวมักไม่รวม ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งลูกค้าจะต้องเป็นผู้จ่าย เอง

เริ่มต้นธุรกิจรถรับจ้างกันเถอะ

เมื่อต้องการเริ่มต้นธุรกิจรถรับจ้าง เรา สามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบของ กิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดย การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เราต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

การเตรียมตัวเปิดธุรกิจรถรับจ้าง

ในขั้นตอนนี้ เราก็จะต้องเกี่ยวข้องกับ เรื่องของ “ภาษี” ดังต่อไปนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประ- เทศเรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่ง มีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การจัดหารถยนต์
ในกรณีที่มีการเช่ารถยนต์และเรา ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เราจะต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้ให้เช่า เมื่อจ่ายค่าเช่า

 

เมื่อให้บริการรถรับจ้างแล้ว เรามีหน้าที่ต้องชำระภาษีอย่างไร

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษี ต่อกรม- สรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เราจึง ไม่มีหน้าที่ทางภาษีในส่วนนี้

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ