คลินิกภาษีบริการซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน ไอแพด คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ค) ฯลฯ มักมีการเสียได้ง่ายหลังจากการใช้งานไปสัก ระยะหนึ่ง เนื่องจากถูกใช้งานอยู่เป็นประจำ และเกือบจะตลอดเวลา ดังนั้นธุรกิจนี้จึง มีความสำคัญต่อผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการพัฒนา ที่เพิ่มขึ้นของการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการเปิดร้าน

  • ทำเลที่ตั้ง
    มักเปิดกิจการอยู่ตามห้างสรรพสินค้า โดยอาจเปิดเป็นซุ้มเล็กๆ หรือเช่าเป็นห้อง ก็ได้

  • ช่างบริการ
    เราควรจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญใน การซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี หรือจ้างช่างมาให้บริการซ่อมแซมลูกค้าอีก ต่อหนึ่ง

  • ความซื่อสัตย์และการรักษาข้อมูล
    ในอุปกรณ์ ของลูกค้า ควรมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ไม่ดึง ข้อมูลในอุปกรณ์ของลูกค้า ไม่พยายามซ่อม ให้เต็มที่เพื่อหวังให้ลูกค้ากลับมาซ่อมต่อเนื่อง เนื่องจากลูกค้ามักนิยมบอกปากต่อปาก ซึ่ง ถ้าร้านมีประวัติไม่ดีเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ และการให้บริการแล้ว ก็อาจจะประสบปัญหา การทำธุรกิจในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าร้านอยู่ในห้างสรรพสินค้าซึ่งมีคู่แข่งเป็น จำนวนมาก

การเริ่มธุรกิจร้านบริการซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิก์

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เราจะต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

การเตรียมตัวเปิดร้าน

ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านบริการ ซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เราจะต้อง เกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เปิดร้านได้แล้ว เราต้องทำอย่างไรบ้างกับหน้าที่การ “เสียภาษี”

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ- บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้อง ที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ