อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน ไอแพด คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ค) ฯลฯ มักมีการเสียได้ง่ายหลังจากการใช้งานไปสัก ระยะหนึ่ง เนื่องจากถูกใช้งานอยู่เป็นประจำ และเกือบจะตลอดเวลา ดังนั้นธุรกิจนี้จึง มีความสำคัญต่อผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการพัฒนา ที่เพิ่มขึ้นของการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี
ทำเลที่ตั้ง
มักเปิดกิจการอยู่ตามห้างสรรพสินค้า โดยอาจเปิดเป็นซุ้มเล็กๆ หรือเช่าเป็นห้อง ก็ได้
ช่างบริการ
เราควรจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญใน การซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี หรือจ้างช่างมาให้บริการซ่อมแซมลูกค้าอีก ต่อหนึ่ง
ความซื่อสัตย์และการรักษาข้อมูล
ในอุปกรณ์ ของลูกค้า ควรมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ไม่ดึง ข้อมูลในอุปกรณ์ของลูกค้า ไม่พยายามซ่อม ให้เต็มที่เพื่อหวังให้ลูกค้ากลับมาซ่อมต่อเนื่อง เนื่องจากลูกค้ามักนิยมบอกปากต่อปาก ซึ่ง ถ้าร้านมีประวัติไม่ดีเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ และการให้บริการแล้ว ก็อาจจะประสบปัญหา การทำธุรกิจในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าร้านอยู่ในห้างสรรพสินค้าซึ่งมีคู่แข่งเป็น จำนวนมาก
เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เราจะต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านบริการ ซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เราจะต้อง เกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้
การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
> เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
> ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
ภาษีศุลกากร
หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้
> เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
> ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า
การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ
การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
> ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
> ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ- บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้อง ที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
> ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
> ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
> เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
> เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า
ปัจจุบันผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสนใจเข้าไปใช้บริการธุรกิจเสริมความงามกันอย่างมาก ทั้งน...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...
‘ไวน์ผลไม้” กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจ...
ธุรกิจบริการทำความสะอาดรถจะมีการให้บริการในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ล้างรถ ดูดฝุ่น ขัดสี เ...
"ดอกไม้ประดิษฐ์" งานฝีมือจากสมองและสองมือของคนไทย กลายเป็นอา...
"เส้นก๋วยเตี๋ยว" เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปข้าวเจ้า ซึ่งสามารถนำมาลวกให้...
ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูล...
โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เ...
ขนมเบเกอรี่” เป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทุกวัย ถ้าผู้ที่สนใจ ในธุรกิ...
ขนมไทยที่เราคุ้นเคยกันดี นอกจากเป็นของที่มีคุณค่าแล้ว ในเชิงมูลค่า “ขนมไทย”...
ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ซึ่งการจะก้าวขึ้นมายืนในจุดนี้ได้นั้น นอกเหนือจ...
ปัจจุบันนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างต้องช่วยกัน ทำง...
ปัจจุบันร้านหรือโรงงานผลิตเสื้อยืดสกรีนเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งออกแบบและสกรีนเสื้อขายด้วยต...
“ปลากระป๋อง” อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องที่รับประทานง่ายและหาซ...
“การ์เม้นท์” หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีวงจรครอบคลุมตั้งแต...
“กระจูด” เป็นพืชตระกูลกกที่ถูกคัดเลือกให้เป็นวัตถุดิบสำคัญ...
“เครื่องเบญจรงค์” จัดเป็นภาชนะตกแต่งและเครื่องประดับที่งดงามซึ่งมีมาตั้งแต่...
ถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากพืชที่สำคัญมากต่อร่างกายของเรา ซึ่งมีให้เลือกมากม...
คือธุรกิจที่บริการด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่อาคารสถานที่และทรัพย์สินของ ลูกค้าหรือผู...