คลินิกภาษีธุรกิจแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจแต่อยากมีธุรกิจเป็นของ ตนเอง อาจจะเริ่มการทำธุรกิจโดยการติดต่อซื้อแฟรนไชส์จากผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisor) ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ขายแฟรนไชส์ในหลายประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจค้า ปลีก อาหารและเครื่องดื่ม โรงเรียนกวดวิชา สถานเสริมความงาม ฯลฯ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้แบ่งลักษณะของระบบแฟรนไชส์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  • • Product and Brand Franchising
    คือ การที่ผู้ผลิตสินค้า ให้สิทธิบุคคลอื่นในการขายสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยแฟรนไชส์

  • • Business Format Franchising
    คือ การให้สิทธิบุคคลอื่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ขายสินค้า หรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์เซอร์ แต่สิ่งสำคัญที่มีความ แตกต่างจากประเภทแรกคือ การใช้ระบบการดำเนินธุรกิจที่พิสูจน์แล้วของแฟรนไชส์เซอร์ เช่น กาแฟอเมซอน

  • • Conversion Franchising
    คือ ระบบแฟรนไชส์ที่พัฒนามาจากแฟรนไชส์ประเภท Business Format โดยการออกแบบระบบเพื่อเปลี่ยนร้านค้าอิสระที่มีอยู่ในระบบนั้นๆ ให้เข้ามาร่วมในระบบแฟรนไชส์เพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกันทางการค้าและทำโฆษณาร่วมกัน ในระดับประเทศ เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจรถเช่า ธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น

โดยผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมถึงข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบในการเข้าร่วม แฟรนไชส์ ได้จากบทความเรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์” จากเว็บไซต์ของ สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์

การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูป แบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษี ได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

ขั้นตอนเตรียมธุรกิจแฟรนไชส์

เราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังต่อไปนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ โดยเราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งเราต้อง จัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานใน การรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่อง- มือในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากนอกประ- เทศเรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่ง มีขั้นตอนดังนี้> เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การจ่ายค่าแฟรนไชส์
เรามีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจาก เจ้าของแฟรนไชส์ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิ แฟรนไชส์ เมื่อจ่ายค่าแฟรนไชส์

เมื่อเราได้เริ่มต้นทำธุรกิจนี้และเริ่มมีรายได้เข้ามา

เราก็มีหน้าที่ในการเสียภาษีดังต่อไปนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับ บริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้า
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ