คลินิกภาษีปลากระตักตากแห้ง

ปลากะตัก” สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนว ชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั้นดีอุดมด้วย โปรตีนและแร่ธาตุ ราคาย่อมเยา ที่สำคัญคือปลากะตักสามารถ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้หลากหลาย ทั้งปลากรอบรสต่างๆ กะปิ และน้ำปลาคุณภาพดี และที่ได้รับความนิยมในตลาดทั้งใน และนอกประเทศอย่าง มาเลเซีย ศรีลังกา ฮ่องกง ฯลฯ ก็คือ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปลากะตักตากแห้ง

ฮิตทั้งตลาดไทยตลาดเทศขนาดนี้...ต้อง “เสียภาษี” อย่างไรบ้างนะ...ตามมาดูกัน

ทำความรู้จัก “กะตักตากแห้ง”

“กะตัก” เป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก มีชื่อ เรียกตามท้องถิ่นว่า “ปลาฉิ้งฉั้ง” หรือ “บูร่า” (ลูกปลากะตัก) ถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจของ แนวชายฝั่งอันดามัน ในระดับความลึก 5-70 เมตร โดยพบมากแถบ จ.สตูล จ.พังงา และ จ.ระนอง โดยเฉพาะบริเวณอ่าวพังงาที่สามารถ ทำประมงได้เกือบตลอดทั้งปี ซึ่งปลากะตักส่วน ใหญ่ที่จับได้จะนำมาต้มตากแห้งเพื่อจำหน่าย ทั้งภายในประเทศ และส่งออกไปยังประเทศ เพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย

เช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจอื่นๆ หัวใจสำคัญประการแรกของผู้ประกอบการ ธุรกิจปลากะตักตากแห้งทุกคนคือ การยื่นขอ มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร นั่นเอง

และ “ปลากะตักตากแห้ง” ยังเป็นอีก หนึ่งธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.29/2535 อย่างไร ก็ตามหากผู้ประกอบการต้องการยื่นขอจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถยื่นเรื่องได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือยื่นทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

ว่าด้วยภาษี…จากกระบวนการผลิต

ผู้ประกอบการ “ปลากะตักตากแห้ง” ต้องเริ่มต้นจากการจดทะเบียนผู้ประกอบการ โดยดำเนินการยื่นแบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว หรือ หลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคล ล้วนต้องมีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับ แต่วันเริ่มประกอบกิจการ

เมื่อจดทะเบียนผู้ประกอบการแล้วจึงยื่น ขออนุญาตดำเนินการตั้งโรงเรือน หรือโรงงาน ผลิตปลากะตักตากแห้งอย่างถูกต้อง โดยยื่นเอกสารเสียภาษีโรงเรือน ณ สำนักงานเขตใน พื้นที่ที่โรงเรือนหรือโรงงานตั้งอยู่

อีกหนึ่งกระบวนการที่มีความสำคัญต่อ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพ นอกจากการ เลือกใช้วัตถุดิบชั้นดีแล้ว กระบวนการผลิต ปลากะตักตากแห้งยังต้องมีความปลอดภัยและ ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่น่า เชื่อถือ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นขอรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสำนักงานคณะกรรม- การอาหารและยา เพื่อยกระดับคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

               
รายการ พิกัสศุลกากร อัตร่อากรขาเข้า
ปลากะตักตากแห้ 0305.59.20 5%
ปลากะตักใส่เกลือ แช่น้ำเกลือ 0305.63.00 5%

เมื่อกระจายสินค้า-จำหน่าย-ส่งออก

ผลิตภัณฑ์ปลากะตักตากแห้งมียอดการ จำหน่ายภายในประเทศแต่ละปีประมาณ 5-10 ล้านบาท และยังเป็นสินค้าออกที่สร้างรายได้ หลั่งไหลสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความเข้าใจและดำเนินการเกี่ยวกับการส่งออก สินค้ากับกรมศุลกากรให้ถูกต้อง ตลอดจนจัด ทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงาน สินค้าและวัตถุดิบ เพื่อเตรียมยื่นแสดงต่อ กรมสรรพากรต่อไป

“เสียภาษี”… หน้าที่ของทุกคน

ผู้ประกอบการธุรกิจปลากะตักตากแห้ง จะมีหน้าที่ในการเสียภาษีตามหน้าที่ของ พลเมืองที่ดีของประเทศชาติ คือ

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายปลากะตักตากแห้ง ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

  • ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตปลากะตักตากแห้ง ไม่ว่าจะการผลิต บรรจุ ขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการ ว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการ ด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือ คนงาน ต้องมีการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตคุณได้ซื้อ วัตถุดิบบางอย่างมา และสิ่งที่คุณซื้อจะบวก ภาษีมูลค่าเพิ่มมาด้วย (คุณเป็นผู้รับภาระ เสียภาษีส่วนนั้น) ดังนั้น ในการตั้งราคาขาย สินค้า คุณอาจบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษี หรือ บิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ