คลินิกภาษีผ้าขนหนู

ผ้าขนหนู” มีหลากหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งานอาทิ ผ้าเ ช็ดตัว (สำหรับอาบน้ำ) ผ้าห่ม ผ้าเช็ดเท้า ผ้าเช็ดมือ ฯลฯ โดยความหนาของ ผ้าขนหนูแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับจำนวนเส้นใยที่ใช้ในการผลิต ถ้าใช้เส้นใยมากความหนาของผ้าขนหนูก็จะมากขึ้น ราคาในการ จำหน่ายของผ้าขนหนูก็ขึ้นกับความหนาเช่นกัน รวมถึงโทนสี ที่เลือกใช้โดยผ้าขนหนูที่หนาจะมีราคาแพงกว่าผ้าขนหนูที่บาง และผ้าขนหนูที่มีโทนสีเข้มก็จะมีราคาที่แพงกว่าโทนสีที่อ่อน

ซึ่งผ้าขนหนู ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขาดไม่ได้ในทุกครัวเรือน เพราะแทบจะมีบทบาท ในทุกห้องของบ้าน รวมถึงถูกใช้ในธุรกิจรีสอร์ท โรงแรม สปา และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อธุรกิจผ้าขนหนูก้าวไกลไปได้ดีแล้ว ก็ต้องศึกษาเรื่องของภาษีด้วยเช่นกัน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจ

  1. วัตถุดิบ
    วัตถุดิบหลักในการผลิตผ้าขนหนู คือ ฝ้ายบริสุทธิ์ (คอตตอนแท้ 100%) หรือฝ้าย ผสมโพลีเอสเตอร์ หรือใยไผ่

  2. กระบวนการผลิต (การทอ)
    สามารถใช้ได้ทั้งแรงงานคนหรือเครื่อง- จักรในการทอ โดยกระบวนการผลิตจะประกอบไปด้วยการกรอเส้นด้ายและการสืบด้ายเพื่อ เตรียมพร้อมสำหรับการทอ การทอผ้า การฟอก ย้อมสี และ การเก็บเย็บขอบผ้า

  3. วิธีการทอ
    จะแบ่งเป็นการทอเส้นเดียว (ใช้เส้นด้าย เส้นเดียวในการทอ ทำให้ผ้าขนหนูมีความหนา แน่นน้อยแต่เวลาสัมผัสจะรู้สึกนุ่มฟู ราคาถูกมักนิยมใช้ในครัวเรือนหรือแจกเป็น สินค้า พรีเมียม) และการทอเส้นคู่ (ผ้าขนหนูมีความ หนาแน่นสูง เนื้อผ้าจะดูสวย เป็นระเบียบ นิยมใช้ตามโรงแรมต่างๆ)

  4. บรรจุภัณฑ์
    ผู้ประกอบการอาจบรรจุในซองผ้า ซองพลาสติก ถุงแก้วใส ถุงไหมแก้ว กล่อง พลาสติก และอาจตกแต่งบรรจุภัณฑ์ด้วย ริบบิ้น เส้นไหม หรือเชือกสวยๆ เพื่อเพิ่ม มูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้มากยิ่งขึ้น

เริ่มธุรกิจผ้าขนหนู

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผ้าขนหนู ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูป แบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษี ได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีก็จะต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

เมื่อเราเริ่มดำเนินธุรกิจนี้ เราต้องจ่ายภาษีอย่างไร

เตรียมการเริ่มผลิต

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และเครื่อง มือในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ก็จะต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้ต่อไป
    > ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการ ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้า และวัตถุดิบ

  • ภาษีศุลกากร
    หากผู้ประกอบการมีการนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
    1. เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่าน- พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
    2. ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

ถึงเวลาเริ่มจำหน่ายผ้าขนหนูกันแล้ว

เราสามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศ และส่งออกไปขายนอกประเทศ แต่ก็อย่าลืม ชำระภาษีดังนี้

จำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายน สำหรับเงินได้ใน เดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่ายครั้งแรก มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรม- สรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ยื่นทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า- เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า โดยเราต้องจัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบรายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี- มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จำหน่ายนอกประเทศ
เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อผ่านพิธีการ ศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อ เสียอากรขาออกตามที่กำหนดนอกเหนือจาก ภาษีเงินได้

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ