คลินิกภาษีกระเป๋า

โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เช่น กระเป๋าหนัง กระเป๋าสะพาย กระเป๋าโน้ตบุ๊ค กระเป๋า เอกสาร กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าล้อลาก ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม กระเป๋าหนัง กระเป๋าผ้า และกระเป๋าสะพาย ที่มีดีไซน์ทันสมัยตามแฟชั่นมักจะเป็น สินค้าที่ได้รับความนิยม เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ค้าส่ง หรือผู้ค้า ปลีกสามารถนำไปขายต่อให้กับผู้บริโภคตามร้านกระเป๋าในศูนย์ การค้าหรือตามตลาดนัดทั่วไปได้ง่ายทำให้มียอดการผลิตที่สูง และ นอกจากยอดการขายแบบนี้แล้ว โรงงานยังอาจจะมีออเดอร์สั่งผลิตกระเป๋าจากบริษัทห้างร้าน ต่างๆ เพื่อใช้แจกเป็นของที่ระลึกให้ลูกค้าอีกด้วยเพราะเป็นสินค้าที่นอกจากจะให้ความสวย งามแล้วยังมีประโยชน์ในการใช้งาน จึงทำให้โรงงานผลิตกระเป๋ามีรายได้และแนวโน้มของ ธุรกิจที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเสมอมา

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยในการประกอบธุรกิจโรงงานผลิตกระเป๋า

  • วัตถุดิบ วัตถุดิบในการผลิตกระเป๋ามีค่อนข้าง หลากหลาย ได้แก่ หนังแท้ หนังเทียม ผ้าโพลีเอสเตอร์ หรือ พลาสติกขึ้นรูป เป็นต้น

  • รูปแบบหรือดีไซน์ของกระเป๋า ผู้ประกอบการควรเตรียมรูปแบบกระเป๋า ไว้ให้ลูกค้าเลือกอยู่จำนวนหนึ่ง เพื่อให้ใกล้เคียง ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด แต่โรงงาน ก็สามารถผลิตตามคำสั่งของลูกค้าได้ในกรณี ที่ลูกค้ามีแบบมาอยู่แล้ว นอกจากนี้ โรงงาน ควรผลิตสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้าพิจารณาก่อน เริ่มสั่งผลิตสินค้าจริงว่าตรงตามความต้องการ ของลูกค้าหรือไม่

  • การกำหนดราคา ผู้ประกอบการควรคำนึงว่าสินค้ากระเป๋า แต่ละแบบและแต่ละครั้งในการผลิตจะมีราคา ผลิตต่อชิ้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะ และ รูปแบบของกระเป๋าที่ต้องการ รวมถึงจำนวนปริมาณในการสั่งผลิตต่อครั้ง ยิ่งปริมาณสั่ง ผลิตต่อครั้งมาก ค่าใช้จ่ายในการสั่งผลิตกระ- เป๋าก็จะยิ่งถูกลง แต่สามารถคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม ในกรณีที่ลูกค้าต้องการปักหรือสกรีนโลโก้ ตราสินค้าของลูกค้าลงบนกระเป๋าได้

<img data-cke-saved-src="../images/products/pic444.jpg" src="../images/products/pic444.jpg" "="">

ผลิตกระเป๋าสร้างรายได้

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตกระเป๋า ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ ตามรูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ ระบบภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่ มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปีก็จะต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

เมื่อเริ่มการผลิต ก็ต้องเริ่มเรียนรู้เรื่องภาษีไว้แต่เนิ้นๆ

เตรียมการเริ่มผลิต

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดย ผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเราก็จะ ต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ ต่อไป ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการ ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้า และวัตถุดิบ

  • ภาษีศุลกากร
    หากผู้ประกอบการมีการนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้า ขาเข้าซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
    1. เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    2. ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละ ประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

ถึงเวลาเริ่มจำหน่ายกระเป๋า

พอเราเริ่มประกอบกิจการได้ จัดจำหน่ายในประเทศ มีรายได้ จนเริ่ม ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เราก็ต้อง เรียนรู้เรื่องวิธีการชำระภาษีด้วยเช่นกัน

จำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรก ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายน สำหรับเงินได้ใน เดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่สอง ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่สอง

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือยื่นทางอิน- เทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่น ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วัน สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษี ที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออก จากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า โดยเราต้องจัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบรายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จำหน่ายนอกประเทศ
เราจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนสินค้าขาออกเพื่อผ่านพิธีการ ศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อ เสียอากรขาออกตามที่กำหนดนอกเหนือจาก ภาษีเงินได้

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ