คลินิกภาษีเสื้อยืดสกรีน

ปัจจุบันร้านหรือโรงงานผลิตเสื้อยืดสกรีนเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งออกแบบและสกรีนเสื้อขายด้วยตนเอง หรือรับผลิต ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งเสื้อยืดสกรีนจัดว่าเป็นสินค้าที่เป็นที่ นิยมอย่างแพร่หลายในคนทุกเพศทุกวัย ดังนั้นสินค้าประเภทนี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจ

  • เสื้อยืด ผู้ประกอบการสามารถซื้อ เสื้อยืดจากผู้ค้าส่งตามแหล่งต่าง ๆ เช่น โบ๊เบ๊ สำเพ็งเพื่อนำมาสกรีนเสื้อต่อ

  • รูปแบบ (ดีไซน์) ของเสื้อสกรีน ผู้ประกอบการควรมีรูปแบบดีไซน์ลายเสื้อไว้ ให้ลูกค้าเลือกอยู่จำนวนหนึ่ง เพื่อให้ใกล้เคียง ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด แต่ ผู้ประกอบการก็สามารถผลิตตามคำสั่งของ ลูกค้าก็ได้ ในกรณีที่ลูกค้ามีแบบมาอยู่

  • บล็อกสกรีน บล็อกสำหรับสกรีนเสื้อ มักทำจากไม้คุณภาพดีเพื่อความคงทน บล็อก แต่ละอันจะมีลวดลายสำหรับการสกรีนแตก- ต่างกัน ผู้ประกอบการอาจทำบล็อกเอง หรือ สั่งทำจากร้านอื่น

การเริ่มธุรกิจผลิตเสื้อยืดสกรีน

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตเสื้อยืดสกรีน ผู้ประกอบธุรกิจสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ ตามรูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่- ระบบภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสีย ภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มี เงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

เตรียมตัวเริ่มต้นการสกรีน

ในขั้นตอนการเตรียมการผลิตเสื้อ ยืดสกรีนเราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ผู้ประกอบธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ ผู้ประกอบ ธุรกิจจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 จากผู้ขายโดยผู้ขายต้องออกใบ กำกับภาษีให้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องเก็บไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใน แต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้ รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจดทะเบียน เป็นผู้ประกอบการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อด้วย

  • ภาษีศุลกากร
    หากผู้ประกอบธุรกิจมีการนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้า ขาเข้าซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้อง ศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การจำหน่ายเสื้อยืดสกรีน ก็ต้องเรียนรู้ภาษีเช่นกัน

หลังจากเราทำธุรกิจซื้อเสื้อยืดแล้ว เราก็ สามารถจำหน่ายในประเทศและจำหน่าย เพื่อการส่งออก โดยต้องศึกษารายละเอียด เกี่ยวกับภาษี ดังนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรก ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายน สำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่ายครั้งแรก มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ- บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ผู้ประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของ รอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบ- ระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบ ระยะเวลาบัญชีมาหักออกจากภาษีที่คำนวณ ได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า- เพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ ผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้า ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดทำรายงาน สินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่น แบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่ายต่างประเทศ

นอกเหนือจากภาษีเงินได้จากการ จำหน่ายภายในประเทศแล้ว หากผู้ประกอบ- การ ต้องการจำหน่ายสินค้าประเภทนี้เพื่อ การส่งออกผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดง รายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนขาออกเพื่อ ผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออกตามที่ กำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ผลิตเสื้อยืดสกรีน

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ