“น้ำมันเหลือง” ยาแผนโบราณจากพืชสมุนไพรคุณภาพเยี่ยม สรรพคุณที่ใช้ดม ทา นวด เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ ไม่เป็นรองยาแผนปัจจุบัน กระบวนการผลิตก็ไม่ยุ่งยากใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น ราคาย่อมเยา... กินขาดยาแผนปัจจุบันขนานเดียวกันไปเลย ที่สำคัญคือ “กระบวนการด้านภาษี” ไม่ซับซ้อน ดังนั้น ผู้ประกอบการไม่ปวดหัวจนต้องใช้น้ำมันเหลืองช่วยบรรเทาอาการแน่นอน
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless | ขออนุญาตผลิตยาแผนโบราณ | ฉลาก/เครื่องหมายการค้า(อย.) | ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | ขอผลิตยาตัวอย่าง | ทะเบียนการค้า(พาณิชย์จังหวัด) | ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
ขอมาตรฐาน อย. | ขอขึ้นทะเบียนตำรับยา | เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (พัฒนาชุมชน) | ขอมาตรฐาน อย. |
จัดทำรายงานภาษี | ฉลาก/เครื่องหมายการค้า (อย.) |
ออกใบกำกับภาษี (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี | ทะเบียนการค้า (พาณิชย์จังหวัด) | ยื่นแบบฯ และเสียภาษี | |
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (พัฒนาชุมชน) | |||
จัดทำรายงานภาษี (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
|||
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | |||
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
น้ำมันเหลือง เป็นเครื่องมือในการรักษาตามแบบฉบับของแพทย์แผนไทยที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ทำขึ้นมาจากพืชสมุนไพร เช่น การบูร และหัวของพืชตระกูลขิงชนิดต่างๆ กัน โดยผู้ผลิตน้ำมันเหลืองส่วนใหญ่จะเก็บสูตรของตนไว้เป็นความลับ
น้ำมันเหลืองของไทย เช่น ใน จ.ตราด มีคุณสมบัติไม่เหมือนใคร จากสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุก และเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำให้ได้พืชวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคุณภาพเยี่ยม ผ่านกระบวนการผลิตที่แม่นยำ ประกอบไปด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติ 100%
ทั้งนี้ ในระหว่างกระบวนการผลิต ผู้ประกอบการจะต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีตามรอบปีภาษี
และในกรณีที่คุณไม่ได้ใช้วัตถุดิบหรือพืชสมุนไพรภายในท้องถิ่นนของตัวเอง แต่เลือกที่จะแตกต่างด้วย "การนำเข้าวัตถุดิบ" จากประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศอื่นๆ คุณต้อง...
- ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยคุณไปลงทะเบียนเอง หรือมอบอำนาจให้ "ตัวแทนออกของ" ดำเนินการให้ ณ ฝ่ายทะเบียน ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร กรมศุลกากร หรือที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไปของสำนักหรือสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร ซึ่งจะลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น
- ดำเนินการ "นำเข้าวัตถุดิบ" ผ่านพิธี การศุลกากรนำเข้าแบบไร้เอกสาร (e-Import) ตามระเบียบ พิธีการนำเข้า ของกรมศุลกากรทางช่องทางต่างๆ คือ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก และทางไปรษณีย์ อ๊ะๆ... อย่าลืมเช็ก พิกัดศุลกากร ของสิ่งที่คุณนำเข้าให้ดี เพื่อสะดวกในการชำระภาษีอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
ผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง | 1518.00.60 | 27% หรือ 0.75 บาท/Lit |
น้ำมันหอมระเหยจากสาระแหน่ | 3301.24.00 | 5% |
น้ำมันงา (ดิบ) | 1515.50.10 | 27% หรือ 0.75 บาท/Lit |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
- ทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบโดยใช้ระบบ e -Tracking ได้ โดยเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ http://e-tracking.customs.go.th/
ทั้งนี้ การนำเข้าวัตถุดิบนั้นคุณต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นชำระภาษีด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "นำเข้า"การส่งออกน้ำมันเหลืองที่ผลิตขึ้นจากภูมิปัญญาพื้นบ้านนี้... คุณต้อง
- ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยคุณไปลงทะเบียนเอง หรือมอบอำนาจให้ " ตัวแทนออกของ " ดำเนินการให้ (หากคุณ "นำเข้าวัตถุดิบ" มาผลิตน้ำมันเหลืองอยู่แล้ว แสดงว่าคุณได้ลงทะเบียนไว้แล้ว ดังนั้น ไม่ต้องลงทะเบียนอีกเพราะชื่อคุณได้อยู่ในระบบแล้ว)
ดำเนินการ “ส่งออก” น้ำมันเหลืองผ่าน พิธีการศุลกากรขาออก e-Export ตามระเบียบ พิธีการส่งออก ของกรมศุลกากรทางช่องทางต่างๆ คือ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก และ ทางไปรษณีย์
(ทั้งนี้... สินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่ จะมีอัตราอากรเป็น 0% หรือสินค้าบางอย่างจะได้รับ ยกเว้นภาษี ส่งออก และบางกรณีสามารถทำการ ขอคืนภาษี ได้ในภายหลัง)
การส่งออกน้ำมันเหลืองนั้นคุณต้องจัดทำรายงานภาษีเช่นเดียวกับการนำเข้า หรือกระบวนการผลิต เพื่อใช้ประกอบการ ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ต่อไป ได้แก่ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายงานของคุณ ดังนี้
การผลิตน้ำมันเหลืองออกจำหน่ายจนมีรายได้เข้าสู่ระบบธุรกิจของคุณแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตน้ำมันเหลือง ไม่ว่าจะการปลูก ผลิต บรรจุ ขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อหรือนำเข้าพืชสมุนไพร หรือวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อผลิตน้ำมันเหลือง เช่น ปุ๋ย วัสดุอุปกรณ์ ขวดบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลผลิตของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
ร้านขายดอกไม้” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากดอกไม้สามารถใช้...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
ร้านประดับยนต์เป็นธุรกิจที่จำหน่ายและบริการติดตั้ง อุปกรณ์เสริมตกแต่งรถยนต์ เช่น ฟิล์มก...
ถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากพืชที่สำคัญมากต่อร่างกายของเรา ซึ่งมีให้เลือกมากม...
"ปลากะตัก" สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนวชายฝั่งอันดามัน...
คนไทยมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟกันมาช้านาน ตั้งแต่ในยุคอดีตที่เป็นกาแฟชงในถุง ...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
ปัจจุบันเรื่องความสวยความงามกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเพศไหน วัยใดล้ว...
“ปลาสลิด” จัดเป็นสัตว์น้ำยอดนิยมที่ถูกนำมาแปรรูป ถนอมความส...
ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก “อาหารฮาลาล” ของชา...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย "กาแฟ"ก็ยังคงรักษาสถานะเครื่อง ดื่มยอด...
กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้...
ธุรกิจ “รถรับจ้าง” คือ ธุรกิจที่ให้บริการรถเช่าเหมาคัน (มักเป็นรถตู้หรือรถก...
"OTOP" เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และกำลังเติบโตก้าวสู่การส่งอ...
“ เครื่องปรับอากาศ ” เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน ที่พักอา...
ธุรกิจร้านอาหาร” มีอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ จำ...
เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีควา...