คลินิกภาษีเครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้

เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีความสวยงามของเนื้อไม้ และเป็นธรรมชาติ ซึ่งมีมากมายหลายประเภท อาทิ นาฬิกาแขวน ผนัง ราวแขวนเสื้อ กรอบรูป ตะกร้าผลไม้ ทั้งที่เป็นไม้หรือสาน จากไม้ ม่านหรือฉากกั้นที่เป็นไม้ กล่องใส่เครื่องประดับต่างๆ ที่ทำจากไม้ ภาชนะจัดเก็บ และอุปกรณ์ทำขนม เป็นต้น

โดยมีปัจจัยหลักของการประกอบธุรกิจคือ การออกแบบที่ทันสมัย มีดีไซน์และเข้ากับ ประโยชน์ใช้สอย จึงจะเป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยผู้ประกอบการสามารถใส่ความคิดสร้าง สรรค์ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงแนวโน้มความต้องการ ของลูกค้าในขณะนั้น

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

เริ่มธุรกิจกันดูหน่อย

เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตเครื่องใช้ ภายในบ้านที่ทำจากไม้ ผู้ประกอบการ สามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบของ กิจการและสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้โดยการ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย

ในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการจัดตั้ง โรงงานผลิต ผู้ประกอบการต้องขออนุญาต ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย

นอกจากนี้ ในการผลิตเครื่องใช้ภายใน บ้านที่ทำจากไม้ยังต้องพิจารณากฎหมาย ต่าง ๆ ดังนี้

  1.  กฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2519) ว่าด้วยการแปรรูป ไม้ และมีไม้แปรรูป

  2.  ประกาศกระทรวงเกษตร และสห- กรณ์กำหนดเขตควบคุมสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามแก้ไข้ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 5) วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2534

  3. ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการควบคุม การแปรรูปไม้ พ.ศ. 2541

  4.  ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการควบคุม การแปรรูปไม้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544

  5.  ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการควบคุม การแปรรูปไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545

  6.  ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการออก หนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ไม้ พ.ศ. 2546

  7.  ข้อกำหนดกรมป่าไม้ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2520) ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้

  8. ข้อกำหนดกรมป่าไม้ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2525) ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้

  9. ข้อกำหนดกรมป่าไม้ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2526) ว่าด้วยการควบคุมสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้ หวงห้าม

  10.  ข้อกำหนดกรมป่าไม้ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2528) ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ เพื่อประดิษฐกรรม

  11.  ข้อกำหนดกรมป่าไม้ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2532) ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้

การเตรียมธุรกิจผลิตเครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้

ในขั้นตอนการเตรียมการผลิตเครื่องใช้ ภายในบ้านที่ทำจากไม้ เราต้องเกี่ยวข้องกับ เรื่องของภาษี ดังนี้

การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียนหรือไม่ ผู้ประกอบการ จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อ เป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียนหรือไม่ ผู้ประกอบการ จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อ เป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ

  • ภาษีศุลกากร
    หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เรามีหน้าที่ต้อง ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคลการจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

การใช้แบบ สิทธิบัตร หรือเครื่องหมาย ของผู้อื่นเพื่อผลิตเครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำ จากไม้
ในกรณีที่มีการใช้แบบ สิทธิบัตรในการ ผลิต ตรา เครื่องหมายหรือสิ่งที่เป็นทรัพย์สิน ทางปัญญาของบุคคลอื่นมาผลิตเครื่องใช้ ภายในบ้านที่ทำจากไม้ ผู้ประกอบการต้องเสีย ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายจากผู้ให้สิทธิ์ เมื่อจ่าย ค่าสิทธิ

การจำหน่ายเครื่องใช้ในบ้านที่ทำจากไม้

การจำหน่ายเครื่องใช้ในบ้านที่ทำจากไม้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ครั้งแรก ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติ บุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ผู้ประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่วันครบ 6 เดือนของ รอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบ ระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบ ระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณ ได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้ แก่ผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้า
    > ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดทำรายงาน สินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขายและ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดไปการส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่ายต่าง ประเทศนอกเหนือจากภาษีเงินได้ดังเช่นการ จำหน่ายภายในประเทศแล้ว หากผู้ประกอบ การต้องการจำหน่ายสินค้าประเภทนี้เพื่อการ ส่งออกผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดง รายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษีใน อัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนขาออกเพื่อผ่าน พิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออกตามที่กำหนด

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ