ของเล่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ ได้ ซึ่งแต่ละ ช่วงอายุของเด็กต้องการการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้ประกอบการควรกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจนว่า อยู่ช่วงอายุใด ของเล่นควรช่วยเสริมพัฒนาการด้านใด เพื่อที่จะ ออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดย ศึกษาจากพัฒนาการของเด็กได้ดังนี้
เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี เด็กในวัยนี้จะสามารถตอบสนองต่อการสัมผัสต่างๆ ได้ ดังนั้น ของ เล่นจึงควรกระตุ้นพัฒนาการด้านการสัมผัส โดยเป็นของเล่นที่มีรูปทรงต่างๆ ไม่ซับซ้อน เช่น ทรงสามเหลี่ยม ทรงสี่เหลี่ยม เป็นต้น แต่ต้องมีความปลอดภัยต่อเด็ก คือ มีขนาดใหญ่พอสมควร (เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กกินของเล่นจนติดคอ) ไม่มีความแหลมคม มีความทนทาน ไม่แตกหักง่าย และทำจากสีที่ปลอดสารพิษ
เด็กวัย 1 – 2 ปี จะเริ่มหัดคลาน หัดเดิน ดังนั้น ของเล่นจึงควรเคลื่อนไหวได้ตามเด็ก เช่น รถไฟ รถลาก เป็นต้น
เด็กวัย 2 – 4 ปี จะเริ่มอยากรู้อยากเห็น มีจินตนาการ สามารถเคลื่อนไหวและทรงตัว ได้ดีขึ้น ดังนั้น ของเล่นจึงอาจเป็นภาพตัดต่อ (Jigsaw) หนังสือวาดภาพระบายสี ของเล่นสำหรับ การเล่นบทบาทสมมติ (เล่นทำอาหาร เล่นขายของ)
เด็กวัย 4 – 6 ปี จะเริ่มมีความพร้อมด้านต่างๆ มากขึ้น ทั้งด้านการเคลื่อนไหว ด้านการ อ่าน และด้านการใช้ความคิดเหตุผล เริ่มเล่นกลางแจ้งและเล่นเป็นกลุ่มมากขึ้น ดังนั้นของเล่น จึงอาจเป็นหนังสือนิทาน หนังสือคำทายปริศนา ลูกบอล
ต้นทุนในการออกแบบผลิตภัณฑ์
ผู้ประกอบการอาจคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือว่าจ้างผู้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีค่าแรงผู้ออกแบบ รวมถึงค่าวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือถ้าซื้อแบบ ผลิตภัณฑ์จากผู้อื่นก็จะต้องมีค่าลิขสิทธิ์
ต้นทุนการผลิต
วัสดุที่ใช้ในการผลิตของเล่นต้องคำนึง ความปลอดภัยของเด็ก คือ ไม่มีความแหลม- คม มีความทนทาน ไม่แตกหักง่าย และไม่มี ส่วนผสมของสารหรือสีที่เป็นอันตราย วัสดุ ที่ใช้อาจเป็นผ้าพลาสติก กระดาษ ใยสัง- เคราะห์ เป็นต้น
เมื่อต้องการเริ่มธุรกิจผลิตของเล่น ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ ตามรูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการจัด ตั้งโรงงานผลิต ผู้ประกอบการต้องขออนุญาต ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและขอ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ในขั้นตอนการเตรียมการผลิตของเล่น ผู้ประกอบการต้องเกี่ยวข้องกับภาษี ดังนี้
การซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
> ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียนหรือไม่ ผู้ประกอบการ จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้
> ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการ ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้า และวัตถุดิบ
ภาษีศุลกากร
หากผู้ประกอบการมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ ผู้ประ- กอบการมีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่ง มีขั้นตอน ดังนี้
> เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร(Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
> ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า
การจ้างลูกจ้าง
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ
การจัดหาสถานที่ตั้ง
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ
การใช้แบบ สิทธิบัตร หรือเครื่องหมาย ของผู้อื่นเพื่อผลิตของเล่น
ในกรณีที่มีการใช้แบบ สิทธิบัตรในการ ผลิตตรา เครื่องหมายหรือสิ่งที่เป็นทรัพย์สิน ทางปัญญาของบุคคลอื่นมาผลิตของเล่น ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายจากผู้ให้สิทธิ์ เมื่อจ่ายค่าสิทธิ
หลังจากที่เราผลิตของเล่นออกมาแล้ว และสามารถจำหน่ายทั้งในประเทศและ จำหน่ายเพื่อการส่งออก เราต้องรู้รายละเอียด เกี่ยวกับภาษี ดังนี้
การจำหน่ายในประเทศ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
> ครั้งแรก ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
> ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ที่ผู้ประกอบการตั้งอยู่หรือทาง อินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
> ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลา บัญชี
> ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
> ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษี ให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้า
> ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดทำรายงาน สินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขายและ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ใน แต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่าย ต่างประเทศ
นอกเหนือจากภาษีเงินได้ ดังเช่นการ จำหน่ายภายในประเทศแล้วหากผู้ประกอบ- การต้องการจำหน่ายสินค้าประเภทนี้เพื่อ การส่งออกผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดง รายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขนขาออกเพื่อ ผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออกตามที่กำหนด
• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า
“น้ำมันมะพร้าว” สินค้ายอดฮิตของผู้ประกอบการ ทั้ง OTOP วิสา...
เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ ...
“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็น...
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ลำไยอบแห้ง” เป็นหนึ่งในบรรดาของฝากยอดฮ...
“เครื่องปั้นดินเผา” เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่นำดินมาปั้...
ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
ส่วนใหญ่คนนิยมเปิดร้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขนาดเล็กเพราะใช้เงินลงทุนน้อย และมักจำหน...
ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
ร้านเสริมสวย” เป็นการให้บริการเสริมความงามให้แก่ผู้หญิงและผู้ชาย ประเภทของ บริการ...
“เครื่องถมและเครื่องเงินลงยา” เป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูงอีก...
ขนมไทยที่เราคุ้นเคยกันดี นอกจากเป็นของที่มีคุณค่าแล้ว ในเชิงมูลค่า “ขนมไทย”...
มะม่วงเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่รสชาติถูกปาก ประโยชน์หลากหลายถูกใจ มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและแป...
เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีควา...
เครื่องดื่มประเภท “น้ำชา” นอกจากช่วยดับกระหายคลายง่วงแล้ว ...
หากคุณกำลังคิดสร้างรายได้โดยเล็งตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เอาไว้ “ผลิตภ...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดงเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น และว...
ถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากพืชที่สำคัญมากต่อร่างกายของเรา ซึ่งมีให้เลือกมากม...
ธุรกิจร้านให้เช่ารถมักนิยมเปิดให้บริการในเขตเมืองท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพ, เชียงใหม่, ภู...