คลินิกภาษีมีดอรัญญิก

จากสินค้าที่เป็นที่รู้จักและซื้อขายกันเฉพาะในท้องถิ่น ปัจจุบัน " มีดอรัญญิก " กลายเป็นสินค้าคุณภาพที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยความประณีตของฝีมือช่างไทย ทำให้มีดอรัญญิกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังเป็นสินค้าจากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น

ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจนี้ นอกจากต้องเตรียมพร้อมเรื่องกำลังคนและเงินที่จะนำมาลงทุนแล้ว สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจเรื่องของ "ภาษี" เพราะไม่เพียงแต่จะนำพาให้ธุรกิจเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless จัดทำรายงานภาษี ออกใบกำกับภาษี ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ยื่นแบบฯ และเสียภาษี จัดทำรายงานภาษี ขั้นตอนพิธีการส่งออก
จัดทำรายงานภาษี   ยื่นแบบฯ และเสียภาษี ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม     จัดทำรายงานภาษี
      ยื่นแบบฯ และเสียภาษี

ทำความรู้จักมีดอรัญญิก

ผลิตภัณฑ์มีดอรัญญิกที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 4 ตระกูล ได้แก่ มีดตระกูลเกษตรกรรม มีดตระกูลคหกรรม มีดตระกูลอาวุธ และมีดตระกูลอื่นๆ ซึ่งแต่ละตระกูลสามารถจำแนกตามลักษณะประเภทของการใช้งานได้อีกหลากหลาย เช่น

จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี)
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless จัดทำรายงานภาษี ออกใบกำกับภาษี ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ยื่นแบบฯ และเสียภาษี จัดทำรายงานภาษี ขั้นตอนพิธีการส่งออก
จัดทำรายงานภาษี   ยื่นแบบฯ และเสียภาษี ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
ยื่นแบบฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม     จัดทำรายงานภาษี
      ยื่นแบบฯ และเสียภาษี

ทำความรู้จักมีดอรัญญิก

ผลิตภัณฑ์มีดอรัญญิกที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 4 ตระกูล ได้แก่ มีดตระกูลเกษตรกรรม มีดตระกูลคหกรรม มีดตระกูลอาวุธ และมีดตระกูลอื่นๆ ซึ่งแต่ละตระกูลสามารถจำแนกตามลักษณะประเภทของการใช้งานได้อีกหลากหลาย เช่น

  • ประเภทมีดชุด
  • ประเภทดายหญ้า
  • ประเภทตัด
  • ประเภทมีดครัว
  • ประเภทมีดบนโต๊ะอาหาร
  • ประเภทอุปกรณ์โต๊ะอาหาร
  • ประเภทพกพา
  • ประเภทเก็บไว้ในเรือน
  • ประเภทของขวัญ
  • ประเภทของชำร่วย
  • ประเภทประดับ

นอกจากนี้ ผู้ที่จะทำธุรกิจมีดอรัญญิกยังต้องเข้าใจเรื่อง ระบบการผลิตและการจัดจำหน่าย เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจก่อนลงมือทำธุรกิจ

ลับ "คม" ความรู้

ระบบการผลิตและการจัดจำหน่าย

  1. ใช้ทุนของตนเอง และทำมีดเพื่อจำหน่ายเอง
  2. ใช้ทุนตนเองทำโดยมีพ่อค้ามารับซื้อ ซึ่งมีทั้งพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่นและพ่อค้าคนกลางต่างถิ่น
  3. นำเงินทุนของพ่อค้าคนกลางมาลงทุนก่อน แล้วทำส่งพ่อค้าคนกลาง โดยหักค่าดำเนินการ
  4. รับจ้างทำเฉพาะส่วน เช่น รับจ้างทำแค่ตัวมีด หรือเข้าด้าม
  5. กู้เงินจากแหล่งเงินทุนมาทำ

"นำเข้า" อย่างเข้าใจ

หากผู้ประกอบการต้องการนำสินค้าเข้ามาในประเทศ ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ คุณต้องเริ่มต้นโดย... จดทะเบียนพาณิชย์ >> ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร >> จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม >> ลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) >> พิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Import) >> จัดทำรายงานภาษี >> ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดย สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ที่ผู้ประกอบการจะได้รับมีอยู่ 3 ด้านด้วยกัน คือ

  1. การคืนอากร
  2. การชดเชยค่าภาษีอากร
  3. การยกเว้นอากร

ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการได้มีศักยภาพที่พร้อมจะนำสินค้าเข้าแข่งขันในตลาด

ลับ "คม" ความรู้

  • จดทะเบียนพาณิชย์: การประกอบกิจการขายสินค้าอะไร อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม หากคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร: เพื่อใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากรรวมทั้งการจัดทำเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดทำใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น (เริ่มใช้ 1 ก.พ.55)
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม: หากผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แน่นอนว่าคุณต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนได้เช่นกัน)
  • การลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร หรือ Paperless (ลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก) มีขั้นตอนดังนี้
    1. กรอกแบบฟอร์มการลงทะเบียน
    2. ยื่นเอกสารลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่
    3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแบบคำขอลงทะเบียนและเอกสารหลักฐาน
    4. หัวหน้าฝ่ายทะเบียนหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปอนุมัติ
    5. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลในระบบทะเบียน
  • พิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Import) มีขั้นตอนต่อไปนี้
    1. ผู้ประกอบการ/ตัวแทนออกของรับอนุญาต ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Import)
    2. ระบบทำการตรวจสอบ (ฐานข้อมูล/ Paperless) ถ้าข้อมูลถูกต้อง ระบบจะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าไปยังผู้ส่งข้อมูล แต่หากยังไม่ถูกต้อง ระบบจะตอบ “error message” ไปยังผู้ส่งข้อมูลให้แก้ไข
    3. ชำระภาษีอากรของทุกหน่วยงาน โดยจ่ายผ่านกับทางกรมศุลกากร
    4. เข้าสู่ระบบสั่งการตรวจโดยศุลกากร
    5. การนำของออกจากอารักขาศุลกากรโดยติดต่อคลังสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าก่อนออกจากคลัง
    โดยทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบโดยใช้ระบบ e-Tracking ได้
  • จัดทำรายงานภาษี โดยจัดทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ภายใน 3 วันทำการ
  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วยการยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด โดยผู้นำเข้ามีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมยื่นใบขนสินค้า (กรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บภาษีแทน)

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
เครื่องมือที่ใช้งานด้วยมือ 3201.90.00 20%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

จัดการภาษีจากยากเป็นง่าย เพื่อ "การผลิตและจำหน่าย" คล่องตัว

ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติใน 2 ขั้นตอนหลัก คือ

  1. การจัดทำรายงานภาษี/บัญชี ซึ่งในส่วนของการจัดทำรายงานภาษี/บัญชี ผู้ประกอบการจะต้องทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายสินค้าและวัตถุดิบ โดยลงรายงานภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้สินค้ามาหรือจำหน่ายออกไป พร้อมจัดทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
  2. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี โดยแบ่งเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ลับ "คม" ความรู้

การจัดทำรายงานภาษี

  • รายงานภาษีซื้อ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงาน คือ "ใบกำกับภาษี"
  • รายงานภาษีขาย เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงาน คือ "สำเนาใบกำกับภาษี"
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงาน คือ "สำเนาใบกำกับภาษี" และ "ใบกำกับภาษี"

ยอดขายหรือรายได้ที่คุณได้รับจากธุรกิจมีดอรัญญิกนั้น ทำให้คุณจะต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ได้แก่ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายมีดอรัญญิก ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการผลิตมีดอรัญญิก การขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ/นำเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งการซื้อวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อผลิตมีดอรัญญิก ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลผลิตของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือ บิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

ข่าวดีภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"

ขับเคลื่อนไปข้างหน้า นำสินค้า "ส่งออก"

เพราะการส่งออกนับเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่จะช่วยกระจายสินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจถึงภาษีการส่งออกอย่างละเอียดด้วยเช่นกัน โดยมี 3 ขั้นตอนหลัก คือ การผ่านพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ >> การจัดทำรายงานภาษี/บัญชี >> การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตามแบบ ภ.พ.30 ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร) และ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

การผ่านพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์

  1. ผู้ประกอบการหรือตัวแทนออกของรับอนุญาต ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออกผ่านระบบพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Export)
  2. ตรวจสอบข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ เมื่อข้อมูลถูกต้อง ระบบจะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกไปยังผู้ส่งข้อมูล หากข้อมูลยังไม่ถูกต้อง ระบบจะส่งข้อมูลผิดพลาดกลับไปยังผู้ส่งข้อมูลให้แก้ไข
  3. ชำระหรือยกเว้นภาษีอากร ดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบการบรรจุ เช่น Freight Forwarders Agent เป็นต้น

ที่ทำการศุลกากรหรือตัดบัญชีผ่านธนาคาร ระบบจะออกเลขที่ชำระอากรในใบขนส่งสินค้า กรณีสินค้ายกเว้นอากรระบบจะออกเลขที่ยกเว้นอากรในใบขนสินค้าขาออกโดยอัตโนมัติ โดยปัจจุบันสินค้าส่งออกที่ไม่การเรียกเก็บค่าอากร ยกเว้น ได้แก่

  • เฉพาะเศษตัด เศษและผงของหนังโคและหนังกระบือ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำหนัง และผลิตหนัง
  • ไม้และไม้แปรรูป เฉพาะไม้รวก เฉพาะไม้วีเนียร์ และอื่นๆ
  1. การบรรจุสินค้า มี 3 ช่องทางในการขนส่ง คือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ คลังสินค้าการบินไทย และ คลังสินค้าบางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส (BFS)
  2. การจัดทำข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าเข้าระบบ e-Export จะใช้เลขที่ใบขนสินค้าขาออกในการส่งข้อมูล เมื่อข้อมูลถูกต้อง ให้ทำการแจ้งเลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้าไปยังผู้รับผิดชอบการบรรจุ หากข้อมูลไม่ถูกต้อง ส่งข้อมูล "error Message’ " ไปยังผู้รับผิดชอบการบรรจุให้แก้ไข เมื่อได้เลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้าแล้ว ผู้ประกอบการจะขนย้ายสินค้าไปยังท่าเรือหรือสนามบินที่ส่งออก

ลับ "คม" ความรู้

การจัดทำรายงานภาษี/บัญชี
ผู้ประกอบการต้องจัดทำรายงาน ดังนี้
  • รายงานภาษีซื้อ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงาน คือ ใบกำกับภาษี
  • รายงานภาษีขาย เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงาน คือ Invoice / Packing List / สำเนาใบขนสินค้าขาออก และ หลักฐานการรับชำระเงิน
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เอกสารหลักฐานประกอบการลงรายงาน คือ Invoice / Packing List / สำเนาใบขนสินค้าขาออก / หลักฐานการรับชำระเงิน

โดยลงรายการภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการ

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"

คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ