กลิ่นอันหอมหวนและเสน่ห์อันเย้ายวนของ "น้ำหอม" นั้น ดึงดูดผู้ประกอบธุรกิจในยุคนี้ให้หลงใหล สนใจสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ประเภทนี้กันมากมาย และอย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าน้ำหอมจัดเป็นสินค้าราคาสูง ฉะนั้น ผลกำไรที่ตามมาจึงงดงามไม่น้อย
ซึ่งวิธีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์น้ำหอมมีคุณภาพดี รายได้เยี่ยม คือ การหาข้อมูล การทดลองใช้ และพัฒนาสูตรให้เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ก่อนวางจำหน่าย เหนือสิ่งอื่นใดคือ การศึกษาขั้นตอนการเสียภาษีเพื่อชาติอย่างถูกต้อง เพื่อความราบรื่นและเอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) | |||
จดทะเบียนพาณิชย์ | |||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperlesss |
จดทะเบียนภาษีสรรพสามิต
- แจ้งวันเวลาทำการผลิต - แจ้งราคาขาย - ทำบัญชีประจำวัน และงบเดือนวัตถุดิบ และสินค้าสำเร็จรูป - ยื่นแบบรายการและชำระภาษีสรรพสามิต |
วางจำหน่าย | ลงทะเบียน Paperless |
ขออนุญาตนำเข้าน้ำหอม (อย.) พรบ.เครื่องสำอาง | ขออนุญาตขออนุญาตก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำหอม (กรณีใช้เครื่องจักรเกิน 5 แรงม้า หรือใช้คนเกินตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ตาม พ.ร.บ.โรงอุตสาหกรรม) | ออกใบกำกับภาษี และจัดทำรายงานภาษี | ยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษี |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า | แจ้งวันเวลาทำการผลิต | ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี | ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
จัดทำรายงานภาษีซื้อ/รายงานสินค้าและวัตถุดิบ | การแจ้งราคาขาย |
|
ออกใบกำกับภาษี และจัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี | ทำบัญชีประจำวันและงบเดือนวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป |
|
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี |
|
ชำระภาษีสรรพสามิต |
|
|
|
ออกใบกำกับภาษี และจัดทำรายงานภาษี |
|
|
|
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี |
|
|
"น้ำหอม" เครื่องสำอางคู่โต๊ะเครื่องแป้งที่เราใช้กันอยู่ และพบเห็นทั่วไปในท้องตลาด เกิดจากการรวมตัวกันของ ‘น้ำมัน’ และ ‘แอลกอฮอล์’ ผสมกลิ่นสกัดมาจากดอกไม้ในธรรมชาติหรือกลิ่นที่สังเคราะห์ขึ้นมา กลายเป็นสารละลายหอมระเหย ใช้ทาหรือพ่นตามเสื้อผ้าหรือร่างกาย น้ำหอมจะระเหยออกมาพร้อมกับส่งกลิ่นชวนดมออกมาด้วย ซึ่งจะมีหลายกลิ่นและบางกลิ่นเกิดจากการนำกลิ่นดอกไม้หลายชนิดมาผสมกัน
"น้ำหอม" จัดเป็นเครื่องสำอางที่จำแนกอยู่ในหมวดตามรูปแบบผลิตภัณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยแบ่งน้ำหอมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
การทำธุรกิจ "น้ำหอม" ผู้ประกอบการต้องสำรวจความสนใจและศักยภาพของตนเองว่าจะดำเนินธุรกิจไปในทิศทางใด เพื่อการจัดการธุรกิจที่เป็นระบบ
โดยก่อนที่จะเริ่มทำการ "นำเข้า" "ผลิต" "จำหน่าย" หรือ "ส่งออก" สิ่งที่คุณจะต้องทำความเข้าใจและลงมือปฏิบัติ ได้แก่
หลังจากนั้น... จะนำเข้าน้ำหอมสำเร็จรูป ผลิตเอง จำหน่าย หรือส่งออกขายต่างประเทศก็ง่ายยิ่งกว่า "ฉีดน้ำหอม" เสียอีก
เมื่อมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว ขั้นตอนแรกของการนำเข้าน้ำหอมก็คือ การลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า – ส่งออกตามคู่มือระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งจะทำการลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้นเพื่อให้ระบบจดจำว่าคุณคือผู้ประกอบการนำ-เข้าส่งออก ของกรมศุลกากร จากนั้นคุณก็สามารถส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า ผ่านระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
เมื่อเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกแล้ว การจะนำเข้าสินค้า "น้ำหอมสำเร็จรูป" หรือ "นำเข้าหัวน้ำหอมหรือส่วนผสมอื่นๆ" คุณจะต้องศึกษาเรื่อง พิกัดศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับน้ำหอม เพื่อจดตัวเลข 8 หลักมาใช้ในการประเมินราคาการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
น้ำหอม | 3303.00.00 | 30% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
นอกจากนี้ในการนำเข้าน้ำหอมหรือวัตถุดิบอันเกี่ยวเนื่องกับการทำน้ำหอมเข้ามาผลิตหรือจำหน่ายในประเทศ คุณจะต้องทำการขอใบอนุญาตและหนังสือรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตาม พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ด้วย เพราะ "น้ำหอม" จัดเป็นเครื่องสำอางที่ต้องได้รับอนุญาตและควบคุมการนำเข้านั่นเอง
ทั้งนี้ คุณสามารถชำระภาษีอากรของทุกหน่วยงานผ่านกรมศุลกากร โดย...
การนำเข้าน้ำหอมคุณจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รวมทั้ง รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและเสียภาษีตามกฎหมาย
การลงรายการภาษีซื้อ เป็นภาษีซื้อที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
การลงรายการภาษีขาย เกิดขึ้นเนื่องจาก
** ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
คุณต้อง จดทะเบียนภาษีสรรพสามิต ก่อนจะผลิตน้ำหอมออกจำหน่าย (แบบ ภษ.01-04) และทำการ ขออนุญาตผลิตน้ำหอม พร้อม แจ้งวันและเวลาทำการผลิต ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 นอกจากนี้ยังต้อง แจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (แบบ ภษ.01-44) และจัดทำบัญชีประจำวัน (แบบ ภษ.01-05, 01-06) และ งบเดือนวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป (แบบ ภษ.01-42) เพื่อยื่นชำระภาษีของกรมสรรพสามิต ซึ่งแบ่งได้เป็น...
** ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
เช่นเดียวกับผู้นำเข้าน้ำหอมหรือวัตถุดิบเพื่อการผลิตน้ำหอม... ผู้ที่จะส่งออกน้ำหอมจะต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกตามคู่มือระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ก่อน แต่หากคุณเคยลงทะเบียนตั้งแต่พิธีการนำเข้าแล้ว... ก็ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย
จากนั้นให้คุณยื่น คำขอยกเว้นและคืนภาษีสรรพสามิต ได้ที่กรมสรรพสามิต (แบบ ภษ.01-28) และ ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบพิธีการส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน โดยผู้ส่งออกต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และส่งข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าทางอากาศยาน พร้อมกันในคราวเดียว
โดยข้อมูลในใบกำกับฯ จะบันทึกรวมกับการบันทึกข้อมูลใบขนสินค้าขาออก เลขที่ใบกำกับฯ ใช้เลขที่เดียวกับใบขนสินค้า ให้ผู้ส่งของออกหรือตัวแทนที่ยื่นขอรับรองใบขนสินค้าขาออกต่องานธุรการ ส่วนบริการศุลกากร 2 ณ อาคารตรวจสินค้าขาออก (CE) ชั้น 2 พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการจำลองเอกสารตามอัตราที่กำหนดไว้ในใบแบบ ศ.5 เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิมพ์ใบขนสินค้าจากระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ซึ่งมีข้อความว่า ‘ใบขนสินค้าได้พิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร’ พร้อมลงนามรับรอง
ทั้งนี้ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบในการยื่นชำระภาษี และควรตรวจสอบข้อมูลรวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำน้ำหอมเข้าไปจำหน่ายด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น
** ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
การผลิตน้ำหอมออกจำหน่ายจนมีรายได้เข้าสู่ระบบธุรกิจของคุณแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"
เครื่องทองโบราณ เป็นงานฝีมือที่ใช้วัตถุดิบทองคำเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99...
ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูล...
“สปา” เป็นธุรกิจบริการประเภทส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับความนิย...
มะม่วงเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่รสชาติถูกปาก ประโยชน์หลากหลายถูกใจ มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและแป...
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจแต่อยากมีธุรกิจเป็นของ ตนเอง อาจจ...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...
นับวันความต้องการบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น
ทั้งเครื่องดื่ม...ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายหนังสือ เราต้องเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังต่อไปนี้
ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อา...
ในการประกอบกิจการนอกเหนือจากความถนัดในวิชาชีพแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความรัก เ...
ปัจจุบันเรื่องความสวยความงามกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเพศไหน วัยใดล้ว...
"ปลากะตัก" สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนวชายฝั่งอันดามัน...
‘ไวน์ผลไม้” กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจ...
ของเล่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆ ได้ ซึ่งแต่ละ ช่วงอาย...
ผลิตภัณฑ์ปลาร้านับว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เริ่มขยับจากธุรกิจในระดับครัว เรือนหรือธุรกิจขนา...
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เที...
“น้ำมันมะพร้าว” สินค้ายอดฮิตของผู้ประกอบการ ทั้ง OTOP วิสา...
ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จะขายอุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเช่น ที่ชาร์...
ผ้าทอลายขิด เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิ...
ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ซึ่งการจะก้าวขึ้นมายืนในจุดนี้ได้นั้น นอกเหนือจ...