คลินิกภาษีผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา

ลูกชิ้นปลา... อาหารว่างที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในบ้านเราเสมอมา เนื่องจากหาทานได้ง่าย รสชาติถูกปากคนทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์เป็นอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ปิ้ง-นึ่ง-ทอด ก๋วยเตี๋ยว ยำ ฯลฯ การขายลูกชิ้นปลาจึงเป็นธุรกิจที่ทั้งขายง่ายและได้กำไรดี ดึงดูดความสนใจของผู้ประกอบการจำนวนมาก แต่จะหวังทำกำไรให้สูงสุดเพียงอย่างเดียวไม่ได้...หากจะทำธุรกิจเกี่ยวกับ “ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา” คุณต้องเสียภาษีอย่างครบถ้วน ถูกต้องตามกฎหมายและตามหน้าที่ของพลเมืองที่ดีของประเทศชาติด้วย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

จดทะเบียนพาณิชย์
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน)
นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
ลงทะเบียน Paperless ขอมาตรฐาน อย. วางจำหน่าย ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี ออกใบกำกับภาษี ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขอมาตรฐาน อย. ยื่นแบบฯ และเสียภาษี จัดทำรายงานภาษี (ขายในประเทศ) ขอมาตรฐาน อย.
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบฯ และเสียภาษี จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี ยื่นแบบฯ และเสียภาษี

เปิดหน้าร้าน

ลูกชิ้นปลา คือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากเนื้อปลา นำมาผสมกับเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ และวัตถุเจือปนอาหารอื่น บดผสมกันจนละเอียดรวมเป็นเนื้อเดียวกัน อาจผสมส่วนประกอบอื่น เช่น สาหร่าย แครอท ต้นหอม แล้วทำให้เป็นรูปทรงตามต้องการ จากนั้นจึงลวกให้สุก

ป.ปลาน่ารู้

ปลาที่ให้ความเหนียวและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำลูกชิ้น ได้แก่ ปลาอินทรี ปลาดาบลาว ปลาหางเหลือง ปลากราย ปลาสลาด ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง

ฉะนั้น ในการทำอุตสาหกรรมลูกชิ้นส่วนใหญ่จึงต้องใช้ปลาที่มีราคาถูก เช่น ปลาไหลทะเล ปลาฉลาม ปลาแดงตาโต ปลาน้ำดอกไม้ ปลาข้างเหลือง ปลาทรายแดง ปลาทรายขาว และปลาปากคม

ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา ไม่ว่าจะลงมือผลิตตามสูตรของตัวเอง ซื้อแฟรนไชส์มาทำ คัดสรรวัตถุดิบจากแหล่งผลิตภายในประเทศ หรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ก็ควรเริ่มต้นด้วยการยื่นแบบ คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ จากนั้นจึง ยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่าย ฯลฯ

เรื่องน่ารู้คู่ภาษี

วัตถุดิบหลักของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา คือ "ปลา" อันเป็นสัตว์น้ำ ตามกฎหมายแล้ว ไม่ว่าจะมีรายได้จากยอดขาย "ปลา" เกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ก็ตาม คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโดยอัติโนมัติ (เฉพาะกรณีเป็นสัตว์น้ำที่จำหน่ายในประเทศเท่านั้น)

แต่เมื่อ "ปลา" ถูกนำมาแปรรูปเป็นลูกชิ้น คุณจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ในกรณีมีรายได้ถึงเกณฑ์จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจริง) ซึ่งหากรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณก็สามารถเลือกที่จะจดหรือไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ โดยที่...

  • ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อแสดงตนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร
  • ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่คุณต้องทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายในแต่ละปี เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรต่อไป
  • เป็นผู้ประกอบการนำเข้าวัตถุดิบ หรือส่งออกผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาไปจำหน่ายต่างประเทศ ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ไม่ว่าจะมีรายได้จากยอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ก็ตาม)

ทั้งนี้ หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ "จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม" ไม่ว่าเนื่องจากกรณีใดๆ คุณต้อง

  • จัดทำ รายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้นำเข้า)
  • จัดทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และ/หรือเป็นผู้ส่งออก)

นำเข้าวัตถุดิบลูกชิ้นปลาคุณภาพ

แม้ประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตอาหารแปรรูปจากเนื้อปลาที่มีคุณภาพอยู่แล้ว แต่คุณอาจ "นำเข้าวัตถุดิบลูกชิ้นปลาหรือเนื้อปลาบด" จากต่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แสวงหารสชาติแปลกใหม่ รวมถึงอาจนำเข้าวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการแปรรูปแล้วส่งออกไปขายให้กับลูกค้าในต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง

และแน่นอนว่าเมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาในประเทศ คุณต้องผ่านกระบวนการนำเข้าสินค้าจากกรมศุลกากรโดยเริ่มจาก ลงทะเบียน ในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อให้ระบบจดจำว่าคุณคือผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของกรมศุลกากร (ลงทะเบียนเพียงครั้งแรกครั้งเดียว) เมื่อลงทะเบียนแล้วจึงดำเนินการนำเข้าสินค้าตาม พิธีการนำเข้า ของกรมศุลกากรต่อไป

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา 1604.20.99 30% หรือ 100 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาสด หรือเนื้อปลา เป็น สินค้าที่ควบคุมการนำเข้าโดยกรมประมง และกระทรวงสาธารณสุข คุณจึงต้องมี เอกสารใบอนุญาตการนำสัตว์น้ำเข้าราชอาณาจักร และ คำขออนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตาม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 เพื่อประกอบการตรวจสอบเอกสารของกรมศุลกากรด้วย

จากนั้นจึงจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตลอดจนรายละเอียดสินค้าคงเหลือ เพื่อยื่นเสนอต่อกรมสรรพากรต่อไป โดยมีเอกสารประกอบรายงาน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร เอกสาร Invoice และเอกสาร Packing List

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"

การผลิตลูกชิ้นปลา

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญต่อการผลิตลูกชิ้นปลาระดับคุณภาพ นอกเหนือจากการเลือกใช้วัตถุดิบชั้นดีแล้ว กระบวนการผลิตลูกชิ้นปลายังต้องมีความปลอดภัยและได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

ซึ่งคุณสามารถยื่น ขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานระบบคุณภาพอาหาร GMP, HACCP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล เพื่อให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

และระหว่างกระบวนการผลิตคุณต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ) เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีกับกรมสรรพากรต่อไป

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"

ส่งออกลูกชิ้นปลาคุณภาพ

เนื่องจากผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาของไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งนับว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปจากเนื้อปลาติดอันดับต้นๆ ของโลก

สถิติการนำเข้า-ส่งออก ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา
ประเภท ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554
นำเข้า (บาท) - - -
ส่งออก (บาท) 19,982,524,936 22,613,252,197 25,453,356,350

ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจลูกชิ้นปลาที่มีศักยภาพขยายกิจการให้เติบโตจนสามารถส่งออกสินค้าให้ ‘โกอินเตอร์’ ไปต่างแดนได้ จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจและดำเนินการเกี่ยวกับการส่งออกสินค้ากับกรมศุลกากรให้ถูกต้อง ตั้งแต่การลงทะเบียนแบบ Paperless (หากเคยลงทะเบียนแล้วไม่ต้องดำเนินการขั้นตอนนี้อีก) และทำ พิธีการส่งออกสินค้าทางอากาศยาน ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ ตามแต่ว่าคุณส่งสินค้าออกทางไหน ให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของกรมศุลกากร (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หน้าความรู้ภาษี กรมศุลกากร)

ตลอดจน ศึกษากฎระเบียบเกี่ยวกับการส่งออกสินค้า ไปยังประเทศปลายทาง เพื่อให้ดำเนินการได้อย่างราบรื่นจนกระทั่งส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้าในต่างแดนต่อไป

นอกจากนี้ คุณซึ่งเป็นผู้ประกอบการส่งออกผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาจะต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อไปด้วย

ภาษีกับรายได้

เมื่อมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาจนมีรายได้เข้าสู่ระบบธุรกิจของคุณแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับกรมสรรพากร ดังนี้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตลูกชิ้นปลานั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อหรือนำเข้าลูกชิ้นเนื้อปลา หรือวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อผลิตลูกชิ้นปลา เช่น เครื่องปรุง เครื่องเทศ อุปกรณ์ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

ข่าวดีภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ