นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
จดทะเบียนพาณิชย์ | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) | |||
ลงทะเบียน Paperless | จดทะเบียนภาษีสรรพสามิต |
จัดทำใบกำกับภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ยื่นคำขอยกเว้น / คืนภาษีสรรพสามิต |
พิธีการนำเข้าสินค้า และเสียภาษีสรรพสามิต | แจ้งวันเวลาทำการ / แจ้งราคาขาย ณ โรงงานฯ |
จัดทำรายงานภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขอยกเว้น ภาษีสรรพสามิต | ขอยกเว้น ภาษีสรรพสามิต |
ยื่นแบบชำระภาษี หรือขอคืนภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
จัดทำใบกำกับภาษี (เฉพาะเข้าหลักเกณฑ์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ชำระภาษีสรรพสามิต | ยื่นแบบแสดงรายการภาษี |
จัดทำใบกำกับภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำบัญชีประจำวัน และงบเดือน | การเก็บรักษาบัญชี รายงาน และเอกสาร |
จัดทำรายงานภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ยื่นแบบชำระภาษี หรือขอคืนภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขอคืนภาษีกรณีสินค้าเสียหาย / เสื่อมคุณภาพ |
ยื่นแบบชำระภาษี หรือขอคืนภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
|
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี |
จัดทำใบกำกับภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | |
การเก็บรักษาบัญชี รายงาน และเอกสาร |
จัดทำรายงานภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
การเก็บรักษาบัญชี รายงาน และเอกสาร | |
ยื่นแบบชำระภาษี หรือขอคืนภาษี (เฉพาะผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
|||
ยื่นแบบแสดงรายการภาษี | |||
การเก็บรักษาบัญชี รายงาน และเอกสาร |
เครื่องดื่มชา จัดเป็นอาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ.2543 เรื่องชา โดยไม่ได้กำหนดมาตรฐานของปริมาณคาเฟอีน เนื่องจากใบชา เป็นพืชที่มีคาเฟอีนตามธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากนี้ คุณภาพของใบชาจากแหล่งต่างๆ ยังมีปริมาณของคาเฟอีนไม่เท่ากัน การทำธุรกิจเครื่องดื่มชาจึงต้องมีการควบคุมวัตถุดิบ และกรรมวิธีการผลิตร่วมด้วย
เครื่องดื่มประเภท "น้ำชา" นั้นมีมาช้านานกว่า 4,700 ปีแล้ว ซึ่งพบว่าเป็นเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และสามารถแก้ได้สารพัดโรค เช่น ต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของร่างกาย ต้านอาการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ ป้องกันตับจากสารพิษและโรคอื่นๆ ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ เนื่องจากใบชามีองค์ประกอบของ "สารแทนนิน" ที่มีสรรพคุณทางยา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่ามีฤทธิ์ต้านโรคภัยได้หากดื่มเป็นประจำ
ทั้งนี้ เครื่องดื่มชาที่นิยมในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชาผงสำเร็จรูป และชาปรุงสำเร็จ ซึ่งมีความต้องการของตลาดสูง
การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต "เครื่องดื่มชา" นั้น คุณจะต้อง
- จดทะเบียนพาณิชย์ เพราะการประกอบกิจการขายสินค้าอะไร อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม หากคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร
- ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากธุรกิจของคุณมีรายได้งอกงามเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เช่นกัน)
- จดทะเบียนภาษีสรรพสามิต ภายใน 30 วันก่อนเริ่มผลิตสินค้าต่อสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/พื้นที่สาขาที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่
- ขออนุญาตสถานที่และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชา
หากมีกระบวนการผลิตเข้าข่ายโรงงานจะต้องขออนุญาตผลิตอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. (ตามแบบ อ.1) เพื่อตรวจประเมินสถานที่ผลิตก่อนได้รับอนุญาตผลิตอาหาร ประเภทเครื่องดื่มชา
หากไม่เข้าข่ายโรงงาน ให้ขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารไม่เข้าข่ายโรงงานประเภทเครื่องดื่มชา (ตามแบบ สบ.1) ก่อนตรวจประเมินสถานที่ผลิต
จากนั้น จึงขอจดทะเบียนอาหารของผลิตภัณฑ์ (ตามแบบ สบ.5) และรับเลขสารบบอาหาร
- การแจ้งวันเวลาทำการ โดยคุณต้องแจ้งวันเวลาทำการปกติและวันเวลาหยุดทำการของโรงงานอุตสาหกรรม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/สาขา ให้ทราบเป็นหนังสือ ก่อนวันเริ่มผลิตสินค้า และถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดวันเวลาดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งก่อนวันที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
- การแจ้งราคาขาย คุณต้องยื่นแบบแจ้งราคาขายพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ เช่น ใบกำกับภาษีซื้อ ใบขนสินค้าขาเข้า ใบสำคัญจ่าย เป็นต้น ซึ่งเป็นที่มาของโครงสร้างต้นทุนการผลิตรายละเอียดวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายในการผลิตแต่ละรายการ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/สาขา ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการจำหน่ายหรือเปลี่ยนแปลงราคา
วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องดื่มชา คือ ใบชาที่ผ่านกระบวนการคัดสรร และมีคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องดื่มชาผง และเครื่องดื่มชาที่เป็นของเหลว
ซึ่งเครื่องดื่มชาแต่ละชนิดมีการปรุงแต่งตามสูตรการผลิตของแต่ละยี่ห้อ ที่มีความแตกต่างกัน
- การขอยกเว้นภาษีเครื่องดื่มชา (กรณีผลิตในประเทศ) คุณต้องจัดทำหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษี ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/สาขา ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ พร้อมเอกสารแนบ คือ สำเนาใบทะเบียนสรรพสามิต หนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน) ตัวอย่างฉลากเครื่องดื่ม
จากนั้นให้ส่งตัวอย่างเครื่องดื่มชาปริมาณไม่น้อยกว่า 2 ลิตร พร้อมแสดงสูตร ส่วนผสม และวิธีการผลิต ให้กรมสรรพสามิตใช้ตรวจสอบประกอบการพิจารณายกเว้นภาษีสรรพสามิต เมื่อปรากฏผลการตรวจวิเคราะห์แล้ว เจ้าหน้าที่จะจัดทำหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้คุณทราบ หากไม่ได้รับยกเว้นจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตให้ครบถ้วนต่อไป
เมื่อสินค้าผลิตเสร็จพร้อมจำหน่าย คุณต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งระบุข้อมูล อายุการเก็บของเครื่องดื่มชา ไว้ในฉลาก ซึ่งประกอบด้วย วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุด้วย
1. กรณีชำระภาษีเครื่องดื่มที่ได้จากเครื่องขายเครื่องดื่ม คุณต้องยื่นแบบรายการภาษี (แบบ ภษ.01-12) และเอกสารประกอบอื่นพร้อมกับเงินค่าภาษีที่ต้องชำระ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและจำนวนเงินภาษีที่นำมาชำระ เมื่อเอกสารและจำนวนเงินภาษีที่นำมาชำระถูกต้องเจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงิน
2. กรณีชำระภาษีโดยการใช้แสตมป์สรรพสามิต คุณต้องยื่นเอกสาร (แบบ ภษ.01-12) แบบคำขอชำระภาษีสินค้าประเภทที่ใช้แสตมป์ (ภษ.01-14) และเอกสารประกอบอื่น พร้อมกับเงินค่าภาษีที่ต้องชำระ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและจำนวนเงินภาษีที่นำมาชำระแล้ว จะออกใบเสร็จรับเงินและจ่ายแสตมป์เครื่องดื่มให้คุณเพื่อนำไปปิดภาชนะบรรจุเครื่องดื่ม
3. กรณีชำระภาษีโดยใช้เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน คุณต้องยื่นแบบคำขอใช้เครื่องหมายฯ (แบบ ภษ.01-18) พร้อมตัวอย่างรูปตราเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสิ่งอันเป็นลักษณะจำเพาะที่ขอจดทะเบียน จำนวน 3 แผ่น เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นว่าเครื่องหมายฯ ที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมีลักษณะจำเพาะของตน ก็จะรับจดทะเบียน โดยคุณจะต้องชำระค่าธรรมเนียมลักษณะจำเพาะตามอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนด
เมื่อจดทะเบียนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีแล้วกรมสรรพสามิตจะออกประกาศกำหนดลักษณะเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีและส่งไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อเครื่องหมายฯ ของคุณได้รับจดทะเบียนแล้วและต่อมาคุณจะชำระภาษี ให้ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต (แบบ ภษ.01-12) แบบคำขอซื้อและใบอนุญาตให้ซื้อเครื่องหมายฯ (แบบ ภษ.01-23) แบบคำขอขนและใบขนเครื่องหมายฯ (แบบ ภษ.01-24) และเอกสารประกอบอื่น พร้อมกับเงินค่าภาษีที่ต้องชำระ
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและจำนวนเงินภาษีที่นำมาชำระ ออกใบเสร็จรับเงิน และอนุญาตให้ขนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน
ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มชานี้คุณจะต้อง จัดทำบัญชีประจำวันและงบเดือน ยื่นขอคืนภาษีกรณีสินค้าเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ พร้อมทั้งมีหน้าที่ ออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ยื่นแบบชำระภาษีหรือขอคืนภาษี (กรณีที่คุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) และยังต้องทำการเก็บรักษาบัญชี รายงาน และเอกสารด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต"
หากคุณต้องการนำเข้าสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเครื่องดื่มชา คุณต้องทำการขออนุญาตสถานที่และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชา โดย ขออนุญาตนำเข้าอาหาร (ตามแบบ อ. 6) เพื่อรับใบอนุญาตนำเข้าอาหารประเภทเครื่องดื่มชา (อ.7)
ซึ่งการจะนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ นั้น คุณต้อง ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของศุลกากร (ลงทะเบียนแค่ครั้งแรก) เพื่อสามารถนำสินค้าเข้าได้ทั้ง ทางบก ทางรถไฟ ทางเรือ ทางอากาศยาน ทางไปรษณีย์
รายการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชา | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
ชา 3 in 1 | 2101.20.10 | 30% |
ชาสกัด หรือ หัวเชื้อ | 2101.20.90 | 30% |
ชาเขียว | 0902.10.10 | 30% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
และในกรณีนำเข้าเครื่องดื่มชา หรือสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คุณต้อง ขอจดทะเบียนอาหารของผลิตภัณฑ์ (ตามแบบ สบ.5) เพื่อรับเลขสารบบอาหาร แสดงสลาก และควบคุมคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ จะต้องแสดงฉลากอาหารและควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคทั่วไป โดยแสดงข้อความ "มีคาเฟอีน ... มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร" ด้วยตัวอักษรสีเข้มเส้นทึบ ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร อยู่ในกรอบพื้นสีขาวบริเวณเดียวกับชื่ออาหาร หรือเครื่องหมายการค้า
จากนั้นเข้าสู่การดำเนินการตามกระบวนการทางศุลกากร เพื่อนำของออกจากอารักขาศุลกากร โดยต้องปฏิบัติตามกำหนดของกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้องยื่นใบขนสินค้าที่ถูกต้อง และต้องชำระค่าภาษี หรือวางประกันค่าภาษีจนครบถ้วน
ที่สำคัญคือ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อไปด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า"
“ชา” ถือเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และเอเชีย ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะญี่ปุ่น และเกาหลี นิยมดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ให้ทั้งความสดชื่นและคุณประโยชน์ต่อสุขภาพไปในตัวกันมาก จึงส่งผลให้ตลาดเครื่องดื่มชาเติบโตในตลาดโลกได้อีกสูง และเมื่อธุรกิจพร้อมทั้งในการผลิต และการตลาด ก็พร้อมสร้างเครือข่ายออกสู่ต่างประเทศ
การชำระภาษีอากร/ยกเว้นอากรผ่านศุลกากรเครื่องดื่มชา จัดเข้าพิกัดอัตราอากรขาออกภาค 3 ประเภทที่ 9 คือ อัตราอากรเท่ากับ 0%
การส่งเครื่องดื่มชาออกนอกประเทศคุณจะต้องผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนแบบ Paperless เช่นเดียวกับการนำเข้า แต่หากคุณเคยนำเข้าสินค้าแล้ว แสดงว่าคุณเคยผ่านการลงทะเบียนมาแล้ว จึงไม่ต้องทำการลงทะเบียนอีก แต่สามารถ ผ่านพิธีการส่งสินค้าออก ได้เลย
ทั้งนี้ การส่งออกเครื่องดื่มชา คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อไป
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”
เมื่อมีรายได้จากการจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ สิ่งที่คุณจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับภาษีคือ การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ดังนี้
- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายเครื่องดื่มชาทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มชานั้น ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อหรือนำเข้าวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเครื่องดื่มชา หรือวัสดุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายเครื่องดื่มชาของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด (กรณีคุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีด้วย
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "จำหน่าย"
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
ในปัจจุบันธุรกิจร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้รับความนิยม อย่างมากตามกระแสของคนรุ่นใหม่ท...
ผ้าขนหนู” มีหลากหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งานอาทิ ผ้าเ ช็ดตัว...
ผลิตภัณฑ์ปลาร้านับว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เริ่มขยับจากธุรกิจในระดับครัว เรือนหรือธุรกิจขนา...
ธุรกิจนำเที่ยว” คือการให้บริการนำนักท่องเที่ยว เดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ...
ของสะสม ของเก่า ของโบราณ จัดว่าเป็นสิ่งของที่มีอายุขัยมายาวนาน ซึ่งมีมูลค่าสูง
ห...
ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จะขายอุปกรณ์เสริมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเช่น ที่ชาร์...
ร้านขายอะไหล่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีจากการเพิ่มจำนวน...
“อุ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของ...
หัตถกรรม "จักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิก" เป็นผลิตภัณฑ์สานไม้ไผ่ล้อ...
"อัญมณี" ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าด้วยคุณสมบัติหลัก 3 ประ...
โรงงานผลิตกระเป๋ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบตามความ ต้องการของลูกค้า เ...
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ลำไยอบแห้ง” เป็นหนึ่งในบรรดาของฝากยอดฮ...
ในปัจจุบันความต้องการใช้ ไม้ยางพารา ทั้งในด้านเป็นวัตถุดิบหรือใน การแป...
ลูกชิ้นปลา... อาหารว่างที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในบ้านเราเสมอมา เนื่อง...
เราสามารถที่จะผลิต น้ำตาล ได้จากพืชหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มะพร้าว ตาลโตนด ฯล...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
มะม่วงเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่รสชาติถูกปาก ประโยชน์หลากหลายถูกใจ มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและแป...
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...