จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า | |||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | |||
ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกผลไม้) |
|||
นำเข้า | ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|---|
ลงทะเบียน Paperless |
ขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (กรณีที่ได้รับการยกเว้น) |
ออกใบกำกับภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า |
การจัดรายงานภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ผ่านด่านตรวจพืช | ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ขออนุญาตส่งออก | |
จัดทำรายงานภาษี |
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี | |
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี | จัดทำรายงานภาษี | ||
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
"ผลไม้"
คือสินค้าลือชื่ออีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย ด้วยแผ่นดินทองอันอุดมสมบูรณ์ทำให้เรามีผลไม้หลากชนิดหมุนเวียนมาให้กินกันตลอดทั้งปี จะผลไม้เชื้อสายไทยเชื้อสายเทศ...ไม่เกินความสามารถเกษตรกรไทยไปได้เลย
ผู้ที่คิดจะปลูกผลไม้เพื่อการค้ามีตั้งแต่บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือนิติบุคคลอื่น
ดังนั้น คุณต้อง "ชัดเจน" ตั้งแต่เริ่มต้นว่าคุณจะปลูกผลไม้เพื่อการค้าในฐานะบุคคลธรรมดา หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ กันแน่ เพราะมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับ "ภาษีเงินได้"
การจะปลูกผลไม้อะไรสักชนิด คุณต้องรู้ให้ลึกก่อนว่าภูมิประเทศของแหล่งปลูกเป็นอย่างไร อยู่ในภูมิภาคไหนของไทย ประเภทของดินเป็นอย่างไร มีน้ำเพียงพอหรือเปล่า ฯลฯ จากนั้นจึง "คัดเลือกพันธุ์ผลไม้" ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตัวอย่างเช่น
ก่อนจะปลูกผลไม้ขายคุณต้องมาทำความเข้าใจภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะแบ่งช่วงของภาษีออกเป็น 3 ช่วง คือ
แรกเริ่ม: ขอจด ขอเลข
จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่เริ่มประกอบกิจการค้าขายผลไม้
- ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่าย ฯลฯ
- ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยหลักแล้วผู้ที่ขายพืชผลทางการเกษตรที่ไม่แปรรูป เช่น ผลไม้สด ในประเทศ จะ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังสามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
แต่... หากคุณไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำ รายงานเงินสดรับ-จ่าย ในแต่ละปีเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
ระหว่างปี >> เมื่อซื้อ-ขาย-จ่าย-รับ
ระหว่างปีที่ปลูกผลไม้จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตไปจำหน่าย จะมีภาษี 2 ประเภทหลักๆ เข้ามาข้องเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ นั่นคือ
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
รับเมื่อขาย: เมื่อมีผลผลิตคุณจะต้องตั้งราคาขาย โดยอาจคิดจาก "ราคาต้นทุน + กำไรจากน้ำพักน้ำแรง + ภาษีมูลค่าเพิ่ม" เท่ากับว่าผู้ซื้อเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ แต่คุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
จ่ายเมื่อซื้อ: เมื่อคุณต้องซื้อวัตถุดิบใดๆ ราคาของที่คุณซื้อก็มักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว และคุณก็จะได้รับใบกำกับภาษีจากผู้ขาย แต่หากคุณซื้อเมล็ดพันธุ์ผลไม้ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ จาก ผู้ขายซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณก็ไม่ต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อเช่นกัน
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ เมื่อคุณ ปลูกผลไม้ ... ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้างและคนงาน ซึ่งเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งเมื่อจ่ายเงิน
เมื่อคุณ ขายผลไม้... ไม่ว่าจะขายให้ใครก็ตาม ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย คุณดำเนินการในฐานะบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ไม่รวมกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์) โดยนอกจากปลูกผลไม้แล้วยังปลูกพืชผลการเกษตรอื่นๆ อีก
หรือ ขายสินค้าพืชไร่ 8 ชนิด ได้แก่ ยางแผ่นหรือยางชนิดอื่น มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน หรือข้าว ให้แก่บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จะต้องถูก หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 0.75
ใช่ว่าเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลจะปลูกแต่ผลไม้อย่างเดียวทั้งปี พื้นที่ว่างก็อาจจัดสรรปลูกพืชอื่นได้ ดังนั้น รายได้ทั้งปีจะสูงมาก การที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 0.75 เมื่อไปขายยางพารา มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด อ้อย เมล็ดกาแฟ ผลปาล์มน้ำมัน หรือข้าว จะเป็นการทยอยเสียภาษีนั่นเอง ทำให้ไม่ต้องรับภาระหนักเมื่อต้องเสียภาษีทั้งปีตอนสิ้นปี
รวบยอด >> ยื่น 2 ครั้งต่อปี บรรเทาภาระภาษี
ช่วงโค้งสุดท้ายภาษีของชาวไร่ชาวสวนก็คือ การนำรายได้ทั้งปีมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยื่น 2 ครั้งใน 1 ปี ตามประเภทของผู้ประกอบการ
1. เป็นบุคคลธรรมดา คุณถือเป็นผู้มีรายได้จากการเกษตรหรือจากการทำธุรกิจ จึงต้องนำรายได้หรือยอดขายก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งปี มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 ครั้งต่อปี
ครั้งแรก: กรกฎาคม-กันยายน ของปีที่ได้รับเงิน (แบบ ภ.ง.ด.94) เพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี (เงินได้เดือนมกราคม-มิถุนายน ของปีนั้น)
ครั้งที่ 2: มกราคม-มีนาคม ของปีถัดไป (แบบ ภ.ง.ด. 90) โดยนำรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ทั้งปีมาเพื่อรวมคำนวณภาษีทั้งปีในปีภาษีที่ผ่านมา และหักด้วยภาษีที่ได้ชำระไว้แล้วเมื่อตอนยื่นแบบครั้งแรก (ก.ค.-ก.ย.)
2. เป็นนิติบุคคล รายได้ที่บริษัทได้รับทั้งปีจะต้องนำมาคิดคำนวณภาษี โดยนำ "กำไรสุทธิ" มาคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 โดยยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี 2 ครั้งเช่นกัน
ครั้งแรก: ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
ครั้งที่สอง: เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"
นอกจากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ยังมีภาษีที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากรที่คุณต้องชำระ... หากมีการนำเข้าผลไม้ ส่วนการส่งออกผลไม้จากสวนของตัวเองไปตีตลาดชาติอื่นๆ ไม่ต้องเสียอากรขาออก
ซึ่งหากคุณตั้งใจจะ นำเข้าหรือส่งออก "ผลไม้" แล้วล่ะก็ สิ่งที่คุณต้องดำเนินการคือ
- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีตามกฎหมายต่อไป
- ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร หรือ Paperless (ลงทะเบียนครั้งแรกเท่านั้น) เมื่อลงทะเบียนแล้วจึงดำเนินการใน ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า ตามระเบียบของกรมศุลกากร
ทั้งนี้ สินค้านำเข้าประเภทผลไม้ จะต้อง ผ่านด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตร เสียก่อน เพื่อป้องกันโรค ศัตรูพืช และสารเคมีอันตรายที่อาจปนเปื้อนมากับสินค้าจากต่างประเทศ รวมถึงพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMOs) เข้าสู่ประเทศไทย
ที่สำคัญคือ ถ้าคุณ นำเข้าผลไม้ จากต่างประเทศมาขาย ทั้งๆ ที่เป็นผลไม้ซึ่งปลูกได้เองในประเทศไทยแล้วละก็... คุณต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตราที่สูงถึง กว่า 40% เลยทีเดียว
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
ส่วนการ ส่งออกผลไม้ ไปตีตลาดโลกนั้น ภาระทางภาษีอากรขาออกของคุณคือ 0% แต่ต้องมีใบอนุญาตของด่านตรวจพืชกรมวิชาการเกษตรยื่นแสดงต่อศุลกากรด้วย อย่างไรก็ตาม อย่าลืมศึกษากฎระเบียบของประเทศที่เราจะส่งออกไปด้วยนะ
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมศึกษากฎระเบียบของประเทศที่เราจะส่งออกไปด้วยนะ
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง
ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"“น้ำมันเหลือง” ยาแผนโบราณจากพืชสมุนไพรคุณภาพเยี่ยม สรรพคุณ...
ผลิตภัณฑ์ปลาร้านับว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เริ่มขยับจากธุรกิจในระดับครัว เรือนหรือธุรกิจขนา...
ร้านเสริมสวย” เป็นการให้บริการเสริมความงามให้แก่ผู้หญิงและผู้ชาย ประเภทของ บริการ...
สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท เ ช่น สุนัข, ...
"ภาษีสุรา" ...ง่าย และได้ช่วยชาติ
ใน...
มะม่วงเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่รสชาติถูกปาก ประโยชน์หลากหลายถูกใจ มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวและแป...
คำว่า “แพทย์ทางเลือก” ตามความหมายที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของสำ...
ปลากะตัก” สัตว์น้ำเศรษฐกิจของผู้ประกอบการแนว ชายฝั่งอันดามัน ถือเป็นอาหารสุขภาพชั...
เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากไม้กำลังเป็นที่นิยมทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ เนื่องจากมีควา...
เครื่องประดับ” เป็นของคู่กับผู้หญิงในทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็นิยม เครื่อ...
"ผ้าฝ้าย" สินค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ทรงอิทธิพลต่อระบบเศรษฐก...
“กระจูด” เป็นพืชตระกูลกกที่ถูกคัดเลือกให้เป็นวัตถุดิบสำคัญ...
ในสมัยก่อน นักพัฒนาโปรแกรม (Program) หรือซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้กับเครื่อง คอมพิวเต...
น้ำนมจัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญแหล่งหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเราได้มาจากน้ำนมของสัตว์ต่างๆ เช...
"อัญมณี" ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าด้วยคุณสมบัติหลัก 3 ประ...
ผ้าขนหนู” มีหลากหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งานอาทิ ผ้าเ ช็ดตัว...
“เครื่องประดับเงิน” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดจากรุ...
ธุรกิจ “รถรับจ้าง” คือ ธุรกิจที่ให้บริการรถเช่าเหมาคัน (มักเป็นรถตู้หรือรถก...
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อ...