คลินิกภาษีไข่เค็ม

‘ไข่เค็มไชยา” ของขึ้นชื่อประจำ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยความโดดเด่นและมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่อื่น คือ ไข่ฟองโต ไข่แดงมีสีแดงจัดและมัน รสชาติอร่อยกลมกล่อม และไม่เค็มจัด ทำให้ไข่เค็มไชยามีชื่อเสียงเป็นที่ต้องการของตลาด และสร้างมูลค่าทางการค้าถึงปีละเกือบ 10 ล้านบาท นับได้ว่าเป็นการนำภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารมาสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว และชุมชนได้ไม่น้อย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียน: สหกรณ์ นิติบุคคล วิสาหกจิ ชุมชน หรือกลมุ่ บุคคลอนื่ ๆ
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (หากมีรายได้จากการขายไข่เค็มเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี)
  ออกใบกำกับภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
  จัดทารายงานภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดทำรายงานภาษี
  ยื่นแบบฯ และเสียภาษี

หากคุณหรือชุมชนของคุณกำลังอยู่ในธุรกิจนี้ ไม่ว่าจะเป็น "ไข่เค็มไชยา" ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่แล้ว หรืออยู่ในพื้นที่อื่นที่ประสบความสำเร็จในการผลิตและจำหน่ายไข่เค็ม รวมถึงผู้มีความคิดที่จะเริ่มต้นนำความเชี่ยวชาญในการถนอมอาหารมาผลิต "ไข่เค็ม" เพื่อวางจำหน่ายเชิงพาณิชย์ แต่ยังกังวลเกี่ยวกับการจดทะเบียนทางธุรกิจ รวมถึงสับสนเรื่องการชำระภาษีอย่างถูกต้อง เราขอแนะนำขั้นตอนง่ายๆ ตั้งแต่ก้าวแรกดังต่อไปนี้

เริ่มธุรกิจ "ไข่เค็ม"

การจะแปลงภูมิปัญญามาเป็นรายได้โดยเริ่มเข้าสู่ธุรกิจอย่างเต็มตัวนั้น สิ่งแรกที่คุณควรศึกษาคือ "รูปแบบการประกอบกิจการ" ซึ่งไม่ใช่เรื่องซับซ้อน ขอเพียงคุณทราบว่าธุรกิจไข่เค็มของคุณนั้นจะมีลักษณะเป็นธุรกิจที่ดำเนินการแบบใดบ้าง ซึ่งมีทั้งหมด 5 ลักษณะ ได้แก่

  • การประกอบกิจการโดยบุคคลธรรมดา
  • วิสาหกิจชุมชน
  • สหกรณ์
  • วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
  • นิติบุคคล

เมื่อทราบแน่ชัดแล้วก็ถึงเวลาที่คุณต้องไป จดทะเบียนประกอบกิจการ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเป็นกิจการแบบใด แต่ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจไข่เค็มของคนไทยมักมีลักษณะเป็น วิสาหกิจชุมชน ที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป หรืออาจเป็นธุรกิจที่ จดทะเบียน OTOP ด้วย

หลังจากจดทะเบียนประกอบกิจการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ของกรมสรรพากร (กรณีที่คุณมีรายได้จากการขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือรายได้ไม่เกินแต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้เช่นกัน) เพียงเท่านี้คุณก็ก้าวผ่านขั้นแรกของการเริ่มธุรกิจ "ไข่เค็ม" แล้ว

ไข่เค็มไชยา

"ไข่เค็ม" ทำเงิน

เมื่อจดทะเบียนประกอบกิจการเรียบร้อยแล้วก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตไข่เค็มตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาของแต่ละครอบครัว/ท้องถิ่น เพื่อให้ได้ไข่เค็มที่อร่อย มีคุณภาพ ออกมาวางขายในตลาด ทำเงินเข้ากระเป๋าให้กับเจ้าของธุรกิจ

ตัวอย่างมาตรฐาน "ไข่เค็มไชยา"

ไข่เค็มไชยา

ซึ่งในขั้นตอน "ไข่เค็ม" ทำเงินนี้ มีภารกิจสำคัญที่เจ้าของธุรกิจอย่างคุณต้องดำเนินการเพิ่มเติมคือ การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และ รายงานแสดงรายได้และรายจ่าย โดยการลงรายการนั้นให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่จำหน่าย เพื่อใช้สำหรับยื่นแบบแสดงรายการภาษี และการชำระ ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เติมให้เต็ม

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายไข่เค็ม คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการผลิตสินค้า การบรรจุ การขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลผลิตของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

เติมให้เต็ม

ว่าด้วยการ "ยกเว้น" ภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีคุณประกอบธุรกิจไข่เค็มในรูปแบบของ "สหกรณ์" ซึ่งจำหน่าย ไข่เค็มดิบ พอกด้วยดินผสมเกลือ ซึ่งอยู่ในลักษณะที่รักษาสภาพไว้เพื่อไม่ให้เสีย เพื่อการขายปลีกหรือขายส่ง โดยบรรจุในถุงพลาสติกและใส่กล่องกระดาษผูกด้วยเชือกฟาง ซึ่งเมื่อเปิดยังคงสภาพในรูปรอยเดิมอยู่...

คุณจะ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (3) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.29/2535ฯ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2535

**(หนังสือเลขที่ กค 0706/พ./10667 วันที่ 6 ธันวาคม 2545 เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจำหน่ายไข่เค็ม)

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"

"ไข่เค็ม" จากครัวไทยสู่ครัวโลก

ในปัจจุบันอาหารไทยไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะตลาดในประเทศเท่านั้น แต่เรายังมีศักยภาพที่จะส่งอาหารไทยออกไปให้ชาวต่างชาติได้ลองลิ้มชิมรสจนเป็นที่ถูกปากหลายรายการ

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะส่งออก ‘ไข่เค็ม’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในครัวไทย ออกไปสู่ครัวโลก เพื่อดึงเม็ดเงินกลับเข้าประเทศ โดยคุณสามารถเริ่มต้นขั้นตอนการส่งออกง่ายๆ ด้วยการ ลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless (ลงทะเบียนครั้งแรกเท่านั้น) ก็สามารถเข้าสู่ พิธีการส่งออกสินค้า ได้เลย

แต่ที่สำคัญคือคุณต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งผ่านการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว และต้องไม่ลืม จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ พร้อม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีเงินได้ด้วย

เติมให้เต็ม

กรณีเกิดการนำเข้า

ไข่เค็มนั้นเป็นอาหารที่ทำง่าย ขั้นตอนไม่ซับซ้อน และมักเป็นภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น ทำให้โดยปกติแล้ววัตถุดิบในการผลิตไข่เค็มจึงหาได้ภายในประเทศ

แต่หากคุณคิดจะ นำเข้าวัตถุดิบ บางชนิดเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า ‘ไข่เค็ม’ ของคุณ เช่น ไข่เป็ดดิบ เกลือ ดิน หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ก็สามารถทำได้ เพียงแต่คุณต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว) ต้อง ลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless และเข้าสู่ พิธีการนำเข้า โดยต้องศึกษา พิกัดศุลกากร ของสินค้าที่จะนำเข้าให้ดีเพราะต้องนำมาคำนวณภาษีที่คุณต้องจ่ายก่อนนำสินค้าเข้าประเทศ

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ไข่เค็ม 0407.90.20 27%

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

รวมทั้งคุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปด้วย

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "นำเข้า" "ส่งออก"

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ "ไข่เค็ม"

หากคุณเริ่มต้นธุรกิจด้วยการจดทะเบียนและชำระภาษีอย่างถูกต้อง คุณก็มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งในฐานะ วิสาหกิจชุมชน ที่ไม่ใช่นิติบุคคล และมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท คุณจะได้รับการ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน" )

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของคุณในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs โดย การลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และ การคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า และในกรณีที่คุณส่งออกไข่เค็มไปทำตลาดในต่างประเทศ คุณยังมีสิทธิได้รับ การชดเชยค่าภาษีอากร อีกด้วย

เติมให้เต็ม

อัตราชดเชยค่าภาษีในการส่งออก “ไข่เค็ม”

ผู้ส่งออกไข่เค็มจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร โดยได้รับอัตราชดเชยค่าภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0.01 ของราคาส่งออก ตามประกาศคณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรที่ อ 2/25555 เรื่อง กำหนดอัตราเงินชดเชยค่าภาษีอากร

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

คนไทยที่ดีต้องเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ