ผลิต | จำหน่าย | ส่งออก |
---|---|---|
จดทะเบียน: สหกรณ์ นิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ | ||
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | ||
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (หากมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) | ||
ออกใบกำกับภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ลงทะเบียน Paperless | |
ออกใบกำกับภาษี (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก | |
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ | ขอยกเว้นภาษี | |
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
จัดทำรายงานภาษี | |
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
จุดเริ่มต้นของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ "กระจูด" อาจเป็นเพียงอาชีพเสริมของเกษตรกรในภาคใต้หรือพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับการเติบโตของพืชตระกูลกก แต่การรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนในหลายพื้นที่ได้ประสบความสำเร็จจนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระจูดให้กลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงติดอันดับ OTOP 5 ดาว และสามารถส่งออกไปทำตลาดยังต่างประเทศได้
แต่ก่อนที่จะเดินทางไปถึงขั้นนั้น ก้าวแรกที่จะทำให้ธุรกิจนี้เข้มแข็งก็คือ การเรียนรู้ระบบภาษีซึ่งนอกจากจะช่วยให้มีเงินจากภาษีไปพัฒนาประเทศแล้ว ธุรกิจของคุณยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากภาครัฐอีกด้วย
หากจะผลิตสินค้าจากกระจูด ไม่ว่าจะเป็นเสื่อ กระเป๋า หมวก ของใช้ หรือของตกแต่งอื่นๆ ด้วยการรวมกลุ่มกันในชุมชนในลักษณะของ วิสาหกิจชุมชน สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ที่สำนักงานเกษตรอำเภอหรือเขต พร้อมกันนี้ ควร จดทะเบียน OTOP กับสำนักพัฒนาชุมชนด้วย จากนั้นต้อง ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ของกรมสรรพากร (กรณีมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือหากรายได้ไม่เกินนี้แต่ต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อต่อยอดสู่การนำเข้า-ส่งออก ก็สามารถจดทะเบียนได้) เพียงเท่านี้ คุณก็ก้าวผ่านขั้นแรกของการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจของคุณแล้ว
หลังจากจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รวมถึงจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะเข้าสู่กระบวนการผลิตซึ่งเริ่มตั้งแต่การนำกระจูดมาตากแดด ย้อมสี และสานขึ้นรูป ซึ่งเป็นศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละชุมชน
เมื่อสิ้นสุดกระบวนการผลิต ก้าวต่อไปคือการจัดจำหน่ายเพื่อรับผลตอบแทนเป็นรายได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ คุณมีภารกิจสำคัญคือ การจัดทำ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และ รายงานแสดงรายได้และรายจ่าย โดยการลงรายการนั้นให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่จำหน่าย เพื่อใช้สำหรับการชำระ ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click
ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ผลิต" "จำหน่าย"
เสน่ห์ของเสื่อกระจูดและผลิตภัณฑ์จากกระจูด ไม่เพียงแต่ถูกใจชาวไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยที่สามารถดึงดูดเม็ดเงินจากกระเป๋าของชาวต่างชาติได้อีกด้วย ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้หลายรายจึงเริ่มส่งผลิตภัณฑ์จากกระจูดไปทำตลาดนอกประเทศ
ปี | ประเภท | มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) |
---|---|---|
2553 | การส่งออก | 551,753.33 |
2554 | การส่งออก | 57,270.00 |
2555 | การส่งออก | 15,008.10 |
รวมทั้งหมด | 624,031.43 |
และการเป็นผู้ประกอบการส่งออกก็แค่เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการ ลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless ก็สามารถเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้าได้เลย (อ๊ะๆ อย่าลืมนะว่าก่อนจะลงทะเบียน Paperless คุณต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน นั่นคือ ผ่านการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว) แต่ที่สำคัญต้องไม่ลืมจัดทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้
ผลิตภัณฑ์จากกระจูดถือเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นไทย วัตถุดิบหลักจึงหาได้ในประเทศ
แต่หากคุณคิดจะ นำเข้าวัตถุดิบ บางชนิดเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าจาก "กระจูด" ของคุณ เช่น สีย้อม ด้าย หรืออื่นๆ ก็สามารถทำได้ เพียงแต่คุณต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว) ต้อง ลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless และเข้าสู่ พิธีการนำเข้า โดยต้องศึกษา พิกัดศุลกากร ของสินค้าที่จะนำเข้าให้ดีเพราะต้องนำมาคำนวณภาษีที่คุณต้องจ่ายก่อนนำสินค้าเข้าประเทศ
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
---|---|---|
กระจูด | 1401.90.00 | 30% |
เสื่อกระจูด | 4601.99.10 | 30% |
เครื่องจักสาน | 4602.19.00 | 30% |
**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
รวมทั้งคุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปด้วย
**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ "ส่งออก"
หากคุณทำธุรกิจผลิตและจำหน่าย “ผลิตภัณฑ์กระจูด” ในฐานะวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ใช่นิติบุคคล และมีรายได้จากการขายสินค้าไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรโดย ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน" )
นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของคุณในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs โดย การลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมในอัตราเร่ง และ การคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า และในกรณีที่คุณส่งออกผลิตภัณฑ์จากกระจูดไปจำหน่ายในต่างประเทศ คุณยังมีสิทธิได้รับ การชดเชยค่าภาษีอากร อีกด้วย
สิทธิประโยชน์สำหรับวิสาหกิจชุมชนนั้น กรมสรรพากรมีกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลสำหรับรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 – 31 ธันวาคม 2556 เท่านั้น
** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs
เครื่องเทศ คือ ส่วนของพืชที่เราทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหารต่างๆ ...
ธุรกิจ “รถรับจ้าง” คือ ธุรกิจที่ให้บริการรถเช่าเหมาคัน (มักเป็นรถตู้หรือรถก...
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มีพืชสมุนไพรเป็นส่วนผสมในกระบวน การผลิต โดยมีการนำพืชสมุนไพรเหล...
“ผ้าทอเกาะยอ” หรือ “ผ้าเกาะยอ”...
“เครื่องถมและเครื่องเงินลงยา” เป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูงอีก...
ธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ทำหน้าที่ผลิตสื่อมัลติมีเดียซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ราย...
“เครื่องประดับเงิน” เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดจากรุ...
ขนมเบเกอรี่” เป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทุกวัย ถ้าผู้ที่สนใจ ในธุรกิ...
ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อา...
“เอ...มีที่ดินอยู่ 1 แปลง ถ้าจะปลูกผลไม้ขายต้องเสียภาษีไหมนะ?” เป็นหนึ่งคำถ...
"ผ้าฝ้าย" สินค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ทรงอิทธิพลต่อระบบเศรษฐก...
ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวกำลังเริ่มฟื้นตัวและมาแรง ทัศนียภาพสวยงาม สามารถสร้างเม็ดเงินจาก...
คนไทยมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟกันมาช้านาน ตั้งแต่ในยุคอดีตที่เป็นกาแฟชงในถุง ...
“ปลาสลิด” จัดเป็นสัตว์น้ำยอดนิยมที่ถูกนำมาแปรรูป ถนอมความส...
‘ไวน์ผลไม้” กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจ...
“ผ้าบาติก” หรือ “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยการใช้เที...
ธุรกิจสถานบันเทิงที่มีอาหารและการแสดงเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น และว...
ร้านขายเสื้อผ้ามีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย แต่ในที่นี้ เราเน้นที่ธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้า นั่...
ถั่ว เป็นแหล่งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากพืชที่สำคัญมากต่อร่างกายของเรา ซึ่งมีให้เลือกมากม...
ตลาดผลิตภัณฑ์สบู่ในไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผกผันเพียงใด แต่มูล...