คลินิกภาษีกล้วยไม้

“กล้วยไม้” ถือเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอันดับต้นๆ จากศักยภาพและ จุดแข็งของกล้วยไม้ไทย ทั้งด้านสายพันธุ์ที่มีความหลากหลาย ความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ของไม้ประดับเขตร้อน ผนวกกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ทำให้ธุรกิจกล้วยไม้เติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

และเนื่องจากธุรกิจนี้ใช้เงินทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูง หากผู้ประกอบการไม่มีพื้นฐานมาก่อน และมีเงินทุนจำกัด อาจลองเริ่มจากการทำเป็นอาชีพเสริม เมื่อมองเห็นลู่ทางในการเติบโตจึงค่อยขยับขยาย พร้อมกับเรียนรู้เรื่องการเสียภาษีอย่างถูกต้องควบคู่กันไปด้วย

ดาวน์โหลด

PDF

เปิดใน

Flipbook

ให้คะแนนสินค้านี้

นำเข้า ผลิต จำหน่าย ส่งออก
จดทะเบียนพาณิชย์
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก)
ลงทะเบียน Paperlesss ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรือน และที่ดิน   ลงทะเบียน Paperless
จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้ กับกรมวิชาการเกษตร
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า ขออนุญาตสถานที่ผลิต ยื่นคำขอยกเว้นและคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี ออกใบกำกับภาษี และจัดทำรายงานภาษี
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ยื่นคำขออนุญาตบรรจุจากกรมศุลกากร
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ ออกใบกำกับการขนย้ายจากกรมศุลกากร
  ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ออกใบกำกับภาษี และจัดทำรายงานภาษี
      ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี

ชมสวนกล้วยไม้

"กล้วยไม้" เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้ จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง

สาระน่ารู้

กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่

กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น

กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ

กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นตามโขดหิน

ก่อนเริ่มธุรกิจกล้วยไม้ คุณต้อง จดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่เริ่มประกอบกิจการ และเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่ตนเองถนัดและมีความเข้าใจ โดยเริ่มต้นจาก 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

โดยก่อนที่จะเริ่มทำการ "ผลิต" "จำหน่าย" หรือ "ส่งออก" สิ่งที่คุณจะต้องทำความเข้าใจและลงมือปฏิบัติ ได้แก่

- ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นจดทะเบียนได้ 3 แบบ ได้แก่ บุคคลธรรมดา / นิติบุคคลไทยและนิติบุคคลต่างประเทศ / คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล โดยยื่นจดตามหน่วยงานที่กรมสรรพากรกำหนด

- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ปกติหากผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แน่นอนว่าคุณต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้)

แต่กรณี การผลิต/ปลูกกล้วยไม้เพื่อจำหน่ายในประเทศนั้นคุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่คุณต้องการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประโยชน์ในการนำเข้า-ส่งออก หรือเพื่อสามารถนำภาษีซื้อที่คุณต้องจ่ายเมื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิต ก็สามารถทำได้เช่นกัน

การดำเนินธุรกิจ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต
  ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้
หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีนำเข้า กรมสรรพสามิต
เพาะพันธุ์ และปลูกกล้วยไม้-จำหน่ายในประเทศ ยกเว้น - -
เพาะพันธุ์ และปลูกกล้วยไม้-ส่งออก ไม่ต้องเสียอากร -

ผลิตกล้วยไม้เงินล้าน

ผู้ประกอบการต้อง ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรือนและที่ดิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จากนั้นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิต โดยตรวจสอบว่าสถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครฯ เป็นต้น ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือโรงเรือน ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินด้วย

ในขั้นตอนนี้คุณต้อง จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการยื่นเสียภาษี ตามมาตรา 87 และ 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร (กรณีที่คุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

เติบโตพร้อมส่งออก

มาถึงขั้นตอนการ "ส่งออก" สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร (ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว) โดยคุณสามารถดำเนินการหรือให้ตัวแทนออกของรับอนุญาต (Customs Broker) ดำเนินการลงทะเบียน โดยทำการลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น เพื่อส่งข้อมูลจัดทำใบขนสินค้าขาออก พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะเอกสารการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร กับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะส่งเลขทะเบียนแจ้งไปยังกรมศุลกากรให้ทราบเพื่อประกอบการส่งออก

สาระน่ารู้

รู้ก่อน...เข้าใจก่อน

  • กล้วยไม้ทั้งหมดต้องติดป้ายหรือฉลากหรือประทับข้อความตามที่กำหนดเป็นภาษาอังกฤษที่ภาชนะบรรจุ
  • ดอกกล้วยไม้ที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากกรมวิชาการเกษตรไปแสดงต่อพนักงานศุลกากรในการส่งออกด้วย
  • จัดทำรายงานการส่งออกกลับไปยังกรมวิชาการเกษตร
  • ธุรกิจกล้วยไม้ นอกจากไม่ต้องเสียอากรขาออกแล้ว ผู้ส่งออกยังสามารถขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร สำหรับดอกกล้วยไม้ ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร 0603.13.00 ในอัตราร้อยละ 0.07 ของราคาส่งออก

จากนั้นมาสู่ขั้นตอนการขนส่งเพื่อเตรียมการส่งออก ผู้ประกอบการต้องแสดงหรือแจ้งเลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้า จากกรมศุลกากร หากเป็นการขนส่งทางเรือให้แสดงใบตรวจสอบรับสภาพตู้สินค้า (Equipment Interchange Receipt: EIR) ด้วย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น

ทั้งยังต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

สาระน่ารู้

กรณีเกิดการนำเข้า

เนื่องจากกล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท ดังนั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงมักเกี่ยวข้องกับกรมศุลกากรในเรื่องของการส่งออก

แต่หากคุณคิดจะนำเข้าวัตถุดิบบางชนิดเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับกล้วยไม้ของคุณ เช่น ปุ๋ย ดิน หรือ ดอกกล้วยไม้ ต้นกล้ากล้วยไม้ ก็สามารถทำได้ เพียงแต่คุณต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว) ต้อง ลงทะเบียนขอเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรแบบ Paperless และเข้าสู่ พิธีการนำเข้า โดยต้องศึกษา พิกัดศุลกากร ของสินค้าที่จะนำเข้าให้ดีเพราะต้องนำมาคำนวณภาษีที่คุณต้องจ่ายก่อนนำสินค้าเข้าประเทศ

รายการ พิกัดศุลกากร อัตราอากรขาเข้า
ดอกกล้วยไม้ 0603.13.00 30%
ต้นกล้วยไม้ 0602.90.90 30%
ต้นกล้ากล้วยไม้ 0602.90.90 30%

รวมทั้งคุณต้อง จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปด้วย

จัดทำรายงานดี... ยื่นภาษีถูกต้อง

หลังมีรายได้จากการทำธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

สาระน่ารู้

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของคุณ

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากการขายกล้วยไม้ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการเพาะพันธุ์ เลี้ยงเนื้อเยื่อ ตัดดอก จัดช่อ หรือขั้นตอนอื่นๆ ของการผลิต "กล้วยไม้" คุณต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายกล้วยไม้ของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ทำตาม "หน้าที่" ช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาษีสินค้า อื่นๆ